ธปท.ห่วงบาทแข็ง เร่งปรับเกณฑ์ FCD

14 ก.ค. 2563 | 11:10 น.

ธปท.จ่อออกประกาศ เกณฑ์บัญชีเงินฝากสกุลต่างประเทศหรือ FCD เปิดทางผู้ค้าทองคำและ TFEX ซื้อขายเป็นสกุลเงินดอลลาร์

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้ออกประกาศมาตรการอนุญาตให้คนไทยลงทุน ทองคำ ผ่านบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD) ที่เปิดกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศ โดยสามารถเก็บเงินตราต่างประเทศจากการขายทองคำไว้ในบัญชี FCD โดยไม่ต้องแลกเป็นเงินบาท และสามารถใช้เงินสกุลต่างประเทศซื้อขายทองคำในครั้งต่อไปได้ หลังจากถูกมองว่า การส่งออกทองคำ และการแลกเปลี่ยนเงินทำให้ "เงินบาท" เกิดการแข็งค่าขึ้น  

นายวิรไท  สันติประภพ  ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เปิดเผย ธปท.พยายามสร้างระบบนิเวศน์หรือ อีโคซิสเต็ม เพื่อรองรับการทำธุรกรรมให้มีการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ ในรูปของสกุลเงินต่างประเทศ เพื่อที่จะลดแรงกดดันต่อตลาดอัตราแลกเปลี่ยน โดยไม่จำเป็นและไม่ให้กระทบภาคเศรษฐกิจจริง

ธปท.ห่วงบาทแข็ง เร่งปรับเกณฑ์ FCD

โดยเฉพาะการสนับสนุนการซื้อขายทองคำที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนให้ทำธุรกรรมเป็นสกุลเงินต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาหลายสถาบันการเงินได้ร่วมทำงาน กับธปท. เพื่อปรับกลไกบัญชีเงินฝากสกุลเงินต่างประเทศใหม่(FCD) เพื่อทำให้ ง่ายขึ้นสะดวกขึ้น ไม่ต้องมีหลายประเภท

 

"ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน เงิน บาทอ่อน ค่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับสกุลเงินในภูมิภาค และหลายช่วงเวลา เงิน บาทแข็ง ค่าค่อนข้างเร็ว เมื่อเทียบกับสกุลเงินในประเทศภูมิภาค สะท้อนให้เห็นว่า เราไม่ได้บริหารอัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่ในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเพียงด้านเดียว”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ธปท. ฟันธง เศรษฐกิจไทย พ้นจุดต่ำสุดแล้ว

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทปิดอ่อนค่า ตลาดกังวลการระบาดของโควิดในประเทศ

 

ส่วนการสร้างอีโคซิสเต็มนั้นก็ มีหลากหลายทั้งตลาดทุน  ,ผู้ให้บริการและสถาบันการเงินเพราะ สถาบันการเงินจะต้องปรับกลไกบัญชี FCD ใหม่ ซึ่งในอีกไม่นานจะประกาศให้บัญชี FCD สนับสนุนธุรกรรมซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการลงทุนที่ใช้เงินตราต่างประเทศ

ด้านนายเมธี  สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ที่ผ่านมาธปท.ได้หารือกับสถาบันการเงิน  ผู้ค้าทองรายใหญ่รวมทั้งตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) เพื่อให้วางระบบการซื้อขายทองคำออนไลน์ และพื่อทำเป็นสัญญาดอลลาร์ รวมถึงการส่งออกทองคำเป็นสกุลเงินดอลลาร์

ธปท.ห่วงบาทแข็ง เร่งปรับเกณฑ์ FCD

อย่างไรก็ตาม ภายใต้สถานการณ์โควิด นอกจากทำให้รายได้จากภาคการท่องเที่ยวหายไปแล้ว ในส่วนส่งออกก็มีปัญหา  เห็นได้จากช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มลดลงจากเดิมที่เคยเกินดุล 2,000 -3,000 ล้านบาทต่อเดือน โดยในเดือนพฤษภาคม ปรับลงสมดุลและด้านเงินทุนเคลื่อนย้ายยังเห็นตัวเลข นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้น ขณะที่พันธบัตร ติดลบประมาณ 1 หมื่นล้านบาทจากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ธปท.ห่วงบาทแข็ง เร่งปรับเกณฑ์ FCD

"แรงกดดันทั้ง 2 ปัจจัยน้อยลง ทั้งเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่น้อยลงและเงินทุนเคลื่อนย้ายลดลงมาก แต่มีปริมาณธุรกรรมบางมาก  ขณะที่การเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างคลื่อนไหวเร็ว  แม้ว่ามีบางบริษัทส่งเงินออก และส่งเงินเข้า ซึ่งจะเป็นลักษณะนี้ไปจนกว่าสถานการณ์ของโควิคจะดีขึ้น"