"หมอบุญ" ทำนายระบบสาธารณสุขไทยจะเข้าขั้นวิกฤติในอีกไม่ช้า

19 พ.ค. 2564 | 02:55 น.
อัปเดตล่าสุด :19 พ.ค. 2564 | 11:48 น.

“หมอบุญ” คาดโควิดระลอก3 จะอยู่อีกนานและจะเห็นวิกฤติ ร.พ.เกินรับผู้ป่วยไหว หลังตัวเลขผู้ป่วยเข้ารพ.และไอซียูเพิ่มเป็นเท่าตัว แนะเร่งตรวจเชิงรุกและฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุดป้องกันเกิดระลอก 4 -5 และไวรัสกลายพันธุ์สัญชาติไทย เหมือนในอินเดีีย


นายแพทย์บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี แฮลท์แคลร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG เปิดเผยในรายการ "ฐานทอล์ก"มองว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรวมในประเทศยังต่ำกว่าความเป็นจริง 4 เท่า ยกตัวอย่าง เคสในกรมราชทัณฑ์ที่ตรวจผู้ติดเชื้อเจอในอัตรา 80 % หรือโรงงานต้องเป็นจุดเข้าไปตรวจเชิงรุก พร้อมคาดการณ์ระบบสาธารณสุขจะเข้าขั้นวิกฤตในอีก 2 สัปดาห์หน้า

คาดการณ์ไว้วันนี้ว่าระลอกที่ 3 จะอยู่นานและ 2 สัปดาห์หน้าจะเห็นวิกฤติใหญ่ รพ.รับได้ 1,500 คนต่อวันแต่วันนี้จำนวนเลยไปมาก ห้องไอซียูต้องใช้ 4คนต่อ 1เตียง จนทำให้ระบบสาธารณสุขของไทยไปถึงจุดที่รับไม่ไหว คนเข้ารพ. 3 เท่า ใช้ห้องไอซียู 2 เท่า

เคสที่เห็นได้ชัดเจนคือกลุ่มธนบุรีมีห้องไอซียู 62 ห้อง กลายเป็นวันนี้ใช้เต็มจำนวนและยังมีคิวรอใช้อีกหลายราย ห้องแลป PPE กลายเป็นไม่พอใช้ต้องสั่งเพิ่ม ซึ่งเรื่องดังกล่าวไม่ได้ทำให้ดีใจเพราะเกิดจากการระบาดและประชาชนเดือดร้อน

การระบาดระลอก 3 เคยระบุแล้วว่ามี ปัจจัยเสี่ยง 5 ประเด็น คือ 1.จำนวนผู้ติดเชื้อ 2.ระบาดรอบ 3 หลีกเลี่ยงไม่ได้ 3. วัคซีนความหวัง 4.ไวรัสกลายพันธุ์ และ5.การเกิดคลัสเตอร์ ล้วนแต่เป็นระเบิดเวลา

 

นพ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ บมจ.ธนบุรี แฮลท์แคลร์ กรุ๊ป

 

ปัญหาที่เจอจากการระบาดระลอก 3 คือไวรัสกลายพันธุ์ที่ติดได้ง่ายกว่า รวดเร็ว และเป็นโรคมากกว่ากว่าช่วงมาจากฮูฮั่นทำให้การรักษาทวีเพิ่มมากขึ้นเพราะจาก 100 คนป่วยมี 1 คนเข้าไอซียูกลายเป็น 3 คน ที่ต้องการตัดวงจรตรงนี้คือรีบฉีดวัคซีนให้กับคนที่ยังไม่ติดเชื้อให้เร็วที่สุด

ตามหลักการติดเชื้อจจากบุคคลหนึ่งไปอีกคนไวรัสจะพัฒนาให้มีความแข็งแรงมากขึ้นเพื่อจะได้อยู่ได้ ถ้าวนไปเรื่อยๆไปแบบนี้กลายเป็นไวรัสสายพันธุ์ไทยในที่สุด เช่นเดียวกับที่อินเดียที่ระบาดเป็นรอบที่ 5 รักษายาก เสียชีวิตมาก ซึ่งถ้าปล่อยให้ติดเชื้อไปเรื่อยๆเกิดระลอก 4-5 สุดท้ายจะกลายเป็นไวรัสกลายพันธุ์ไทยในที่สุด

ดังนั้นการดำเนินการที่ดีที่สุดในการทำให้วงจรการระบาดไปไม่ถึงระลอกที่ 4 และ 5 การดำเนินการตรวจเชื้อเน้นบุคคลากรด้านแรก เช่น หมอ พยาบาล หรือบุคคลากรทางการแพทย์มาถูกทาง แต่ลำดับถัดไปคือประชากรที่อายุ 25-60 ปี สำคัญเพราะต้องใช้ชีวิต ต้องออกไปทำงาน เรียกได้ว่าต้องตรวจเชิงรุกมากกว่านี้ 20 เท่า  และเรื่องวัคซีนด้านโควิด  ไทยกลับจองต่ำบวกกับช่วงส.ค.-ธ.ค. 2563 ไทยไม่มีการติดเชื้อจำนวนมากรัฐบาลอาจจะชะล่าใจจึงรอวัคซีนแอสตร้าฯที่ผลิตในไทยซึ่งจะได้รับจำนวนมากคือเดือนมิ.ย. 2564 

ส่วนภาคเอกชนเข้ามาช่วยจัดหาวัคซีนในช่วงดังกล่าวกลับเจออุปสรรคตามที่เป็นข่าวกันไป ซึ่งทางกลุ่มธนบุรีเป็นกลุ่มแรกที่สั่งวัคซีนเดือนพ.ย. 2563 จำนวน 50 ล้านโดส ซึ่งช่วงนั้นสหรัฐสั่งซื้อไป 3 เท่า หรือ 1,300 ล้านโดส อังกฤษสั่ง 6 เท่า แคนดาสั่ง 3 เท่า ทำให้วัคซีนขาดตลาดเพราะชาติตะวันตกสั่งวัคซีนไปตุนไว้

ถ้าวันนั้นไทยมีวัคซีนทางเลือกเข้ามาเพิ่ม 50 ล้านโดสสามารถนำมากระจายได้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน 4 เดือน เพราะเข็มแรกสร้างภูมิคุ้มกันได้แล้ว สำหรับแอสตร้าฯ ที่ยุโรปประกาศไม่ให้ฉีดแอสตร้าฯเข็มที่สองให้เปลี่ยนเป็นโมเดอร์น่าหรือไฟเซอร์เข็มที่สองแทน เพราะกลัวผลข้างเคียงเกิดลิ่มเลือดอุดตันแต่วันนี้ยุโรปเลี่ยงไม่ได้ต้องใช้แอสตร้าฯ เข็มแรกอยู่ดี

เรื่องการเปลี่ยนวัคซีนสามารถทำได้และมีการรองรับการแนะนำแล้วของ CDC ของยุโรปซึ่งภูมิคุ้มกันจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า และป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ เนื่องจากวัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์ไปอยู่ที่สหรัฐหมดทำให้ยุโรปก็ไม่มีทางเลือกต้องใช้วัคซีนแอสตร้าฯ 
ส่วนไทยวัคซีนทางเลือกจองรายเดียวคือโมเดอร์น่า หลังได้การรองรับขึ้นทะเบียนแล้วทางกลุ่มเตรียมเงิน 5,000 ล้านบาท ในการวางเงินซื้อวัคซีนโมเดอร์น่า แต่สุดท้ายหลายแห่งกลับถอยเพราะเห็นรัฐบาลสั่งมาจำนวนมากลัวขาดทุน จำนวนโควต้าได้คือ 5 ล้านโดสกว่าจะได้รับเดือน ก.ย. จะเป็นวัคซีนเข็มที่ 3 ที่ 4 ไป แต่วันนี้ไม่ควรเลือกควรฉีดป้องกันไว้ให้ได้มากที่สุด

“มุมมองของผมเห็นว่ายิ่งมีจำนวนมากยิ่งดี เพราะทั่วโลกต้องการวัคซีน 5,000 ล้านโดส แต่ฉีดไป 1,000 ล้านโดส ถ้าในประเทศไม่อยากฉีดแล้วประเทศใกล้เคียงยังต้องการหรือผู้ที่จะเข้ามาไทยยังต้องการ “