รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความว่า
อย่างน้อย คนป่วยที่หา รพ เข้าไม่ได้ ควรได้แจกยา favipiravir ไปกินที่บ้านก็ยังดี ไข้สูง ปอดบวมแล้ว ไม่มีเตียง
รพ สนามเดือนที่แล้ว สีเขียว สีเหลือง อาการนั้อยได้ยาหมด ตอนนี้ สีแดง แล้ว กิน พารา
ตอนนี้ ขอฟ้าทะลายโจร กระชายขาว น้ำมันกัญชา อ เดชา ยาฆ่าพยาธิ 12 มก วันละครั้ง 5 วัน อย่างน้อย ปะทะไว้ก่อนตอนอาการน้อย ก็ยังดี
สำหรับประเด็นดังกล่าวก่อนหน้านี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้เคยนำเสนอบทความของพล.อ.ท.อนุตตร จิตตินันทน์ (หมออนุตตร) ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ที่โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (Anutra Chittinandana) โดยมีข้อความว่า สถานการณ์แนวโน้มเรื่องการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยโควิด 19 (Covid-19) ตั้งแต่หลังสงกรานต์จนสิ้นเดือนมิถุนายน 2564 ผู้ป่วยนอน รพ.และ รพ.สนาม ที่เพิ่มขึ้นในช่วงแรก ขึ้นสูงสุดในช่วงต้นเดือนมิถุนายน แล้วลดลงช่วงหนึ่ง แต่ในช่วง 10 วันที่ผ่านมากำลังพุ่งสูงขึ้นอย่างเร็วมาก จนใกล้เคียงกับจุดสูงสุดตอนต้นเดือนที่ประมาณ 5 หมื่นราย และดูมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นเป็นผู้ป่วยที่รับไว้ใน รพ. แต่ผู้ป่วยใน รพ.สนามดูคงที่ จนตอนนี้ยอดผู้ป่วยนอน รพ.มีจำนวนใกล้เคียงกับผู้ป่วย รพ.สนามแล้ว
ผู้ป่วยอาการหนักและใช้เครื่องช่วยหายใจ (ภาพที่ 2) ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแรก แล้วคงที่มาตลอดตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนมิถุนายน จนในช่วง 2 สัปดาห์หลังมีจำนวนผู้ป่วยอาการหนักเพิ่มขี้นจากประมาณ 1,200 รายเป็นเกือบ 2,000 ราย โดยผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจเพิ่มขึ้นได้ไม่มากนัก จากประมาณ 400 รายเป็น 550 ราย น่าจะเป็นเพราะเตียงสำหรับผู้ใช้เครื่องหายใจแน่นมากจนเต็มศักยภาพแล้วในบางพื้น
ส่วนสถานการณ์ตัวเลขการรักษาตัวของผู้ป่วยโควิดในประเทศไทยวันที่ 1 มิถุนายน 2564 พบว่า มีจำนวน 52,052 ราย แบ่งเป็น อยู่ในโรงพยาบาล 24,454 ราย และอยู่ในโรงพยาบาลสนาม 27,598 ราย โดยในจำนวนดังกล่าวทั้งหมดเป็นผู้ป่วยอาการหนัก 1,971 ราย และใส่เครื่องช่วยหายใจ 566 ราย