กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เปิดเผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประเทศไทย ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2564 พบว่า วัคซีนโควิด-19 ที่จัดสรรทั้งหมด 3,540,786 โดส แบ่งออกเป็น ซิโนแวก (Sinovac) 3,424,966 โดส และ แอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca) 115,820 โดส
ส่วนจำนวนการฉีดวัคซีนโควิด-19 สะสมในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 2,910,664 คน ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
-เข็มแรก 1,941,565 โดส คิดเป็น 2.93% ของจำนวนประชากร
-เข็มสอง 969,099 โดส คิดเป็น 1.46 % ของจำนวนประชากร
สำหรับการฉีดวัคซีนโควิด -19 ของไทย ได้ฉีดให้กับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากรการแพทย์และสาธารณสุข ,อสม โดยมีสัดส่วนการฉีดวัคซีนโควิด -19 มากที่สุดกว่า 38.9% รองลงมาคือ ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง 35.4 % ตามมาด้วยเจ้าหน้าที่อื่นๆที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 16% ,บุคคลที่มีโรคประจำตัว 6.4 % และ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 3.3 %
ขณะที่ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบทั้ง 10 ประเทศแล้ว รวมจำนวน 46,214,598 โดส ได้แก่
1. สิงคโปร์ จำนวน 3,407,068 โดส (29.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Moderna
2. กัมพูชา จำนวน 3,840,027 โดส (11.4%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca และ Sinovac
3. ลาว จำนวน 734,284 โดส (5.0%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm และ Sputnik V
4. อินโดนีเซีย จำนวน 24,826,221โดส (4.6%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac และ AstraZeneca
5. บรูไน จำนวน 33,850 โดส (3.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
6. มาเลเซีย จำนวน 2,342,500โดส (3.6%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac
7. พม่า จำนวน 2,994,900 โดส (2.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca
8. ไทย จำนวน 2,910,664 โดส (2.2%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac และ AstraZeneca
9. ฟิลิปปินส์ จำนวน 4,097,425 โดส (1.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V และ AstraZeneca
10. เวียดนาม จำนวน 1,027,659 โดส (0.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca
ข่าวที่เกี่ยวข้อง