ธปท.ประเมินสินเชื่อโต 5% เอ็นพีแอลขยับ มั่นใจแบงก์ตุนเงินทุนสำรองรับมือ

16 พ.ย. 2563 | 21:20 น.

ธปท.เผยไตรมาส 3แบงก์พาณิชย์กำไรร่วง48%เหตุกันสำรอง พร้อมช่วยเหลือลูกหนี้ หลังเห็นเอ็นพีแอลขยับ

ธปท.ประเมินปีนี้สินเชื่อโต 5%ชี้ทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวได้  แจงช่วง 9เดือนแรกความต้องการใช้วงเงินเพิ่ม 3.9% ส่วนเอ็นพีแอลขยับ มั่นใจแบงก์ช่วยเหลือเต็มที่ชะลอการเสื่อมลงของคุณภาพสินเชื่อ ขณะที่ยอดคงค้างรับความช่วยเหลือเฉพาะในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ลดเหลือ 26%ของสินเชื่อรวม จากเดือนมิ.ย.อยู่ที่ 31%

ธปท.ประเมินสินเชื่อโต 5% เอ็นพีแอลขยับ มั่นใจแบงก์ตุนเงินทุนสำรองรับมือ

นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)  เปิดเผยว่า ภาพรวมสินเชื่อมีแนวโน้มค่อยๆปรับตัวดีขึ้น  โดยคาดว่าไตรมาสสุดท้ายเมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจเปิดและแนวโน้มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบน้อยลง ซึ่งความต้องการสินเชื่อน่าจะดีขึ้นกว่าไตรมาส 2 และไตรมาส 3ที่ผ่านมา โดยทั้งปีนี้สินเชื่อน่าจะขยายตัว3-5%จากช่วง 9เดือนแรกของปีนี้ขยายตัว 3.9% และน่าจะดีกว่าปี2562 ที่ขยายตัวเพียง 2% โดยทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่ออุปโภคบริโภคน่าจะขยายตัวได้ทั้งคู่  เช่น ภาคบริการ ก่อสร้าง 

ธปท.ประเมินสินเชื่อโต 5% เอ็นพีแอลขยับ มั่นใจแบงก์ตุนเงินทุนสำรองรับมือ
สำหรับไตรมาส 3 ที่ผ่านมาสินเชื่อขยายตัว 4.6% ชะลอลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ระดับ 5%เห็นได้จากสินเชื่อธุรกิจขยายตัว 4.5%เนื่องจากธุรกิจขนาดใหญ่บางส่วนระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้และหุ้นเพิ่มทุนแทนการใช้สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ส่วนสินเชื่อ SME ตัวในอัตราที่ลดลงจากผลของมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำหรือซอฟต์โลนและการทยอยฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ(ธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อต่ำกว่า 500ล้านบาทติดลบ3% ส่วนธุรกิจที่วงเงินสินเชื่อเกิน 500ล้านบาทขยายตัว10.8%ลดลงจากไตรมาสก่อนที่13%)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

-ธปท.ยัน ระบบธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งยังแข็งแกร่ง !

-“ทรีนีตี้” คาดกำไรหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 4 แนวโน้มลดลง

-อยากทำธุรกิจ เช็กที่นี่ "สินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์" ธ.ก.ส. ให้กู้สูงสุด 10 ล้านบาท

-กู้อย่างไรให้ผ่านส่องเงื่อนไข"สินเชื่อฉุกเฉิน"ธ.ออมสิน วงเงินกู้สูงสุด 5 หมื่นบาท ดอกเบี้ย 0.35%

-เช็กที่นี่ "สินเชื่อกรุงไทย Smart Money" กู้ 1 ล้านบาท ไม่ใช้คนค้ำประกัน


 

ส่วนสินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวที่ 4.8%เท่ากับไตรมาสก่อนหน้า โดยมาจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยขยายตัว 5.4%เพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ของที่อยู่อาศัยแนวราบที่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนอยู่ที่4.4%สินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัว 5.6%จากไตรมาสก่อนอยู่ที่ 7.8%ส่วนสินเชื่อเช่าซื้อขยายตัว 3.5%และสินเชื่อบัตรเครดิตกลับมาขยายตัว 1% จากเดิมติดลบ 0.7% ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา

ธปท.ประเมินสินเชื่อโต 5% เอ็นพีแอลขยับ มั่นใจแบงก์ตุนเงินทุนสำรองรับมือ ธปท.ประเมินสินเชื่อโต 5% เอ็นพีแอลขยับ มั่นใจแบงก์ตุนเงินทุนสำรองรับมือ
ด้านคุณภาพสินเชื่อปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยโดยยังคงได้รับผลจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และการปรับโครงสร้างหนี้ซึ่งช่วยชะลอการเสื่อมลงของคุณภาพสินเชื่อคุณภาพสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นไตรมาส 3/2563 ยังคงได้รับผลจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และการผ่อนปรนเกณฑ์การจัดชั้นลูกหนี้ โดยยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ ( NPL หรือ stage 3) อยู่ที่ 513.9 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ 3.14% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเทียบกับไตรมาสก่อนที่ 3.09%  ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม (Significant Increase in Credit Risk: SICR หรือ stage 2) อยู่ที่7.03% ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ 7.49% 
"เอ็นพีแอลคงทะยอยเพิ่มขึ้น แต่แบงก์พยายามให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ซึ่งยอมรับว่ากลุ่ม SME ส่วนลูกหนี้ที่ไม่สามารถติดต่อได้หรือหาตัวไม่เจอ 6%นั้นไม่ใช่ว่าทั้ง 6%จะกลับมาเป็นเอ็นพีแอล"

นางสาวสุวรรณี   เจษฎาศักดิ์กล่าวถึง การให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ของระบบธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐและนันแบงก์ที่ผ่านมาสัดส่วนหนี้ที่ขอรับความช่วยเหลือปรับลดลงในไตรมาสนี้เนื่องจากลูกหนี้บางรายกลับมาชำระหนี้ได้หลังมาตรการทยอยสิ้นสุดโดยลูกหนี้คงค้างจำนวน 11.97ล้านบัญชีจำนวน มูลหนี้6.65ล้านล้านบาท โดยเฉพาะลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์คงเหลือ 3.78ล้านล้านบาทหรือคิดเป็น 26% ของสินเชื่อรวมลดลงจาก 4.5 ล้านล้านบาทหรือ 31%ของสินเชื่อรวมเมื่อเดือนมิถุนายน 2563 โดยเฉพาะสินเชื่อรายย่อยที่ปรับลดลงและกลับมาชำระหนี้ได้ปกติ

อย่างไรก็ตามธนาคารพาณิชย์มีการกันสำรองอย่างต่อเนื่อง  ทำให้เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) อยู่ในระดับสูงที่19.8%อัตราส่วนเงินสำรองที่มีอยู่ต่อเอ็นพีแอล (NPL Coverage Ratio)149.7% อัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับกระแสเงินสดที่อาจไหลออกในภาวะวิกฤต(LCR)184.9%และอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ 93.0%

ทั้งนี้ ไตรมาส 3 ปีนี้ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรจากการดำเนินงาน9หมื่นล้านบาท ลดลง 14.3%จากไตรมาสก่อน และกำไรสุทธิ 5.73หมื่นล้านบาทลดลง 48.4%ซึ่งเป็นผลจากธนาคารพาณิชย์กันสำรองในระดับสูงอย่างต่อเนื่องรวมถึงแนวโน้มในระยะต่อไป
สำหรับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (ROA) ลดลงมาอยู่ที่ 0.52% จากไตรมาสก่อนที่ 0.60% และอัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ดอกเบี้ยเฉลี่ย (NIM) ลดลงมาอยู่ที่ 2.55 จากไตรมาสก่อนที่ 2.60 ซึ่งเป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อที่ลดลงเป็นสำคัญ