ผู้เชี่ยวชาญยันวัคซีน "Sinovac" ใช้ได้ ระบุไม่ใช่ทุกคนที่ภูมิขึ้นในระดับที่น่าพอใจ

18 มิ.ย. 2564 | 08:55 น.

ผู้เชี่ยวชาญเผยงานวิจัยการฉีดวัคซีน Sinovac คนไทย ยืนยันสามารถใช้งานได้ ระบุไม่ใช่ทุกคนที่จะมีภูมิขึ้นในระดับที่น่าพอใจ

รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha) โดยมีข้อความว่า 
    หลังจากที่ได้วัคซีนไปแล้วในเวลาอันสมควรเช่น สามถึงสี่สัปดาห์หลังจากฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม ตรวจเลือดถือว่ามีภูมิยับยั้งไวรัสได้ ภูมิอยู่ที่ระดับ 
    = 20%

ระดับภูมิยับยั้งไวรัสที่ "น่าพอใจใช้ได้"
    = 68%
    ในกรอบสีแดงที่เห็นในรูปแสดงว่า คนที่ได้รับวัคซีนครบสองเข็มแล้วระดับของภูมิยังต่ำกว่า 68% ยังมีจำนวนมากพอสมควร 

ผลวิจัยคนไทยหลังฉีดวัคซีน Sinovac
    ข้อมูลที่เห็นในรูป ยืนยันที่ได้กล่าวไปแล้ว ว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีภูมิขึ้นในระดับที่น่าพอใจและจำเป็นต้องมีวินัยสูงอยู่ตลอด
    โดย
    นพ เขตต์ ศรีประทักษ์ 
    สถาบันโรคทรวงอก
    คุณ ซนิดา รุจิศรีสาโรช และคณะ
    นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
    ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่
    คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬา
    สรุปว่า sinovac ใช้ได้ครับ จุดประสงค์ที่ต้องการให้ทุกคนทราบคือ
    แม้ว่าฉีดวัคซีนไปแล้วจะต้องมีวินัยสูงสุด
    สำหรับประเด็นดังกล่าวนี้นั้น สืบเนื่องมาจากก่อนหน้านี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้เคยนำเสนอไปว่าผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน เริ่มพบเห็นปัญหาผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค ครบสองเข็มไปแล้ว สามถึงสี่สัปดาห์มีหลายรายที่ neutralizing antibody ไม่มี หรือที่ สูงเพียง 20-30%
    การวัด ตัดที่ 20% inhibition คือความสามารถในการยับยั้งไวรัสได้ต้องมากกว่า 20% จึงจะถือว่ามีภูมิคุ้มกัน

    และเริ่มมีการรายงายผู้ป่วยโควิด-19 (covid-19) ทั้งๆที่ฉีด Sinovac ครบ 2 เข็ม และ AstraZeneca 1 เข็มแล้ว บางรายที่ติดมีการตรวจวัดภูมิคุ้มกันหลังฉีดแล้วว่าขึ้น แต่ไม่สูงมาก
    ดังนั้นในกรณีที่ภูมิไม่ขึ้นหรือขึ้นน้อยกว่า 68% ซึ่งเป็นตัวเลขในทางทฤษฎีที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันการติด อาจจะต้องพิจารณาถึงการได้รับวัคซีนเข็มที่สามไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อเก่าหรือยี่ห้อใหม่ก็ตาม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :