5 ข้อเท็จจริงวัคซีนโควิด "หมอธีระวัฒน์" ชี้ไม่มีใครอยากติดหรือเสียชีวิตแต่ต้องการสิ่งปกป้อง

25 พ.ค. 2564 | 01:10 น.
อัปเดตล่าสุด :25 พ.ค. 2564 | 01:27 น.

หมอธีระวัฒน์เผย 5 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ชี้ไม่มีใครอยากติดหรือเสียชีวิตแต่ต้องการสิ่งปกป้อง รับโควิดไม่มีอะไรที่ง่าย

รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha) โดยมีข้อความว่า 
    เรื่องวัคซีน
    ทุกคนในโลกนี้ ไม่อยากติด ไม่อยากตายและอย่างน้อยต้องการมีอะไรที่พอปกป้องได้ แต่การที่ไม่สามารถบอกได้ขัดเจนว่า ตัวไหนจะช่วยได้เพียงใดเพราะเป็นเรื่องซับซ้อน และเมื่อนำมาประเมินในมนุษย์ในสถานการณ์จริงที่มีความเสี่ยง ปัจจัยประจำตัว ปริมาณเชื้อที่ได้รับ แม้เชื้อตัวเดียวกันก็ต่างกัน จะได้ผลในตัวเลขต่างๆที่เราเห็น
    คนทั่วไปต้องการเพียงคำตอบ “ใช่-ไม่ใช่?” “อันไหนดี-ไม่ดี” “อันไหนดีกว่า?”
    ในเรื่อง โควิด-19 (Covid-19) ไม่มีอะไรง่ายเพียงนั้น ไม่เช่นนั้น ผ่านมา นานกว่า 1 ปีครึ่ง โลกทั้งโลกควรดีกว่านี้มากกว่านี้มาก
    1.วัคซีนทุกตัวมี กลไล ทาง T เซลล์ TCell arm ของการออกฤทธ์ แต่จะมากจะน้อย ทั้งนี้ยังไม่เคยมีใครทำ head to head ดูเทียบกันตัวต่อตัวในทุกบริบท ของ T cell
และการต่อสู้กับไวรัส ต้องการทั้ง 2 ระบบร่วมกับภูมิในน้ำเหลืองจาก B เซลล์ และท้ายสุดต้องการระบบความจำ ที่ถูกปลุกมาได้ทันทีที่ติดเชื้อใหม่
    2.sinovac (ซิโนแวค) กระตุ้นT cell เช่นกันที่เราทำที่ศูนย์
    3.การดู efficacy การป้องกัน อาการไม่ให้หนัก เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง และเมื่อ การวินิจฉัยช้า การเริ่มรักษาช้า และการติดเชื้อ ไปจุดชนวนระยะการอักเสบจนถึงวิกฤติ ขณะนั้นแม้ไวร้สจะปริมาณลดลง แต่การดำเนินของโรคและความรุนแรงจะยกระดับขึ้นทันที และอาการหนักรวมทั้งต้องให้ยาซับซ้อนที่อาจมีผลข้างเคียงมากขึ้นไปอีก ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าวัคซีนได้ผลน้อยลง
    4.แม้แต่การดูระดับการยับยั้งไวรัสของภูมิในน้ำเหลือง  antibody ที่ได้จาก วัคซีนต่างๆ ต่อเชื้อตัวเดียวกัน ก็ดีหมด แต่ขีวิตจริงต่างออกไป
    5.สิ่งที่ทุกคนไม่อยากเห็นคือการที่สร้างเสริมภูมิในน้ำเหลืองสูงมากๆ แต่ไม่เหมาะเจาะกับไวรัสใหม่ เช่น สายแอฟริกัน แทนที่จะช่วย กลับทำให้มีการอักเสบลุกลามมากขึ้น และความรุนแรงในคนติดเชื้อเดิม หรือได้วัคซีนที่ไม่เหมาะเจาะกับตัวใหม่ จะมากกว่าที่เป็น และเป็นกลไกที่ทราบกันตั้งแต่ ปี 1960 และเกืดขึ้นในไวรัสอื่นๆ รวมทั้งวัคซีนต่อไวรัสอื่นๆ

โควิดไม่มีอะไรที่ง่าย
    ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้รวบรวมตัวเลขการฉีดวัคซีนของประเทศไทยจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขพบว่า ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.-23 พ.ค. 64 มีการฉีดแล้วจำนวน 2,910,664 โดส ประกอบด้วย เข็มที่ 1 สะสมอยู่ที่จำนวน 1,941,565 ราย และเข็มที่ 2 สะสมอยู่ที่จำนวน 969,099 ราย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :