หลายคนยังงงๆ ว่า พื้นที่จังหวัดของตัวเอง เป็นพื้นที่เสี่ยงมากหรือเสี่ยงน้อย หรือ เฝ้าระวัง จากการแบ่งพื้นที่ควบคุมสถานการณ์เชื้อโควิด-19 ใน 4 ระดับ แยกออกเป็น 4 สี แดง ส้ม เหลือง เขียว
แล้วพื้นที่ระดับไหน สีไหน ทำกิจกรรมอะไรไม่ได้ ทำกิจกรรมอะไรได้บ้าง ซึ่ง ฐานเศรษฐกิจหาคำตอบนี้มาให้
ย้อนไปในการแถลงของ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ที่ผ่านมา ย้ำอีกรอบในการแบ่งพื้นที่ตามความรุนแรงของสถานการณ์เป็น 4 ระดับ ได้แก่ พื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูงและพื้นที่เฝ้าระวัง
ซึ่งมอบหมายให้ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด รับผิดชอบกำหนดระดับพื้นที่สถานการณ์เพื่อให้มีการยืนยันต่อ ศบค. และกองระบาดวิทยา พิจารณาว่าจังหวัดนั้น ๆ ควรอยู่ในพื้นที่ระดับใด ตามเกณฑ์ 4 ข้อ ได้แก่
1. อัตราการขยายของจำนวนผู้ติดเชื้อ
2. ขีดความสามารถทางการแพทย์และสาธารณสุข
3. ภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคประชาสังคมให้การสนับสนุน ศบค. สธ.
4. ภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคประชาสังคมและอื่น ๆ มีความตระหนักรู้ถึงมาตรการป้องกันโรคโควิด-19
โฆษก ศบค. ยังขอความร่วมมือบุคคลที่การทำความผิด เช่น เคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวโดยไม่ได้รับอนุญาต ลักลอบพาแรงงานต่างด้าวหลบหนี ให้หยุดการกระทำดังกล่าวเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบและการแพร่ระบาดไปมากกว่านี้
ทั้งนี้ โฆษกยังกล่าวถึงการจัดกิจกรรมฉลองปีใหม่ 2564 และการจัดกิจกรรมงานวันเด็กว่า สำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดให้งดการจัดกิจกรรมฉลองทุกชนิด ยกเว้นการจัดกิจกรรมออนไลน์ พื้นที่ควบคุม ให้งดการจัดกิจกรรมที่เป็นสาธารณะ แต่ผ่อนผันให้จัดกิจกรรมที่มีเฉพาะคนรู้จักหรือแบบออนไลน์
สำหรับพื้นที่เฝ้าระวังสูงและพื้นที่เฝ้าระวังสามารถจัดกิจกรรมได้ แต่ต้องลดขนาดของงานให้เล็กลงกว่าปกติ พร้อมมีมาตรการ DMHT คือ D – Distancing เว้นระยะห่าง M – Mask wearing สวมใส่หน้ากากอนามัน H – Hand washing ล้างมือ และ T – Testing ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รวมข่าว "โควิด-19" วันที่ 26 ธ.ค. 63 แบบอัพเดทล่าสุด
ยอดโควิด 26 ธ.ค.63 ทั่วโลกผู้ป่วยเพิ่ม 4.62 แสนราย รวม 80.18 ล้านราย
วิธีใช้แอปพลิเคชั่น "หมอชนะ” ประเมินความเสี่ยงโควิด-19 ด้วยตัวเอง
เช็กที่นี่ “พื้นที่เสี่ยง” แบ่งโซน 4 สี 4 ระดับ ทำอะไรได้-ไม่ได้บ้าง