รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha) โดยมีข้อความว่า
ถ้าจะกลัวเรื่องสายพันธุ์...กลับมาถามตนเองว่ามีวินัยหรือไม่?
จะสายไวรัส ไหนๆ ถ้ามีวินัย รักษาระยะห่าง ไวรัส ทำอะไรเราไม่ได้เด็ดขาด ....และร่วมกับวัคซีนอีกแรง
ดังนั้นการที่กล่าวถึงสายพันธุ์ใหม่จากที่ต่างๆนั้น ในการติด และความรุนแรง
จำเป็นที่ต้อง พิจารณาถึงปัจจัยร่วมอย่างอื่น ในจุดผันแปรย่อยๆของยีนของไวรัสทั้งหมดด้วย ซึ่งเป็นเรื่องซับซ้อน และใช้งบประมาณ
แต่ ที่สำคัญ ต้องประกอบกับลักษณะของมนุษย์ที่ติดเชื้อแต่ละบุคคล พฤติกรรมการรับเชื้อ ปัจจัยด้อยที่ทำให้เปราะบาง และมีการให้การรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ทันท่วงทีหรือไม่
และที่สำคัญยิ่งคือแต่ละคนมีการตอบสนองต่อการติดเชื้อต่างกัน แม้ เพศ อายุ เชื้อชาติ รับเชื้อที่เดียวกัน เจ็บหนัก ตาย ต่างกัน
จะสายไหนๆ ถ้ามีวินัย รักษาระยะห่าง ไวรัส ทำอะไรเราไม่ได้เด็ดขาด ..รับรอง
ถ้าติด จะหนัก จะหายหรือไม่ จึงขึ้นกับ ดวงด้วย (การตอบสนองของแต่ละคน ตามชะตาชีวิต ระดับ ยีน และเหนือยีน)
ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้รวบรวมตัวเลขสถานการณ์การฉีดวัคซีนโควิด-19 (Covid-19) ของประเทศไทยวันที่ 28 ก.พ.-15 มิ.ย.64 จากศูนย์ข้อมูล COVID-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ฉีดสะสมแล้วจำนวน 6,780,816 โดส แบ่งเป็น เข็มที่ 1 จำนวน 4,948,227 ราย และเข็มที่ 2 จำนวน 1,832,589 ราย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :