โควิดระลอกสามดุ!ตายสูงกว่าระลอก 2 ถึง 75 เท่า "หมอเฉลิมชัย" จี้รัฐใช้มาตรการเข้มข้น

25 พ.ค. 2564 | 02:15 น.
อัปเดตล่าสุด :25 พ.ค. 2564 | 11:43 น.

หมอเฉลิมชัยเผยข้อมูลโควิดระลอกสามเสียชีวิตมากกว่าระลอกสองถึง 75 เท่า เร่งภาครัฐออกมาตรการเข้มข้นชะลอความเสียหาย

รายงานข่าวระบุว่า น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยระบุข้อความว่า 
    ล่าสุดวันนี้ 25 พฤษภาคม 2564 ติดเชื้อเพิ่ม 3,226 ราย ติดเชื้อในเรือนจำ 882 ราย ติดเชื้อสะสมระลอกที่สาม 106,576 ราย เสียชีวิต 26 ราย เสียชีวิตสะสมระลอกที่สาม 738 ราย
    สถานการณ์โควิด-19 (Covid-19) ของประเทศไทย วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 เมื่อเปรียบเทียบกับการระบาดในระลอกที่หนึ่งและสอง มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
    ประเด็นการติดเชื้อ
    ในระลอกที่หนึ่ง มีผู้ติดเชื้อ 4000 ราย ในช่วงระบาดรุนแรง 59 วัน คิดเป็นผู้ติดเชื้อ 67 รายต่อวัน
    ระลอกที่สอง ติดเชื้อ 28,863 ราย ใน 105 วัน คิดเป็นผู้ติดเชื้อ 274 รายต่อวัน
    ระลอกที่สาม ช่วงวันที่ 1-24 พฤษภาคม มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 65,169 ราย ติดเชื้อเพิ่มวันละ 2715 ราย
    เมื่อเปรียบเทียบจำนวนผู้ติดเชื้อ จะเห็นได้ว่า การติดเชื้อในระลอกที่สองมากกว่าระลอกที่หนึ่งอยู่สี่เท่า
    และการติดเชื้อในระลอกที่สามมากกว่าระลอกที่สองอยู่ถึง 10 เท่า
    ในส่วนจำนวนคนเสียชีวิต
    ระลอกที่หนึ่งมีผู้เสียชีวิต 60 รายใน 60 วัน เฉลี่ยวันละหนึ่งราย
    ผู้เสียชีวิตในละลอกที่สอง 34 ราย ใน 105 วัน เสียชีวิตวันละ 0.32 ราย
    ถ้าเปรียบเทียบระหว่างระลอกที่สองกับระลอกที่สาม
    ขณะนี้ระลอกที่สาม มีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 24 ราย
    คิดเป็นจำนวนผู้เสียชีวิตสูงกว่าระลอกที่สองถึง 75 เท่า
    จากตัวเลขดังกล่าว ทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตเปรียบเทียบระหว่างระลอกสองและระลอกสาม จะเห็นถึงความรุนแรงและกว้างขวางที่ชัดเจน

สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย
    เป็นเหตุผลที่สำคัญว่า ทำไมมาตรการที่เข้มข้น จึงควรจะต้องออกมา เพื่อช่วยชะลอตัวเลขความเสียหายดังกล่าวลง
    ส่วนผลกระทบทางเศรษฐกิจ แม้ในขณะนี้จะไม่ได้ออกมาตรการเข้มข้น เศรษฐกิจก็ไปได้ไม่ค่อยจะดีนักอยู่แล้ว
    เมื่อจำเป็นต้องออกมาตรการเข้มข้น เพื่อลดความเสียหายของชีวิตผู้คนในมิติสาธารณสุข รัฐก็จำเป็นจะต้องเข้าไปเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ แต่จะเป็นเพียงช่วงสั้นๆ และทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วขึ้น แล้วจึงค่อยไปฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลัง
    ผู้ติดเชื้อวันนี้ 3,226 ราย ติดเชื้อสะสมระลอกที่สาม 106,576 ราย ติดเชื้อสะสมทั้งหมดตั้งแต่ต้น 135,439 ราย หายป่วยกลับบ้านได้ 3,094 ราย เสียชีวิตวันนี้ 26 ราย เสียชีวิตสะสมระลอกที่สาม 738 ราย เสียชีวิตสะสมทั้งหมด 832 ราย
    Reference
    ศูนย์ข้อมูลCOVID-19

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

    ทั้งนี้  หากย้อนกลับไปเมื่อที่ 15 พฤษภาคม 2564 เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 23 ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 นั้น
    โดยที่สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด ระลอกเดือนเมษายน 2564 ได้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่และแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้กำหนดมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวดมาแล้วระยะหนึ่ง มีการดำเนินมาตรการตรวจคัดกรองเชิงรุกเพิ่มขึ้น ประกอบกับการเร่งรัดดำเนินการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน ซึ่งหากได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วนจะช่วยให้สถานการณ์มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นลำดับ จึงสมควรผ่อนคลายมาตรการควบคุมบางกรณี เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนเกินสมควร ดังนี้...
    อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติขึ้นไว้ดังต่อไปนี้...
    ข้อ 1 ข้อปฏิบัติในการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าอย่างถูกวิธีตามข้อแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข เมื่ออยู่นอกเคหสถานหรือเมื่ออยู่ในที่สาธารณะยังคงเป็นข้อปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่หรือรับเชื้อ
    ข้อ 2 การกำหนดพื้นที่สถานการณ์ ปรับระดับการกำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำเนกตามขตพื้นที่สถานการณ์ ดังนี้...
    1.พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ให้พื้นที่กรุงทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ รวม 4 จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
    2.พื้นที่ควบคุมสูงสุด ให้พื้นที่จังหวัด รวม 17 จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด
    3.พื้นที่ควบคุม ให้พื้นที่จังหวัด รวม 56 จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุมจังหวัดในเขตพื้นที่สถานการณ์ตาม (2) และ (3) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในบัญชีรายชื่อจังหวัดตามเขตพื้นที่สถานการณ์แนบท้ายข้อกำหนดนี้
    ข้อ 3 มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์ที่จำเป็นอย่างเร่งด่วน
    สำหรับสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรม เพื่อให้สามารถเปิดดำเนินการได้ภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบและ ระเบียบ รวมทั้งมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด
    1.พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
    ก. ร้านจำหน่ายอาหาร หรือเครื่องดื่ม ให้บริโภคอาหาร และเครื่องดื่มในร้านได้ไม่เกินวลา 21.00 น. โดยจำกัดจำนวนผู้นั่งบริโภคในร้านได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนที่นั่งปกติ ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีเอลกอฮอล์ในร้าน และให้จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มในลักษณะของการนำไปบริโภคที่อื่นได้จนถึงวลา 23.00 น. ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบการจัดให้มีมาตรการคัดกรองผู้เกี่ยวข้อง การจัดระเบียบผู้เข้าใช้บริการ และการเว้นระยะห่างตามคำแนะนำและมาตรการที่ทางราชการกำหนด
    ข. โรงรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภท ให้งดใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก และมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ ง่ายทำให้สี่ยงต่อการแพร่โรค เว้นแต่เป็นกรณีที่กำหนดไว้ในข้อ 1 แเห่งข้อกำหนด (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 16 เมษายน 2564
    2. พื้นที่ควบคุมสูงสุด
    ก. ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้านได้ไม่เกินเวลา 23.00 น. โดยห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีเอลกอฮอส์ในร้าน ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบการจัดให้มีมาตรการคัดกรองผู้เกี่ยวข้อง การจัดระเบียบผู้ข้าใช้บริการ และการเวันระยะห่างตามคำแนะนำและมาตรการที่ทางราชการกำหนด
    ข. โรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภท ให้สามารถใช้อาศารหรือสถานที่ เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากได้ โดยให้พิจารณาตามความจำเป็น และดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ซึ่งผู้ว่าราชการ กทม. หรือผู้ว่าราชการจังหวัด โดยคำเนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อ กทม.หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่จัด กิจกรรมและสถานการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบ
    3. พื้นที่ควบคุม
    ก. ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้านได้ภายในกำหนดเวลาปกติตามกฎหมายที่กี่ยวข้อง โดยห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน
    ข. โรงรียนและสลาบันการศึกษาทุกประเภท ให้สามารถใช้อาคารสถานที่เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ได้ตามความเหมาะสมและความพร้อม โดยให้ดำเนินการตามคำแนะนำของทางราชการและมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยเละนวัตกรรม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี
    ข้อ 4 แนวทางการปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัตีหรือการดำเนินการของบุคคล สถาน กิจการ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นไปตามงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบและระเบียบ รวมทั้งมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ในกรณีที่พบผู้ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ว่ากล่าวตักเตือนและสั่งให้ผู้นั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามให้ดำเนินการตามกฎหมายที่ กี่ยวข้องต่อไป
    ข้อ 5 การเร่งรัดการฉีตวัดซีนเพื่อข้องกันโรคเพื่อบริหารจัดการสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด ที่กำหนดเป็นวาระแห่งชาติปรากฎผลเป็นรูปธรรมและประชาชน ได้รับประโยชน์โดยเร็ว ให้ ศปก.ศบค. ปฏิบัติการช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเร่งรัด.ตรียมความพร้อม เละบูรณาการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนภารกิจในการกระจายและแจกจ่ายวัดซีน การลงทะเบียนรับวัคซีน การฉีดวัคซีน รวมทั้งการอื่นใดที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแเก่ประชาชนให้เข้ารับการฉีดวัคซีน เพื่อมุ่งลดจำนวนผู้ป่วยและให้เกิดภูมีคุ้มกันหมู่ในประเทศต่อไป โดยให้รายงานแผนการปฏิบัติงาน และผลการดำเนินงานดังกล่าวต่อนายกรัฐมนตรี เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
    ข้อ 6 การป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในการกระทำอันเป็นเหตุให้เกิดการระบาดของโรค รัฐบาลคเน้นย้ำเจตจำนงที่เด็ดขาดในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามบุคคลใดก็ตาม ที่มีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องกับการกระทำอันป็นเหตุให้เกิดการระบาดของโรค เช่น การมีส่วนร่วมกับขบวนการลักลอบเข้ามือง โดยมิได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบ การคัดกรองโรคและการกักกันตัว ตามมาตรการทางสาธารณสุข ซึ่งเป็นตันตอของการเป็นพาหะของโรคโควิด ชนิดกลายพันธุ์ จากภายนอกราชอาณาจักร และการเปิดบ่อนการพนันขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งป็นต้นตอของการระบาดของโรคแบบกลุ่มก้อนจนส่งผลกระทบอย่างรุนแรง
    ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง และพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ประสานการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดและเพิ่มความเข้มงวดในการปฏิบัติการกวดขัน สอดส่องและเฝ้าระวังพื่อป้องกันการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย รวมถึงการเปิดให้มีการมั่วสุมลักลอบเล่นการพนัน และให้ดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายเพื่อปราบปรามต่อไป
    ข้อ 7 การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งให้หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการภาคเอกชน พิจารณาดำเนินมาตรการขั้นสูงสุดเพื่อลดจำนวนการเดินทางของจ้าหน้าที่และบุคลากรที่อยู่ในความรับผิดชอบเพื่อป้องกัน และลดโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ เป็นระยะเวลาต่อเนื่องออกไปอีกอย่างน้อย 14 วัน ซึ่งอาจสั่งการให้ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง การลดจำนวนบุคคลที่ประจำอยู่สถานที่ตั้ง การสลับวันทำงาน หรือวิธีการอื่นใดตามความเหมาะสม โดยพิจารณาให้เพียงพอต่อภารกิจในการให้บริการประชาชน
    สำหรับการปลดล็อกดังกล่าวนั้น  ได้มีนักวิชาการ  และบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่เห็นด้วย เช่น นายสันต์ ศรีอรรฆ์ธำรง อาจารย์พิเศษคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ซึ่งระบุว่า น่าผิดหวังที่ แรงกดดันทั้งหลายทำให้รัฐบาล เลือกที่จะผ่อนคลาย แทนที่จะควบคุมให้เข้มขึ้น 
    ขณะที่  น.พ.เฉลิมชัย เองก็เคยระบุว่า มาตรการควบคุมจะต้องใช้รูปแบบเดิมเหมือนกับการระบาดในระลอกที่ 1-2 ไม่ได้ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :