วันที่ 30 ธ.ค.63 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า โควิด 19 สายพันธุ์ที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ติดง่ายหรือยาก
การที่ไวรัสจะติดต่อง่ายหรือยาก ขึ้นอยู่กับไวรัสโควิด-19 มีหนามแหลมยื่นออกมา น้ำแหลมนี้เรียกว่าสไปรท์ จะต้องมาเกาะติดกับเซลล์ในตำแหน่งตัวรับ บนทางเดินหายใจที่เรียกว่า ACE2 ถ้ามีการผันแปรในส่วนเกาะติด ทำให้เกาะติดง่ายขึ้น ก็จะช่วยเสริมการติดต่อ
เราจึงเพ่งเล็งดูพันธุกรรมในส่วนเกาะติด ที่มีการพูดถึงมีการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโน ในประเทศอังกฤษไนจีเรียแอฟริกาใต้ ทุกคนสนใจว่าจะทำให้เกาะติดได้ง่ายขึ้น รอศึกษาทางลึก
หลังจากเกาะติดแน่นแล้ว ไวรัสจะเริ่มเข้าสู่เซลล์ ในการเข้าสู่เซลล์จะต้องอาศัยกรรไก ในการตัดหนามแหลม ที่เกาะติดแน่นกับเปลือกนอก ไวรัสจะได้หลุดจากการเกาะติด แล้วเข้าสู่เซลล์ได้
การตัดนี้จะใช้เอนไซม์ของมนุษย์ คือ Furin ถ้าตัดได้ง่ายๆ ก็จะเข้าสู่เซลล์ได้ง่าย
ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมให้ง่ายต่อการตัด ก็จะทำให้เข้าสู่เซลล์ได้ ตำแหน่งที่มีการเปลี่ยนแปลงของอังกฤษ คือ ตำแหน่งที่ 681 ที่จะเปลี่ยนจากกรดอะมิโน proline ไปเป็น histidine
ฟังดูแล้วจะเข้าใจยากหน่อย
แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศต่างๆจึงให้ความสนใจสายพันธุ์ของอังกฤษนี้ เพราะสงสัยว่าจะทำให้มีการติดต่อง่ายขึ้น โดยเฉพาะจากการศึกษาทางด้านระบาดวิทยา
สายพันธุ์ดังกล่าวยังไม่พบในประเทศไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ยอดโควิด 29 ธ.ค.63 ทั่วโลกผู้ป่วยเพิ่ม 4.35 แสนราย รวม 81.60 ล้านราย
"หมอธีระ" ชี้ สิ้นปีนี้หากโควิดในไทยยังไม่ดีขึ้นจะมีผู้ติดเชื้อใหม่ 3.3หมื่นคน