2 มกราคม 2564 ความคืบหน้าการควบคุม ป้องกัน แก้ปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ล่าสุดที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ ศบค. ได้กำหนดพื้นที่ประกาศใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ ในวันที่ 4 มกราคม 2564
โดยกำหนดให้ 28 จังหวัดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด 11 จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุม และ 38 จังหวัดเหลือของประเทศไทยเป็น พื้นที่เฝ้าระวังสูง โดยไม่มีจังหวัดใดที่เป็น พื้นที่เฝ้าระวัง
หลายคนอาจสงสัยว่า การกำหนด พื้นที่ควบคุมสูงสุด เพื่อควบคุม ป้องกัน แก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19 นั้น มีข้อห้าม ความเข้มข้นของมาตรการแตกต่างกันอย่างไร "ฐานเศรษฐกิจ" จึงขอสรุป คำอธิบายของ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. ชี้แจงเกี่ยวกับ มาตรการควบคุมการระบาดโควิด-19 แบบบูรณาการ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) แบ่ง มาตรการ 2 ขั้น มีรายละเอียดดังนี้
ขั้นที่ 1 (4 ม.ค.64 เวลา 06.00 น. - 1 ก.พ.64 เวลา 06.00 น.)
- จำกัดเวลาเปิด-ปิดสถานประกอบการ
- ปิดสถานประกอบการที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด
- ค้นหาและจับกุมกลุ่มบุคคลที่มั่วุมทำผิดกฎหมาย
- หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก
- ขอความร่วมมือไม่เดินทางข้ามจังหวัด
- สถานการศึกษาหยุดเรียนการสอนหรือใช้รูปแบบออนไลน์
- ให้มีการทำงานแบบ Work from Home ทั่วทั้งพื้นที่ที่ ศบค.กำหนด
- มีมาตรการควบคุมการเดินทางของบุคคลที่เดินทางจากพื้นที่ควบคุมสูงสุด
- เร่งการตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกและการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อและพื้นที่เชื่อมโยงที่ได้ข้อมูลจากการสอบสวนโรคของ สธ.
ขั้นที่ 2
- จำกัดเวลาเปิด-ปิดสถานประกอบการเพิ่มมากขึ้น (รวมทั้งจำกัดการเปิดกอจการบางประเภทด้วย)
- ปิดสถานประกอบการที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด
- เพิ่มความเข้มข้นในการเร่งค้นหาและจับกุมกลุ่มบุคคลที่มั่วสุมทำผิดกฎหมาย
- งดจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก
- เพิ่มความเข้มข้นในมาตรการควบคุมเดินทางข้ามจังหวัด
- สถานศึกษายังคงหยุดการเรียนการสอนเว้นกิจกรรมที่มีความจำเป็น
- เร่งรัดการตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุก และการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่เสี่ยง กิจกรรม/กิจการที่เสี่ยง กลุ่มบุคคลเสี่ยง
- จำกัดเวลาออกนอกเคหะสถาน ในพื้นที่ที่ ศปก. จังหวัดกำหนด
- ห้วงเวลาดำเนินการ ตามที่ นรม. / ผอ.ศบค. เห็นชอบ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาผ่อนคลายมาตรการ ในกรอบเงื่อนไขที่ ศบค.กำหนด
สำหรับกรอบข้อกำหนดที่ใช้อ้างอิงในการกำหนดมาตรการควบคุม ในขั้นที่ 1. ซึ่งเป็นข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 5 ,6 รวมถึงคำสั่งศบค.ที่ 2/2563 และ 3/2563 (ฉบับที่ 1) เรื่องแนวปฏิบัติตามข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.การบริหาราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
ส่วนมาตรการควบคุมในขั้นที่ 2 เป็นข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ฉบับที่ 1,2 และ 3
สำหรับ 28 จังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุด 1. ตาก 2. นนทบุรี 3. ปทุมธานี 4. พระครศรีอยุธยา 5. สระบุรี 6. ลพบุรี 7. สิงห์บุรี 8. อ่างทอง 9. นครนายก 10. กาญจนบุรี 11. นครปฐม1 2. ราชบุรี 13. สุพรรณบุรี 14. ประจวบศีวีข้นธ์
15. เพชรบุรี 16. สมุทรสงคราม 17. สมุทรสาคร 18. ฉะเชิงเทรา 19. ปราจีนบุรี 20. สระแก้ว 21. สมุทรปราการ 22. จันทบุรี 23. ชลบุรี 24. ตราด 25. ระยอง 26. ชุมพร 27. ระนอง 28. กรุงเทพ
ส่วน11 จังหวัด พื้นที่ควบคุม ประกอบด้วย 1. สุโขทัย 2. กําแพงเพชร 3. นครสวรรค์ 4. อุทัยธานี 5. ชัยนาท 6. เพชรบูรณ์ 7. ชัยภูมิ 8. บุรีรัมย์ 9. นครราชสีมา 10. สุราษฎร์ธานี 11. พังงา
ด้าน 38 จังหวัด พื้นที่เฝ้าระวังสูง คือ จังหวัดที่เหลือของประเทศไทย 38
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"สมุทรสาคร" ประกาศพื้นที่เฝ้าระวังโควิด 4 โซน "อ.เมือง 8 ตำบล"เสี่ยงสูงสุด
ยอดติดเชื้อโควิด 2 ม.ค.64 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 216 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย