เปิดคลัสเตอร์โควิด"กทม." เฝ้าระวังสูงสุด 23 แห่ง คุมได้แล้ว 8 แห่ง

20 พ.ค. 2564 | 08:40 น.

เปิดคลัสเตอร์โควิด"กทม." เฝ้าระวังสูงสุด 23 แห่ง เฝ้าระวัง 4 แห่ง คุมได้แล้ว 8 แห่ง พบคลัสเตอร์ใหม่ 1 แห่ง แคมป์ก่อสร้าง บางพลัด

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงสถานการณ์ประจำวัน(20 พ.ค.64)ช่วงหนึ่งถึงสถานการณ์การระบาดของการติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครว่า ศูนย์บูรณาการฯรายงงานวันนี้ 1,001 ราย มาจากระบบเฝ้ระวังและจากโรงพยาบาล เป็นคนไทย 541 ราย ต่างด้าว 167 ราย ค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน คนไทย 132 ราย และต่างด้าว 161 ราย จะเห็นว่า การค้นหาเชิงรุกต่างด้าวพบมากกว่า 

เปิดคลัสเตอร์โควิด\"กทม.\" เฝ้าระวังสูงสุด 23 แห่ง คุมได้แล้ว 8 แห่ง

มีคลัสเตอร์ที่เกิดการระบาดที่แอคทีฟและไม่แอคทีฟในพื้นที่กรุงเทพฯมี 36 คลัสเตอร์ กระจายใน 25 เขต ในจำนวนนี้ มีคลัสเตอร์ที่ต้องเฝ้าระวัง 28 คลัสเตอร์ โดยมีคลัสเตอร์ใหม่ล่าสุด คือ แคมป์ก่อสร้าง บางพลัด

เปิดคลัสเตอร์โควิด\"กทม.\" เฝ้าระวังสูงสุด 23 แห่ง คุมได้แล้ว 8 แห่ง

คลัสเตอร์ที่ต้องเฝ้าระวัง 28 แห่ง

กลุ่มเฝ้าระวังสูงสุด 23 คลัสเตอร์

  • เขตดินแดง 1. ตลาดห้วยขวาง 2. แฟลตดินแดง
  • เขตราชเทวี 3. ประตูน้ำ 4. ชุมชนริมคลองสามเสน 5. แฟลตรถไฟมักกะสัน
  • เขตหลักสี่ 6. แคมป์ก่อสร้าง
  • เขตดุสิต 7. สี่แยกมหานาค/สะพานขาว/ตลาดผลไม้
  • เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 8. คลองถมเซ็นเตอร์ / เสือป่า / วงเวียน 22กรกฎา / วรจักร / โบ๊เบ๊
  • เขตคลองเตย 9. ที่พักคนงานก่อสร้าง 10. ตลาดคลองเตย 11. ชุมชนแออัดคลองเตย
  • เขตบางรัก 12. สีลม
  • เขตสาทร 13. ชาวกินี
  • เขตพระนคร 14. ปากคลองตลาด
  • เขตประเวศ 15. ตลาดบุญเรือง
  • เขตบางกอกน้อย 16.ตลาดศาลาน้ำร้อน
  • เขตห้วยขวาง 17.ชุมชนโรงปูน
  • เขตบางเขน 18.ตลาดยิ่งเจริญ
  • เขตบางคอแหลม 19.แคมป์ก่อสร้าง
  • เขตจตุจักร 20.โรงงานน้ำแข็ง
  • เขตดอนเมือง 21.แคมป์ก่อสร้าง
  • เขตบางซื่อ 22.โกดักสินค้าให้เช่า
  • เขตบางกะปิ 23.ตลาดบางกะปิ

กลุ่มเฝ้าระวัง 4 คลัสเตอร์

  • เขตวัฒนา 24. แคมป์ก่อสร้าง
  • เขตสวนหลวง 25. ร้านเฟอร์นิเจอร์
  • เขตจตุจักร 26. ราชทัณฑ์
  • เขตราชเทวี 27. บริษัทไฟแนนซ์

คลัสเตอร์พบใหม่ 1 คลัสสเตอร์

  • เขตบางพลัด 28. แคมป์ก่อสร้าง

เปิดคลัสเตอร์โควิด\"กทม.\" เฝ้าระวังสูงสุด 23 แห่ง คุมได้แล้ว 8 แห่ง

คลัสเตอร์ที่ควบคุมการระบาดได้ 8 แห่ง

เขตทวีวัฒนา

  • 29. ชุมชนแออัด ซอยสุพจน์อุทิศ

เขตปทุมวัน

  • 30. ชุมชนบ่อนไก่

เขตสาทร

  • 31. บริษัทขายตรงตึกเอมไพร์

เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

  • 32. ชุมชนวัดโสมนัส

เขตสัมพันธวงศ์

  • 33. สำเพ็ง

เขตจตุจักร

  • 34. บริษัทรถทัวร์

เขตลาดพร้าว

  • 35. บริษัทประกันลาดปลาเค้า

เขตสวนหลวง

  • 36. ชุมชนโมราวรรณ

เปิดคลัสเตอร์โควิด\"กทม.\" เฝ้าระวังสูงสุด 23 แห่ง คุมได้แล้ว 8 แห่ง

ที่มา : ศูนย์ข้อมูล COVID-19

โฆษก ศบค. กล่าวว่า ทางคณะที่ปรึกษาด้านการสาธารณสุข ได้เสนอเรื่องการดูแลแรงงานต่างด้าว ซึ่งมีการประมาณการตัวเลขแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฏหมายในกทม.และปริมณทล ประมาณ 1.31 ล้านคน ส่วนแรงงานผิดกฏหมายประมาณการณ์ว่า มีเป็นล้านคน ซึ่งคณะที่ปรึกษาฯมองว่า หากไม่มีการจัดการจะเกิดเป็นปัญหาได้ เนื่องจากแรงงานผิดกฏหมายจะคอยหลบหนีอยู่บ่อย และมักไปอาศัยกับแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฏหมายและไปเกาะกลุ่มรวมกัน

นอกจากนี้มักจะอยู่ที่พักที่แออัด ซึ่งปัจจัยทั้งหมดจะนำมาสู่การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ยาก

คณะที่ปรึกษาฯจึงมีข้อเสนอให้มีศูนย์คัดแยกผู้ป่วยแรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะ ในลักษณะ Camp Quaratine ซึ่งกทม.ควรรีบดำเนินการ เพราะหากพบผู้ติดเชื้อในแรงงานต่างด้าว จะต้องมีที่รักษาดูแลด้วย และควรมีการดำเนินการขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกฏหมาย เพื่อให้สามารถเข้าสู่ระบบจ้างงานถูกต้องตามกฏหมายได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง