มีประชาชนสนใจในประเด็นมาตรการเยียวยารอบ 2 โดยเฉพาะกลุ่มลูกจ้างผู้อยู่ในระบบ “ประกันสังคมมาตรา33” บางส่วนต่างพากันตัดพ้อว่าหมดสิทธิ์ลงทะเบียนโครงการเราชนะ ทางเว็บไซต์ www.เราชนะ.com เพื่อขอรับสิทธิ์รับเงินเยียวยา 3500 บาท ต่อคน เป็นเวลา 2 เดือน รวม 7000 บาท
จากกรณีที่ คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. วันที่ 19 มกราคม 64 ได้อนุมัติมาตรการเยียวยาที่ กระทรวงการคลัง ที่นำเสนอให้พิจารณาภายใต้ชื่อโครงการ "เราชนะ" มาตรการดังกล่าวเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา2019 หรือ โควิด-19 จำนวน 31.1 ล้านคน วงเงิน 7,000 บาท เป็นระยะเวลา 2 เดือน
เพราะจากข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 19 มกราคม 2564 กระทรวงการคลัง ระบุชัดเจนว่าวัตถุประสงค์ โครงการ "เราชนะ" เพื่อให้ความช่วยเหลือด้วยการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
โดยจะสนับสนุนวงเงินช่วยเหลือให้แก่ประชาชน จำนวนประมาณ 31.1 ล้านคน วงเงินไม่เกิน 3,500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือน สำหรับเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2564 วงเงินโครงการรวม 210,200 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถเริ่มสนับสนุนวงเงินให้แก่ผู้ได้รับสิทธิ์ ผ่านแอปพลิเพคชั่นเป๋าตัง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตร คนจน ซึ่งไม่ใช่เป็นการให้เงินสด ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564
โดยวงเงินช่วยเหลือเพื่อลดภาระค่าครองชีพ ให้นำไปแสกนใช้จ่ายสำหรับการอุปโภคบริโภคและบริการ อันจะก่อให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไปในคราวเดียวกัน ซึ่งกระทรวงการคลังระบุชัดเจนว่า กลุ่มคนที่ไม่ได้สิทธิ์ในโครงการเราชนะแน่นอน ได้แก่
- ผู้มีอายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์
- เป็นผู้ประกันตน ม.33
- เป็นเจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานรัฐ ข้าราชการการเมือง และผู้รับบำนาญหรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ
- เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินเกิน 300,000 บาท ตามฐานข้อมูลล่าสุด
- เป็นผู้มีเงินเงินฝากเกิน 500,000 บาท ตามฐานข้อมูลล่าสุด
นั่นก็เป็นสิทธิ์ในโครงการเราชนะ ทีนี้มาดูสิทธิ์ของลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนในมาตรการ 33 บ้าง ว่า ในเมื่อไม่ได้สิทธิ์ลงทะเบียนในเว็บไซต์ www.เราชนะ.com แล้ว แล้วเขาได้สิทธิ์อะไรบ้างหรือไม่
ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบข้อมูลจากกระทรวงแรงงาน และสำนักงานประกันสังคม พบว่า แม้ว่ากลุ่มประกันสังคมมาตรา 33 จะไม่ได้รับสิทธิ์ในโครงการเราชนะที่จะเปิดลงทะเบียนในช่วงปลายเดือนมกราคมนี้ แต่ทว่ากลุ่มผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ทั้งที่ยังมีงานทำและตกงาน ได้สิทธิ์ในการเยียวยาอยู่แล้วโดยอัตโนมัติ ที่มีการเสนอขอความเห็นชอบจากมติครม.ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2564 ดังนี้
- ลดหย่อนเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ลูกจ้าง-นายจ้าง เหลือร้อยละ 3 ตั้งแต่ ม.ค.-มี.ค. 64
- กรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินชดเชยร้อยละ 70 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 200 วัน ซึ่งได้เพิ่มจากเดิม ที่ได้เพียงร้อยละ 50 หรือ ปีละไม่เกิน 180 วัน
- การว่างงานจากการลาออก ได้รับเงินชดเชย ร้อยละ 45 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 90 วัน ซึ่งได้เพิ่มจากเดิมอยู่ที่ร้อยละ 30 หรือ ไม่เกิน 90 วัน
- การว่างงานจากเหตุสุดวิสัย ซึ่งหมายถึงมาจากการประกาศของทางราชการที่สั่งปิดพื้นที่ฯ หรือหยุดการปฏิบัติงานในโรงงานต่างๆ จะได้รับเงินชดเชย ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วัน
- การหยุดกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด นายจ้างต้องจ่ายเงินให้กับลูกจ้างไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 ของค่าจ้าง ก่อนหยุดการจ้างเป็นการชั่วคราว
แต่ทั้งนี้ ตามมติครม. 19 มกราคม 64 ยกเว้นไว้สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 หากเป็นผู้มีรายได้น้อยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตคนจน อยู่ด้วย จะได้รับการโอนเงินจากโครงการเราชนะ 3500 บาท เป็นเวลา 2 เดือน เข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐโดยอัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องลงทะเบียนผ่าน www.เราชนะ.com
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"เราชนะ" มติครม.ล่าสุด 31.1 ล้านคนเฮ ได้สิทธิเงินเยียวยา 5 กลุ่มถูกตัดสิทธิ
‘เราชนะ’ (บางเรื่อง) แต่ระวังแพ้ ในเรื่องใหญ่
“เราชนะ” เช็กเงินฝากพบ 3 ล้านบัญชี หมดสิทธิรับเงินเยียวยา3500
อัพเดท"เราชนะ" เงินเยียวยา 3500 บาท กลุ่มไหนรอรับอัตโนมัติ-กลุ่มไหนต้องลงทะเบียน www.เราชนะ.com
เคาะ“เราชนะ” โอนเข้า"เป๋าตัง" สัปดาห์ละ 1000 บาท ไม่จ่ายเงินสด