วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 ที่ห้องประชุมสำนักงานการท่องเที่ยว จังหวัดนครราชสีมา นายศักดิ์สิทธิ์ สกุลริขเรศสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธาน ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครราชสีมา ผ่านระบบ zoom ไปยังอำเภอต่าง ๆ โดยมีนายแพทย์นายวิชาญ คิดเห็น รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และ นพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย
ที่ประชุมรายงานสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ระลอกใหม่ในพื่นที่จังหวัดนครราชสีมา ว่า วันนี้จังหวัดนครราชสีมาพบมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 125 ราย ในพื้นที่ครบทั้ง 32 อำเภอแล้ว รวมยอดผู้ติดเชื้อระลอกใหม่ 2,117 ราย รักษาหายรวม 1,096 ราย รักษาอยู่โรงพยาบาล 998 ราย และเสียชีวิตเพิ่มอีก 1 ราย รวมผู้เสียชีวิตสะสม 23 ราย
โดยผู้ติดเชื้อรายใหม่พบในพื้นที่ อ.เมืองนครราชสีมา 25 ราย อ.ปากช่อง 13 ราย อ.บัวใหญ่ 9 ราย อ.วังน้ำเขียว 7 ราย อ.โนนสูง 6 ราย อ.เสิงสาง 6 ราย อ.คง 5 ราย อ.ครบุรี 5 ราย อ.ประทาย 4 ราย ส่วนอำเภอละ 3 รายมี 5 อำเภอ คือ ชุมพวง โนนแดง โนนไทย ลำทะเมนชัย และอำเภอละ 2 รายมี 4 อำเภอ นอกนั้นอำเภอละ 1 รายมีด้วยกัน 8 อำเภอ รวมอำเภอใหม่อีก 1 อำเภอ คือ อำเภอเมืองยาง รวมยอดทั้งสิ้น 125 ราย
สำหรับผู้เสียชีวิตโควิด-19 รายที่ 23 ของจังหวัด ลำดับที่ 1,093 อยู่ที่อำเภอด่านขุนทด ตำบลตะเคียน เป็นหญิงไทย อายุ 70 ปี ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว คือ หอบหืด วันที่ 24 มิ.ย. 2564 เข้ารักษา รพ.ด่านขุนทด ผลตรวจพบเชื้อ ส่งต่อ รพ.มหาราชนครราชสีมา วันที่ 11 ก.ค. 64 อาการไม่ดีขึ้นจนถึงแก่กรรม (23.40 น.)
สรุปความเสี่ยง/ประวัติสัมผัส เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง กทม. 33 ราย นครปฐม 7 ราย นนทบุรี 1 ราย ปทุมธานี 6 ราย ลพบุรี 1 ราย สมุทรปราการ 9 ราย สมุทรสาคร 4 ราย สระบุรี 1 ราย อยุธยา 1 ราย ส่วนการรับผู้ป่วยจากสมุทรปราการกลับมารักษา 4 ราย สัมผัสผู้ป่วย COVID-19 จำนวน 55 ราย อยู่ระหว่างสอบสวน 3 ราย
ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา นพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการ รพ.มหาราชนครราชสีมา รายงานสถานการณ์ว่า ปัจจุบัน รพ.มหาราชฯได้เพิ่มจำนวนเตียง และมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มทุกวัน ปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยจำนวน 210 เคส/ราย
ที่สำคัญเป็นเคสผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจอยู่ 21 ราย หรือ 10 % เรียกว่ามีสักส่วนค่อนข้างมาก จากตัวเลขคนที่เป็นระลอกนี้ คือ 2,100 คน
ส่วนคนไข้ที่มีอาการปอดอักเสบที่ต้องใช้เครื่องออกซิเจนแรงดันสูง 23 ราย หรืออีกประมาณ 10% ของจำนวนเคสทั้งหมด และเคสน่ากังวลมีประมาณ 44 เคส หรือประมาณ 20% ส่วนคนไข้ที่มีอาการของปอดอักเสบมีทั้งหมดตอนนี้ 110 ราย หรือ 55% และสุดท้ายคนไข้ที่มีอาการเล็กน้อยอีก 43 รายที่ต้องช่วยกันดูแล
ประการสำคัญคือ ทั้งหมด 21 เคส เป็นผู้ป่วยเด็ก 24 ราย และผู้ป่วยผู้ใหญ่ 186 ราย ส่วนเคสผู้ป่วยที่เสียชีวิตรายที่ 23 มีความเสี่ยง 2 เรื่องคือ 1.อายุที่มากกว่า 60 ปี และ 2.คนไข้เป็นโรคหอบหืด ที่ต้องใช้ยาเป็นประจำ ก็คือเป็นกลุ่มเปราะบาง 60 ปี 7 กลุ่มโรคเรื้องรัง
โดย 23 เคสที่เสีนชีวิตของ จ.นครราชสีมาทุกเคสมีความเสี่ยง ไม่ว่าอายุมาก หรือ 7 โรคเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคอ้วน ซึ่งต้องเรียนว่า สถานการณ์ตอนนี้ต้องเพิ่มการตรวจเชิกรุกให้ได้มากที่สุด ตอนนี้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มวันละร้อย แต่รักษาหายวันละ 20-30 คน ฉะนั้นสะสมมากขึ้นแน่นอน นพ.เจษฏ์ฯกล่าว.
สำหรับผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาลสนามจังหวัดนครราชสีมา ที่อาคารชาติชายฮออล์ และลิปตพัลลภ ฮออลล์ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ จำนวนผู้ป่วยเข้ารับการรักษา รวม 117 ราย จำนวนผู้ป่วยที่จำหน่าย 12 ราย จำนวนผู้ป่วยที่รักษาอยู่ 105 ราย เป็นชาย 59 รายและหญิง 46 ราย ส่วนจำนวนเตียงทั้งหมด 232 เตียง คงเหลือเตียง 147 เตียง
ขณะที่การฉีดวัคซีนของ รพ.นครราชสีมา ที่ห้องโคราชฮอลล์ ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า โคราช บรรยากาศการฉีดวัควีน แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ยังคงทำการฉีดวัคซีนชิโนแวตและแอสต้าเซนนิก้า ให้กับพี่น้องประชาชน ผู้สูงอายุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็ญพากันมาฉีดอย่างคึกคัก โดยฉีดทั้งเข็มแรก และเข็มที่ 2