รายงานข่าวระบุว่า ศาสตราจารย์ นพ.นิธิ มหานนท์ ผอ.โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก Nithi Mahanonda โดยมีข้อความว่า
เห็นพาดหัวสื่อในหลายๆข่าวว่าขอสรุปให้ใหม่ง่ายภาษาง่ายว่าในการจัดสรรวัคซีน Sinopharm ที่เพิ่งดูไปให้ได้แค่คนที่ยื่นความประสงค์มาช่วงสองวันแรกเท่านั้น เมื่อดูครบคาดว่าจะได้หมดทุกบริษัท ในกลุ่มรายชื่อที่สภาอุตสาหกรรมส่งรวมๆกันมาก็จะได้กันหมด เพียงแต่ว่าแต่ละนิติบุคคล(บริษัท)ต้องลงนามในข้อตกลงเอง และโอนเงินเอง เพื่อกำหนดโรงพยาบาลที่ฉีดให้เองด้วย รวมถึงกำหนดการบริจาคและกลุ่มที่ประสงค์จะบริจาคให้ และยังต้อง load ชื่อพนักงาน พร้อมเลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ติดต่อแต่ละคน
ซึ่งสภาอุตสาหกรรมทำเองจะช้าพนักงานจะได้วัคซีนช้าตามไปด้วย ในข้อตกลงมีรายละเอียดมากที่ต้องทำกันเอง ที่สำคัญๆคือทุกบริษัทต้องสัญญาว่าไม่นำไปขายต่อหากำไร(โดนปรับเกือบ20เท่านะครับ และบุคคลที่รับการฉีดก็ต้องยืนยันเป็นรายบุคคลว่าไม่ได้เสียเงินใครเพื่อมารับวัคซีน ……ในที่สุดจะได้รับการจัดสรรวัคซีนทุกบริษัทที่ยื่นขอรับการจัดสรรมาที่เอกสารครบถ้วนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายครับ……ไม่เทใคร
แต่อาจเรียงลำดับตามความสำคัญเพราะวัคซีนมันทะยอยมา(แต่มาตามนัดรวมแล้วในสองเดือนเศาๆต่อไปไม่ต่ำกว่าหกล้านโดสหรือสามล้านคน)ตามนโยบายที่ได้ประกาศไป เข้าใจและเห็นใจว่าทุกบริษัทก็คิดว่าบริษัทตัวเองมีความสำคัญซึ่งก็ใช่ เพราะทุกบริษัทได้หมดตามขอมา……ไม่เทใครครับ มีแต่ผมเองโดนเทเป็นพักๆ
สำหรับรายบุคคลรอกันสักสองสามอาทิตย์นะครับ
และบริษัทที่ติดขัดการเข้ามาลงทะเบียนใจเย็นๆนะครับเจ้าหน้าที่ผมรับโทรศัพท์หูพองไปหมดแล้ว จากการที่มีหลายๆคนโทรมาเพื่อขอแก้ไขรายละเอียดตัวเลขเดิม(อันนี้เสียเวลามากกว่าครึ่งจริงๆครับ) และในส่วนการระบุจำนวนบริจาคกับจำนวนที่ขอจัดสรรช่วยดูให้มั่นใจก่อนส่งด้วย เพราะมากกว่าสิบรายใส่สลับกันซึ่งเราจะให้ปรับลดจำนวนบริจาคได้แต่ไปเพิ่มจำนวนที่ขอจัดสรรไม่ได้เพราะกระทบยอดรวมคนอื่นๆและการขนส่งวัคซีนนะครับ
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" พบว่าประเด็นดังกล่าวมาจากการที่ก่อนหน้านี้มีการนำเสนอข่าวว่า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) จะคืนเงินให้แก่สมาชิก ส.อ.ท.ที่บริจาคเงินเข้าโครงการวัคซีนทางเลือก เนื่องจากวัคซีนซิโนฟาร์มที่ได้รับจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ไม่ครบ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :