ศ.ดร.นพ. เฉลิม หาญพาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) “BCH” เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ทั้ง 2 ระลอกส่งผลกระทบต่ออัตราการใช้บริการทางการแพทย์ภาคปกติของ คนไข้ชาวไทยและชาวต่างชาติจากความกังวลที่จะเข้ามารับบริการที่โรงพยาบาล
ส่งผลให้ภาพรวมรายได้ปี 2563 บริษัทมีรายได้รวมจำนวน 9,014.36ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 จำนวน 22.78ล้านบาท โดยมีสัดส่วนรายได้ผู้ป่วยทั่วไป 63% สัดส่วนรายได้ผู้ป่วย โครงการประกันสังคม35%
อย่างไรก็ตามผลกระทบดังกล่าวได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดในไตรมาส 2ของปี 2563 ไปแล้วแม้จะมีการระบาด ลอกใหม่ในช่วงไตรมาส 4 ทางเครือโรงพยาบาลได้มีมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคและสามารถให้บริการทาง การแพทย์ได้ตามปกติ
นอกจากนี้ บริษัทได้มีการรับรู้รายได้จากการให้บริการตรวจคัดกรอง COVID-19 จากสำนักงานประกันสุขภาพ แห่งชาติรวมถึงรายได้ส่วนเพิ่มจากการร่วมให้บริการสถานกักกันทางเลือกและบริการสถานพยาบาลกักกันทางเลือก รวมทั้งการบริหารจัดการต้นทุนและค่าใช้จ่าย
สำหรับแนวโน้มธุรกิจปี 2564 บริษัทยังคงมุ่งมั่น ให้บริการทางการแพทย์ภาคปกติและนำเสนอบริการทางการแพทย์ที่สอดคล้องกับโควิด-19 ภายใต้ 3 กลยุทธิ์คือ
1. การให้บริการทางการแพทย์ตามมาตราการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19ระลอกใหม่ในไทย ซึ่งแพร่กระจายเป็นวงกว้างและรวดเร็วกว่าการระบาดระลอกแรกในครั้งนี้พบว่า ความวิตกกังวลของคนไข้ในการเขา้มาใช้บริการทางการแพทย์ภายในโรงพยาบาลลดน้อยลง ซึ่งเป็นผลจากความพร้อม ทางดา้นมาตรการควบคุมและกักกันโรคภายในประเทศ
อย่างไรก็ตามในปี2564 บริษัทและโรงพยาบาลในเครือยังคงเข้าร่วมกับภาครัฐใน การให้บริการตรวจคัดกรอง กักกัน อภิบาล และรักษาโรคตามมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19อย่าง ต่อเนื่อง จนกว่าสถานการณ์การระบาดใหญ่ของโรคจะกลับสู่สภาวะปกติ
โดยเปิดบริการตรวจคัดกรองโควิด-19 ใน11 โรงพยาบาลในเครือ รองรับการตรวจ1,000 เคสต่อวัน สถานกักกันทางเลือก 20 แห่ง รวม2,565 ห้อง
2. สถานการณ์ภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในประเทศไทย ปัจจุบันสถานการณ์ดา้นการจัดหาและกระจายวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19โดยภาครัฐสู่ประชาชน และการอนุญาตให้ภาคเอกชน สามารถมีส่วนร่วมในการจัดหาวัคซีนโควิด-19 เข้ามาในประเทศไทยเริ่มเป็นรูปธรรม
สถานการณ์ดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนมาตรการ ป้องกันการระบาดใหญ่ของโรคไดเ้ป็นอย่างดีโดยบริษัทและโรงพยาบาลในเครือได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกลชิดและดำเนินการเตรียม ความพร้อมเพื่อเขา้ร่วมกับภาครัฐในการดำเนินตามแนวทางป้องกันการติดเชื้อของโรคด้วยวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในกลุ่มคนจำ นวนมาก
หากแผนการกระจายวัคซีนเป็นไปตามที่กำหนด จะส่งผลให้สถานการณ์การระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 บรรเทาลงและนำไปสู่การฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจโดยเฉพาะอยา่งยิ่ง ภาคการท่องเที่ยวและบริการ โดยบริษัทคาดว่าสถานการณ์ภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ประเทศไทยจะดีขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งจะนำ ไปสู่การเพิ่มขึ้นอยา่งมีนัยยะของจำนวนนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพชาวต่างชาติและอัตราการใช้บริการทางการแพทยข์องคนไข้ชาวไทย
โดยเฉพาะอยา่งยิ่ง อัตราการใช้บริการศูนย์การแพทย์ทางเลือก อาทิ ศูนย์ศัลยกรรมความงาม ศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย ศูนย์ภาวะผู้มีบุตรยาก และศูนย์ทันตกรรม
3. การขยายสาขาโรงพยาบาล ภายหลังการเปิดให้บริการโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2564 บริษัทตั้งเป้าเปิดให้บริการโรงพยาบาล เกษมราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนลเวียงจันทน์ในไตรมาส 2 ปี 2564 เพื่อให้บริการกลุ่มคนไข้ท้องถิ่น กลุ่มคนทำงานชาวต่างชาติและกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติใน สปป.ลาว
นอกจากน้ัน บริษัทได้วางแผนปรับปรุงและเพิ่มศักยภาพสาขาโรงพยาบาลเดิม และศึกษาความ เป็นไปได้ในการขยายอาณาเขตการให้บริการไปยังพื้นที่ศักยภาพใหม่ ๆ เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ให้ครอบคลุมความต้องการของคนไข้ท้องถิ่น
“ตัวขับเคลื่อนธุรกิจสำคัญในปีนี้คือ การเปิดโรงพยาบาล 2 แห่งคือ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ปราจีนบุรี ซึ่งเปิดบริการแล้วเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2564 และโรงพยาบาล เกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เวียงจันทน์ ใช้งบประมาณเฟสแรก 1,570 ล้านบาทและจะเปิดบริการในเดือนมิถุนายนปีนี้ ทั้ง 2 โครงการจะเป็นช่วยผลักดันให้รายได้ปีนี้เติบโต 2 หลัก ”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :