ห้องฉุกเฉิน รพ.รัฐใน กทม. เข้าสู่ภาวะวิกฤต "หมอไพโรจน์"แนะเร่งหาทางออกก่อนจะล้ม

23 มิ.ย. 2564 | 06:35 น.

หมอธีระวัฒน์เผยข้อความหมอไพโรจน์ระบุห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลรัฐในกรุงเทพเข้าสู่ภาวะวิกฤต แนะเร่งหาทางออกก่อนจะล้ม

รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha) โดยมีข้อความว่า 
    จากคุณหมอ ไพโรจน์ เครือกาญจนา รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี 
    ต้องหาทางออกแก้ไขให้ได้ครับ  ไม่เช่นนั้น เราจะล้ม
    ขณะนี้ ห้องฉุกเฉินของ รพ.รัฐต่างๆในกรุงเทพฯ เข้าสู่ภาวะวิกฤตครับ อย่างเช่น สถานการณ์เวรบ่าย ER ของ รพ.ราชวิถีวันนี้
    เคส confirmed covid-19 11 เคส + รอ confirm (น่าจะ positive) อีก 3 เคส 
    ห้อง  negative และ พื้นที่แยกของ ER เต็มทั้งหมด (ไม่มีพื้นที่รับเคส covid-19 และ PUI ใหม่แล้ว)                                                                                                                               ซึ่งเราก็คงจะไม่สามารถปฏิเสธหากมีเคสที่ walkin หรือมาโดยระบบ EMS 
    น้อง staff EP ของผม ถามว่า จะขอใช้ รถ negative ของนเรนทร เป็นพื้นที่ดูแลคนไข้กรณีต้องใส่ ETT/ resuscitate ได้ไหมครับ
    พร้อมกันนี้ยังได้โพสภาพที่มีความด้วยว่า
    ปัญหาของห้องฉุกเฉินในปัจจุบัน (๒๒ มิ.ย. ๖๔)
    - วันนี้ ผู้ป่วยฉุกเฉินทุกรายเกือบทุกรายมีความเสี่ยงเป็นโควิดสูงขึ้นมาก ทำให้เกิดการดำเนินการทางการแพทย์ต่างๆจะต้องมีขั้นตอนมากขึ้น
    - จำนวนเตียงว่างที่จะรับผู้ป่วยใน รพ. ตติยภูมิ ขาดแคลนอย่างมาก ทั้ง ICU, Cohort ward, AIR (สำหรับผู้ป่วย Covid ที่มีอาการหนักหรือปานกลาง)
    - มีผู้ป่วยนอนค้างในห้องฉุกเฉินที่ไม่สามารถรับเข้าไปรักษาในวอร์ดได้ ซึ่งมีทั้งที่เป็นโควิด และไม่ใช่โควิด โดยทุกรายต้องรอผลการยืนยัน Covid test
    - ผู้ป่วยรับบริการในห้องฉุกเฉินที่เข้ามาเติมอยู่ตลอด เกิดภาวะแน่นล้นห้องฉุกเฉิน ทำให้บุคลากรต้องเผชิญการะงานต่อเนื่อง เกิดความอ่อนล้าอย่างหนัก
    - การสร้างความเข้าใจของสถานการณ์ ณ ปัจจุบันที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยลดความขัดแย้งและสร้างความเข้าใจระหว่างผู้ป่วย ญาติ และทีมรักษา เช่น การเลือกว่า case ใดที่มีหวังหรือไม่มีหวัง เพื่อที่จะใช้ palliative care หรือ ความคาดหวังในการได้รับบริการทางการแพทย์ที่เกินควร
    - ขาดระบบการจัดการบริหารทรัพยากรระหว่าง รพ.ต่างๆที่มีประสิทธิภาพและทันเวลา

ปัญหาของห้องฉุกเฉินในปัจจุบัน
    ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้รวบรวมตัวเลขสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 (Covid-19) ในประเทศไทยวันที่ 23 มิถุนายน 2564 จากศูนย์ข้อมูล COVID-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า 
    มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 3,174 ราย
    สะสมระลอกที่สาม 199,676 ราย
    สะสมทั้งหมด 228,539 ราย
    หายป่วยกลับบ้านได้ 1,941 ราย
    สะสม 162,351 ราย
    เสียชีวิตเพิ่ม 51 ราย
     สะสมระลอกที่สาม 1,650 ราย
    สะสมทั้งหมด 1,744 ราย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :