รายงานข่าวระบุว่า รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า
สถานการณ์ทั่วโลก 20 มิถุนายน 2564...
บราซิลมียอดเสียชีวิตเกินห้าแสนคนแล้ว ตอนนี้จำนวนติดเชื้อใหม่และเสียชีวิตในแต่ละวันเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อาร์เจนติน่าแซงอิตาลีขึ้นมาเป็นอันดับที่ 8
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 345,605 คน รวมแล้วตอนนี้ 178,934,745 คน ตายเพิ่มอีก 7,555 คน ยอดตายรวม 3,874,678 คน
5 อันดับแรกที่มีจำนวนติดเชื้อต่อวันสูงสุดคือ บราซิล อินเดีย โคลอมเบีย รัสเซีย และอาร์เจนติน่า
อเมริกา เมื่อวานติดเชื้อเพิ่ม 6,837 คน รวม 34,400,767 คน ตายเพิ่ม 161 คน ยอดเสียชีวิตรวม 617,074 คน อัตราตาย 1.8%
อินเดีย ติดเพิ่ม 58,588 คน รวม 29,881,352 คน ตายเพิ่ม 1,239 คน ยอดเสียชีวิตรวม 386,740 คน อัตราตาย 1.3%
บราซิล ติดเพิ่ม 81,574 คน รวม 17,883,750 คน ตายเพิ่มถึง 2,247 คน ยอดเสียชีวิตรวม 500,868 คน อัตราตาย 2.8%
ฝรั่งเศส ติดเพิ่ม 2,624 คน ยอดรวม 5,755,496 คน ตายเพิ่ม 22 คน ยอดเสียชีวิตรวม 110,724 คน อัตราตาย 1.9%
ตุรกี ติดเพิ่ม 5,480 คน รวม 5,365,208 คน ตายเพิ่ม 51 คน ยอดเสียชีวิตรวม 49,122 คน อัตราตาย 0.9%
อันดับ 6-10 เป็น รัสเซีย สหราชอาณาจักร อาร์เจนติน่า อิตาลี และโคลอมเบีย ติดกันหลักพันถึงหลักหมื่น
รัสเซียเป็นระลอกสามมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดติดเพิ่มถึง 17,906 คน
แถบอเมริกาใต้ แอฟริกา เอเชีย อย่างชิลี โบลิเวีย แอฟริกาใต้ แซมเบีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ศรีลังกา เนปาล ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ยังติดกันเพิ่มหลักพัน
แอฟริกาใต้ตอนนี้ระลอกสามขาขึ้นเช่นกัน ยอดติดเชื้อต่อวันสูงพอๆ กับระลอกแรก ล่าสุด 13,575 คน ตายไปเพิ่มถึง 149 คน
แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็มีการติดเชื้อเพิ่ม ส่วนใหญ่อยู่หลักร้อย ยกเว้นคาซักสถาน และมองโกเลียที่ยังหลักพัน
แถบตะวันออกกลาง ประเทศส่วนใหญ่ยังติดเพิ่มหลักร้อยถึงหลักพัน หลายประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น อิรัก คิวบา คูเวต
เกาหลีใต้ ไต้หวัน เวียดนาม และกัมพูชา ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนจีน และสิงคโปร์ ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่ออสเตรเลีย ลาว และฮ่องกง ติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ
ภาพรวมทั่วโลก แม้สัปดาห์ที่ผ่านมานี้มีจำนวนติดเชื้อใหม่ลดลงกว่าสัปดาห์ก่อน 6% และจำนวนการเสียชีวิตลดลง 10% แต่หากดูจำนวนแล้วยังมากโข ติดใหม่กว่า 2.55 ล้านคน ตายเพิ่มกว่า 58,000 คน
หากเจาะลึกตามทวีป จะพบว่าการติดเชื้อใหม่ และจำนวนการเสียชีวิต กลับเพิ่มขึ้นชัดเจนในทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกา และโอเชียเนีย
อัพเดตเกี่ยวกับการระบาดของสายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of concern: VOC)...จาก PANGO lineages 18 มิถุนายน 2564
อัลฟ่า (B.1.17, พบครั้งแรกที่สหราชอาณาจักร) ตอนนี้แพร่ไปแล้ว 138 ประเทศ ยังเป็นสายพันธุ์หลักที่ครองการระบาดอยู่ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แทบทุกทวีปมีการระบาดชะลอตัวลง ยกเว้นทวีปเอเชียที่ตรวจพบมากขึ้นในสิ่งส่งตรวจที่สุ่มตรวจสายพันธุ์
เบต้า (B.1.351, พบครั้งแรกที่แอฟริกาใต้) ตอนนี้แพร่ไปแล้ว 95 ประเทศ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาพบมากขึ้นในทวีปแอฟริกา โอเชียเนีย และเอเชีย ไทยเราก็คงต้องระมัดระวังให้ดี เพราะแพร่ไวกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม และพบว่าดื้อต่อภูมิคุ้มกันจากวัคซีน
แกมม่า (P.1, พบครั้งแรกที่บราซิล) ตอนนี้แพร่ไปแล้ว 55 ประเทศ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่าพบมากขึ้นในแถบโอเชียเนีย อเมริกาเหนือ และยุโรป
เดลต้า (B.1.617.2, พบครั้งแรกที่อินเดีย) ตอนนี้แพร่ไปแล้ว 68 ประเทศ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่าพบมากขึ้นในทุกทวีป นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้องค์การอนามัยโลกออกมาเตือนว่าอาจจะเป็นสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดการระบาดทั่วโลกในไม่ช้า
สำหรับไทยเรา สถานการณ์ระบาดกระจายทั่ว และยังไม่สามารถควบคุมให้ลดลงมาได้
การใส่หน้ากากนั้นจำเป็นมาก ไม่ว่าจะไปพบเจอใคร รู้จักมักจี่กันดีแค่ไหน มีโอกาสที่จะติดเชื้อแพร่เชื้อได้เสมอ ยิ่งหากไปในที่ที่มีคนจำนวนมาก ทั้งในชุมชน รวมถึงสถานพยาบาล หรือสถานบริการฉีดวัคซีน ขอให้ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด
ใส่หน้ากากนะครับ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า...
ด้วยรักและห่วงใย
สวัสดีวันอาทิตย์ครับ
ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้รวบรวมตัวเลขสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 (Covid-19) วันที่ 20 มิถุนายน 2564 จากศูนย์ข้อมูล COVID-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า
มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 3,682 ราย
สะสมระลอกที่สาม 189,268 ราย
สะสมทั้งหมด 218,131 ราย
หายป่วยกลับบ้านได้ 2,401 ราย
สะสม 156,333ราย
เสียชีวิตเพิ่ม 20 ราย
สะสมระลอกที่สาม 1,535 ราย
สะสมทั้งหมด 1,629 ราย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :