"ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์" ประกาศคิวฉีดวัคซีนที่ ID มากกว่า 2.5 แสนให้ลงทะเบียนใหม่กับ กทม.

04 มิ.ย. 2564 | 02:55 น.
อัปเดตล่าสุด :04 มิ.ย. 2564 | 02:58 น.

"ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์" ประกาศให้ผู้ที่ได้คิวฉีดวัคซีนที่ ID มากกว่า 2.5 แสนขึ้นไปให้ลงทะเบียนใหม่กับ กทม. ส่วนคิวฉีดเข็มที่ 2 ยังเข้ามาได้ตามนัด

รายงานข่าวระบุว่า ศาสตราจารย์ นพ.นิธิ มหานนท์ ผอ.โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก Nithi Mahanonda โดยมีข้อความว่า 
    ใน กทม. มีประชาชนประมาณ ๑๐ ล้านคน ซึ่งควรได้รับวัคซีนอย่างน้อย ๖ ล้านคน จึงจะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่เพื่อยับยั้งการระบาด รวมแล้วต้องให้บริการฉีดวัคซีน ๑๒ ล้านโดส เราควรฉีดให้เสร็จใน ๔ เดือน หรือ ๑๒๐ วัน (ถ้าช้ากว่านี้ อาจจะมีปัญหาในการยับยั้งเชื้อสายพันธุ์ใหม่ๆ ) ดังนั้น ในกรุงเทพมหานคร เราต้องบริการฉีดวัคซีนให้ได้วันละ ๑๐๐,๐๐๐ โดส การเปิดจุดบริการฉีดน้อยแห่งจะทำให้เป็นไปได้ยากมากถึงมากที่สุด ขณะนี้ กทม. มีจุดบริการฉีดวัคซีน ไม่ต่ำกว่า ๒๐ แห่ง คิดว่ายังไม่รวมของมหาวิทยาลัยต่างๆ  คำนวณง่ายๆ เอาตัวเลขกลมๆ แต่ละจุดบริการควรฉีดได้ ๓,๐๐๐ ถึง ๕,๐๐๐ ราย ทุกวันโดยไม่มีวันหยุด
    ในการเริ่มต้นแรกๆ แต่ละจุดอาจจะฉีดได้ไม่ถึงเป้าและควรต้องปรับระบบไปทุกๆ วัน พร้อมกับการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนไม่ลังเลที่จะฉีดและอำนวยความสะดวกในการไปรับการฉีด
    การกระจายวัคซีน ของกรมควบคุมโรคติดต่อ สธ. กทม. และมหาวิทยาลัยในสังกัด อว. ในขณะนี้ถูกต้องเหมาะสมแล้วครับ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ก็ทำมาพักหนึ่งกว่าจะปรับระบบได้ ดังนั้น ในช่วงนี้ที่ปริมาณวัคซีนกำลังทะยอยเข้ามา จึงเหมาะแล้วที่ควรให้เริ่มไปช่วยกันหลายๆแห่ง …ถึงตรงนี้แหละครับ (ร่ายที่มาที่ไปเสียยาว) ทั้งสามส่วนงานข้างต้นและราชวิทยาลัย / โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ มีการหารือคุยกันใกล้ชิดตลอดเวลา และเห็นพ้องต้องกัน ด้วยวัตถุประสงค์เดียวกัน คือทุกคนบนผืนแผ่นดินไทยต้องได้รับวัคซีนโดยเร็วครับ และทางโรงพยาบาลจุฬาภรณ์จะได้รับการจัดสรรวัคซีนหลักมา เมื่อมีปริมาณวัคซีนหลักมากขึ้นนะครับ
    สำหรับ หกแสนกว่าคนที่ได้ลงทะเบียนรอมารับการฉีดวัคซีนที่ศูนย์บริการวัคซีนของราชวิทยาลัยฯ และได้รับหมายเลข ID ที่ไปแล้ว ผู้ที่ได้รับหมายเลข ID มากกว่า 250000 ขึ้นไปที่สามารถหาจุดฉีดวัคซีนที่อื่นๆ ใน กทม.ได้ ผมขอแนะนำว่าให้ไปลงทะเบียนและหาที่ฉีดวัคซีนโดยเร็ว โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการรุนแรงถ้าติดเชื้อและผู้ที่เสี่ยงสูงในการได้รับเชื้อและแพร่เชื้อได้ง่าย ส่วนผู้สูงอายุ ผู้ป่วยของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และผู้ด้อยโอกาสที่เข้าไม่ถึงอินเตอร์เน็ตหรือการจองออนไลน์ รวมถึงผู้ที่ไว้วางใจโรงพยาบาลจุฬาภรณ์โรงพยาบาลจะทะยอยเรียกเข้ามารับวัคซีนต่อไปโดยเร็ว เช่นเดียวกันกับผู้ที่มีนัดรับวัคซีนเข็มที่สองยังเข้ามารับตามนัดได้ครับ……และเมื่อมีวัคซีนมาเพื่มปรับแผนใหม่จะแจ้งอีกครั้ง
    “ทำดีไว้แล้วก็จะดี”
    “ทำดีไว้แล้วก็จะดี”
    นิธิ มหานนท์ 
    เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ
    ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์
    ๔ มิถุนายน ๖๔
    #ความดีต้องช่วยกันทำ
    #สามัคคีกันไว้เราต้องสู้กับมันไปอีกนาน
    #วัคซีนช่วยฟื้นชีวิตชีวาสังคมไทย

ศาสตราจารย์ นพ.นิธิ มหานนท์
    ทั้งนี้  ประเด็นเรื่องของคิวการฉีดวัคซีนที่ราชวิทยาลับจุฬาภรณ์ มาจากการที่ราชวิทยาลัยฯ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่าเนื่องจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ไม่ได้รับการจัดสรรวัคซีนหลัก (ซิโนแวคและแอสตร้าเซนเนก้า) เพื่อให้บริการอีกต่อไป โรงพยาบาลจุฬาภรณ์จึงต้องขออภัยทุกท่านที่ไม่สามารถให้บริการฉีดวัคซีนเข็มแรกกับผู้ที่ลงทะเบียนไว้แล้วได้ ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน เป็นต้นไป ทั้งนี้ รวมถึงสถานศึกษา และหน่วยงานของรัฐที่ติดต่อเพื่อขอรับการฉีดวัคซีนหลักทั้งสองชนิดด้วย

    ซึ่งจากโพสดังกล่าวได้ก่อให้เกิดคำถามากมายว่าเหตุใด ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จึงไม่ได้รับการจัดสรรวัคซีนหลัก และต้องหยุดให้บริการฉีดวัคซีนเข็มแรกไปในที่สุด โดยที่ หมอนิธิ ก็ได้ออกมาอธิบายผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า เนื่องจาก ราชวิทยาลัยฯ / โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ต้องเตรียมจัดระบบใหม่ในการจัดการวัคซีนตัวเลือกที่จะเริ่มกระจายฉีดภายในไม่เกิน ๒ -๓ สัปดาห์นี้ ประกอบกับขณะนี้ทาง กทม. ก็เตรียมการเพื่อบริการฉีดวัคซีนได้หลายที่แล้ว และกระจายอยู่ทั่วไปมากกว่า ๒๐ แห่ง ซึ่งหลายหน่วยงานมาดูวิธีการบริหารระบบที่ให้บริการฉีดอย่างมีประสิทธิภาพที่ราชวิทยาลัยฯ ทำเป็นตัวอย่างไปแล้วด้วย เราจึงต้องปรับเลื่อนการให้บริการฉีดวัคซีนหลักออกไปก่อนพักนึง(เริ่ม ๑๔ มิถุนายน)
    ดังนั้น อย่าไปโทษรัฐบาล หรือส่วนกลางหรือ สธ. หรือ อว. หรือกทม. เลยครับ ไม่มีใครผิดไม่มีใครถูก ทุกอย่างมีเหตุมีปัจจัย   

    จากหลายเหตุการณ์ข้างต้นจึงนำมาสู่การประกาศให้ผู้ที่ได้หมายเลข  ID มากกว่า 250000 ขึ้นไปที่สามารถหาจุดฉีดวัคซีนที่อื่นๆ ใน กทม.ได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :