"อินเดีย"ยันฉีดวัคซีนโควิด-19สองโดส "คนละตัวกัน" ไม่ก่อผลข้างเคียงร้ายแรง

29 พ.ค. 2564 | 02:20 น.
อัปเดตล่าสุด :29 พ.ค. 2564 | 09:29 น.

มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เผยผลการศึกษาเบื้องต้นพบการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แบบผสม ก่อผลผลข้างเคียงในระยะสั้นน้อย-ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง แต่ไม่ได้ให้คำตอบวัคซีนแบบผสมต้านเชื้อไวรัสโควิดได้ผลแค่ไหน 

 

รัฐบาลอินเดีย ระบุว่าไม่มีแนวโน้มที่จะเกิดผลข้างเคียงที่เห็นได้ชัด ในคนที่รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) โดสที่ 2 ซึ่งเป็นคนละตัวกับโดสแรก

ประเด็นโต้เถียงดังกล่าวเกิดขึ้นหลังกลุ่มชาวบ้านในรัฐอุตตรประเทศของอินเดียอ้างว่าพวกตนได้รับการฉีดวัคซีน โควิด-19 โดสที่ 2 ด้วยโควาชิน (Covaxin) ขณะที่ โดสแรกที่ได้รับคือวัคซีนโควิชีลด์ (Covishield )

"ระเบียบการของเราบอกไว้ชัดเจนว่าวัคซีนทั้งสองโดสที่ได้รับควรเป็นวัคซีนตัวเดียวกัน เราจึงควรตรวจสอบเรื่องนี้ อย่างไรก็ดีแม้เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นแล้ว แต่มันไม่ใช่เรื่องน่ากังวลอะไร" วี.เค. พอล ประธานกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติด้านการฉีดวัคนป้องกันโรคโควิด-19 (NEGVAC) กล่าว

"แม้ว่าจะได้รับวัคซีน โดสที่ 2 คนละตัวกับโดสแรก แต่ไม่มีแนวโน้มว่าจะเกิดผลข้างเคียงสำคัญใดๆ อันที่จริงแล้วข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ชี้ว่ามันสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ แม้จะสอง โดสจะเป็นวัคซีนคนละตัวกัน" 

พอลเผย เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (Oxford University) รายงานผลเบื้องต้นของการศึกษาการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แบบผสม ซึ่งได้รับการเผยแพร่ในวารสารแลนเซต (Lancet) โดยชี้ว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) หรือที่ในอินเดียเรียกว่าโควิลด์ เป็น โดสแรก และได้รับวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) เป็นโดสที่ 2 นั้นมีผลข้างเคียงในระยะสั้นกว่าปกติ และส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง

อย่างไรก็ดี การศึกษาดังกล่าวไม่ได้แสดงให้เห็นว่าการฉีดวัคนป้องกันโรคโควิด-19 แบบผสมจะสามารถต้านไวรัสได้ดีเพียงใด

ที่มา :  สำนักข่าวซินหัว