น่าห่วง บุคลากรการแพทย์ติดโควิด-19 กว่า880 ราย เสียชีวิต 7 ราย

11 ก.ค. 2564 | 14:57 น.
อัปเดตล่าสุด :11 ก.ค. 2564 | 22:01 น.

กรมควบคุมโรค เผยตัวเลข บุคลากรการแพทย์ด่านหน้าสุดเสี่ยง ติดโควิด-19 กว่า 880 ราย เสียชีวิต 7 ราย เผยส่วนใหญ่ฉีดวัคซีนแล้ว เตรียมเสนอฉีดบูสเตอร์ เข็ม3แอสตร้า-ไฟเซอร์ พรุ่งนี้

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรคแถลงข่าวประเด็นการติดเชื้อของโควิดของบุคลากรทางการแพทย์ ว่าการได้วัคซีน 2 เข็มเพียงพอหรือไม่ เรื่องนี้ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการวิชาการ ภายใต้พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันวิทยา ไวรัสวิทยา โรคติดเชื้อ มีความเห็นพ้องต้องกันว่า การฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม มีข้อมูลสนับสนุนว่าภูมิคุ้มกันจะลดลง หลังจากที่ฉีดไประยะหนึ่ง 

น่าห่วง บุคลากรการแพทย์ติดโควิด-19 กว่า880 ราย เสียชีวิต 7 ราย

จึงเป็นที่มาที่เสนอให้ฉีดกระตุ้น ถือเป็นการฉีดเข็มที่ 3 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่มีความเสี่ยง เป็นการฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีนที่แตกต่างจากชนิดแรก อาจเป็นไวรัลแวคเตอร์/แอสตร้าฯ หรือ mRNA ซึ่งไม่นานไทยน่าได้รับการบริจาคจากไฟเซอร์ ข้อเสนอคณะกรรมการวิชาการจะนำไปสู่การพิจารณาของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติในวันพรุ่งนี้ (12 ก.ค.)

ทั้งนี้นับตั้งแต่มีการการระบาดใน เดือน เม.ย.-10 ก.ค. มีบุคลากรทางการแพทย์ติดโควิด 880 ราย จากทั้งหมดราว 700,000 คน ในจำนวนผู้ติดเชื้อ 880 ราย ในจำนวนนี้ ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน 19.7% หรือ 173 ราย  

 

ในจำนวนผู้เสียเสียชีวิตทั้ง  7 ราย ไม่ได้รับวัคซีน จำนวน 5 ราย  ได้รับซิโนแวค 1 เข็ม จำนวน 1 ราย (เริ่มป่วยหลังฉีดเข็ม 2 เพียงวันเดียว) ได้รับซิโนแวค 2 เข็ม จำนวน 2 ราย

 

ส่วนการฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ต้องมีเตรียมการ ทั้งการจัดสรรวัคซีนเพิ่มเติม ระบบการส่งวัคซีนไปยังหน่วยงาน หลังคณะกรรมการโรคติดต่อมีมติเห็นชอบวันจันทร์ 12 ก.ค.ก็สามารถดำเนินการได้เลย แต่อาจต้องสำรวจจำนวนก่อน โดยเน้นที่บุคลากรด่านหน้าเป็นกลุ่มแรก แล้วกลุ่มอื่นๆ จะตามมา