รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha) โดยมีข้อความว่า สงสัยเป็น Covid19 อาการน้อย แยกตัวอยู่บ้านควรจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด?
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์จุฬา สภากาชาดไทย เผยแพร่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 วันนี้ 16/4/64
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วในขณะนี้ว่า ไวรัสตัวนี้ติดง่ายและแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่าไวรัสธรรมดาทั่วไป แต่ในขณะเดียวกันอาการความรุนแรงของโรคยังขึ้นอยู่กับ ปริมาณของเชื้อที่ได้รับและระยะเวลาการสัมผัสระหว่างผู้แพร่เชื้อกับผู้รับว่าจะนานเพียงใด นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับว่าผู้ที่รับเชื้อแล้วติดเชื้อไปอ่อนแออยู่แล้วโดยมีโรคประจำตัวหรือไม่
แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวเลย ก็มีอาการรุนแรงได้เช่นกัน โดยขึ้นกับปัจจัยดังข้างต้นและอาจเกี่ยวพันกับปฏิกิริยาของร่างกายผู้นั้น ต่อการติดเชื้อทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงเกินความจำเป็น และอาการหนัก ดังที่เห็นในบุคลากรทางสาธารณสุขไทยอายุน้อยที่ติดจาก เจ้าหน้าที่ขายสินค้าคนไทยซึ่งแข็งแรงดี แต่ใกล้ชิดกับผู้ซื้อลูกค้าซึ่งเป็นชาวต่างประเทศ โดยที่ลูกค้าไม่ได้แสดงอาการเจ็บป่วยใดๆ
ลักษณะธรรมชาติของการแพร่ดังกล่าวจะทำให้เกิดความยากลำบากในการให้การวินิจฉัย แยกกักตัว ทั้งนี้การที่จะมาพบแพทย์ยังโรงพยาบาลจะเป็นโอกาสที่ดีอย่างยิ่งในการแพร่เชื้อให้ผู้ป่วยอื่นๆและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต่อไปอีก
การรับทราบว่าตนเองไม่สบายแต่เป็นเพียงแค่หนาวๆร้อนๆ ตัวรุมๆ แต่ยังสามารถพอใช้ชีวิตประจำวันได้ อาจจะแยกตัวอยู่บ้านและอยู่ห่างจากคนในครอบครัว ใส่หน้ากากปิดปากปิดจมูกแยกภาชนะเครื่องใช้และอาหารการกิน จนกระทั่งอาการเป็นปกติทุกประการ
แต่ในทางกลับกัน ถ้าอาการเลวลงจนอ่อนเพลีย ทั้งนี้ไม่ต้องรอจนกระทั่งรู้สึกหายใจเหนื่อยต้องไปโรงพยาบาลโดยแจ้งให้สถานพยาบาลนั้นๆ ทราบล่วงหน้าและส่งรถพยาบาลที่เตรียมพร้อมในการรับผู้ป่วยติดเชื้อ แต่พาหนะที่ใช้ ถ้าเป็นรถส่วนตัวหรือ รถสาธารณะ เช่น แท็กซึ่ ต้องบอกสถานะให้ผู้ขับทราบในการป้องกันตัวและทำความสะอาดตัวรถหลังจากนั้น
วิธีการนี้ในการแยกตัวอยู่บ้านเป็นวิธีที่ทำในประเทศจีนและเริ่มจะเป็นวิธีปฏิบัติในประเทศอังกฤษ ตีพิมพ์ในวารสาร BMJ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 เนื่องจากมีปัญหาและมีภาระในการรับส่งผู้ป่วยมายังสถานพยาบาลและการที่จะต้องทำความสะอาดรถพยาบาล โดยใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง อีกทั้งยังสร้างความแออัดในโรงพยาบาล
วิธีการเช่นนี้สามารถใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ประจำถิ่นซึ่งก็มีการแพร่ ในลักษณะเดียวกันกับ covid-19 (โควิด-19)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :