ธปท.ชี้ เศรษฐกิจไทยฟื้นแบบ “เครื่องหมายถูก แต่หางยาว”

20 ก.ค. 2563 | 05:43 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ก.ค. 2563 | 12:15 น.

ธปท.ย้ำ เศรษฐกิจไทยค่อยๆฟื้นแบบ “เครื่องหมายถูก แต่หางยาว” ขณะที่ภาคการเงินไทยแกร่งไม่จำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือจากIMF

สัมมนาวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคประจำปี 2563 ในหัวเรื่อง "ชวนคุยชวนคิดปรับวิถีธุรกิจท้องถิ่น ในโลกใหม่อย่างยั่งยืน"

นายวิรไท  สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวในเวทีสัมมนาวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาค ประจำปี 2563ในช่วง สนทนากับผู้ว่า "ก้าวต่อไป ทิศทางเศรษฐกิจหลังยุคโควิดภิวัฒน์" โดยผู้ว่าธปท.ระบุว่า ช่วงนี้เป็นช่วงของการเข้าสู่ช่วงการปฎิรูปอย่างจริงจัง เพราขณะนี้เป็นสภาวะวิกฤต ที่เกิดจากด้านสาธารณสุข ที่ใช่เพียงเฉพาะประเทศไทย แต่รวมถึงทั่วโลก

ธปท.ชี้ เศรษฐกิจไทยฟื้นแบบ “เครื่องหมายถูก แต่หางยาว”

แม้วันนี้ จะสามารถเข้าสู่ช่วงที่3 โดยสามารถควบคุมการระบาดของโควิดจนผ่านช่วงที่2 มาได้ด้วยความร่วมมือทุกฝ่ายกับการอยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ แต่การ์ดยังตกไม่ได้เพราะถานการณ์หลายประเทศยังมีการติดเชื้อจากการแพร่ระบาดของโควิดฉะนั้น"การ์ดอย่าตก"

ทั้งนี้จากที่ประเทศไทยเข้าสู่ช่วงที่3 ได้เร็ว ขณะที่ประเทศอื่นยังออกจากล็อกดาวน์ไม่ได้ ซึ่งป็นโอกาสมาคิดเรื่องการฟื้นฟูและปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยมุมมองของธปท.ต่อเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่2 เศรษฐกิจต่ำสุดและผ่านพ้นมาได้ เพราะไตรมาส 2 เป็นช่วงกิจกรรมทางเศรษฐกิจชะงักหยุดทั่วโลก จากทุกประเทศดำเนินมาตรการล็อกดาวน์ ภาคส่งออกสินค้าไม่สามารถส่งออกหรือส่งออกไป ขณะที่ประเทศปลายทางไม่สามารถกระจายสินค้า

 

สถานการณ์ดังกล่าว ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะงักงั้น ซึ่งในแง่ตัวเลขเศรษฐกิจก็สอดคล้องกับหลายประเทศ แต่หลังไตรมาส 2 ธปท.ประเมินว่า ถ้าไม่มีการระบาดของโควิดรุนแรง หรือแม้จะควบคุมโควิดได้แต่เศรษฐกิจไทยจะค่อยๆ ฟื้นตัวไม่เร็ว โดยจะเป็นลักษณะเครื่องหมายถูก แต่หางยาง คาดว่า จะใช้เวลา 2ปีกว่า จะปรับไปอยู่ระดับช่วงก่อนโควิด

 

อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้เกิดวิกฤตพร้อมกันทั่วโลก แต่ภาคเศรษฐกิจมหภาคและด้านการเงินไทยไม่ได้มีปัญหา ซึ่งทุกคนยังจำได้วิกฤติปี 2540 และวิกฤกติแฮมเบอร์เกอร์ กลไกกำกับและบริหารความเสี่ยงที่เข้มแข็งในภาคสถาบันการเงิน ดังนั้นทำให้วิกฤติครั้งนี้ จึงผสานนโยบายและทุกเครื่องมือ เพราะไม่มีเครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่งจะนำมาใช้

“ครั้งนี้สามารถดำเนินนโยบายการเงินอัตราดอกเบี้ยต่ำ 0.50% ต่อปี ให้ภาคธุรกิจลดต้นทุนและสถาบันการสามารถช่วยพักหนี้และปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้ลูกค้า โดยที่ภาครัฐก็ออกมาตรการต่างๆมา เพราะครั้งนี้ภาคเศรษฐกิจจริงถูกกระทบแรงไม่แพ้ปี 2540”

 

อย่างไรก็ตาม ภาคการเงินไทยเป็นจุดแข็งของเรา จึงไม่มีความจำเป็นที่จะขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) ซึ่งมีข้อสังเกตุต่างประเทศ จะเห็นว่า  มีการขอรับความช่วยเหลือจาก IMF แล้ว 102 ประเทศเกินครึ่งจากที่มีสมาชิกอยู่ 194-195 ประเทศ