รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha) โดยมีข้อความว่า
ถ้ามีการใช้ฟาวิพิราเวียร์อย่างมากมายเกินความจำเป็นจะเกิดการดื้อยาขึ้นหรือไม่?
ยาฟาวิพิราเวียร์ ถือว่าเป็นยาสำคัญที่ออกแบบมาใช้รักษาไวรัสได้หลายชนิด ทั้งนี้ กลไกอยู่ที่ การยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสในเซลล์ โดยมีการยืนยันในประสิทธิภาพต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่รวมทั้งไวรัสในตระกูลอาร์เอ็นเอซึ่งรวมทั้งอีโบล่า เมอร์ส และ โควิด
อย่างไรก็ตาม ยาดังกล่าวที่ค้นคิดและผลิตโดยบริษัทฟูจิฟิล์มของญี่ปุ่นจะมีการจัดเตรียมและสะสมในระยะแรกต่อไข้หวัดนกและมีการใช้ในกรณีของไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการรุนแรง
การศึกษาในระยะต่อมาเพื่อดูว่ามีโอกาสที่ไวรัสไข้หวัดใหญ่จะสามารถดื้อยา ฟาวิพิราเวียร์ได้หรือไม่
จากคณะผู้รายงาน ในวารสาร PNAS 2018 พบว่า ถ้ามีการเปลี่ยนรหัสพันธุกรรม mutation ตำแหน่งที่หนึ่ง จะทำให้เกิดดื้อยา แต่ก็compromise viral fitness หรือทำให้ไวรัสต้องใช้พลังงานไปเยอะและอ่อนแอลง แต่ถ้ามีตำแหน่งที่ 2 จะ restore viral fitness หรือทำให้ไวรัสแข็งแรงขึ้นต่อและทำให้ดื้อยาต่อได้
อย่างไรก็ตามคณะผู้วิจัยยังดูว่าโอกาสที่เกิดขึ้นน่าจะน้อย
แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้ามีการใช้อย่างมากมายทั่วไปหมดจะเกิดการดื้อยาขึ้นหรือไม่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :