ผู้ว่าฯอุดรประกาศยกระดับคุมโควิด-19 ให้ ปชช.สวมหน้ากากอนามัยฝ่าฝืนปรับ 2 หมื่น ห้ามข้าราชการออกนอกพื้นที่ รับมือการแพร่เชื้อโควิดที่ยังเพิ่มไม่หยุด เตรียมรพ.สนามแล้วกว่าพันเตียง
ผู้สื่อข่าว”ฐานเศรษฐกิจ”อุดรธานี รายงานว่า สถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด19 โดยภาพรวมของจังหวัดอุดรธานี ยังมีอัตราพบผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกวัน คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อโ ดยผู้ว่าราชการจังหวัด ประกาศเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยหลายฉบับ ทั้งให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกจากบ้านทุกครั้ง ฝ่าฝืนมีโทษปรับ 2 หมื่นบาท ห้ามข้าราชการเดินทางออกนอกพื้นที่ ขณะที่การจัดเตรียมโรงพยาบาลสนาม ก็ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ เอกชน วัด มอบพื้นที่ให้ใช้เป็นที่ตั้งโรงพยาบาลสนามแล้วกว่า 1000 เตียง พร้อมกันนี้พ่อค้า ประชาชนแสดงความมีน้ำใจห่วงใยผู้ติดเชื้อ พากันหลั่งไหลบริจาคสิ่งของเครื่องใช้ อุปกรณ์การแพทย์ น้ำ อาหารแห้งสิ่งของเครื่องใช้ อาหารปรุงสุกมากมาย
สถานการณ์การการแพร่ระบาดโรคโควิค19 ของอุดรธานีในรอบเดือนเมษายน 2564 ล่าสุดเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 64 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่สะสมในพื้นที่อุดรธานีจำนวน 270 คน กลับบ้านแล้ว 16 คน ไม่มีผู้เสียชีวิต แต่น่าเป็นห่วงที่ยังมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกวัน พื้นที่อำเภอเมืองอุดรธานีมากที่สุด 166 คน อ.กุมภวาปี 29 ราย เพ็ญ 17 รายหนองหาน 15 ราย โนนสะอาด 5 ราย หนองแสง 5 ราย วังสามหมอ บ้านผือ 3 ราย สร้างคอม น้ำโสม แห่งละ 2 ราย ไชยวาน 1 ราย อำเภอที่ยังไม่พบผู้ติดเชื้อมี นายูง กุดจับ ศรีธาตุ พิบูลย์รักษ์ ทุ่งฝน และบ้านดุง
นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอุดรธานี ออกประกาศมาตรการเพิ่มเติม เมื่อ 22 เม.ย. 2564 เรื่อง ให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี สวมหน้ากากอนามัยหรือ หน้ากากผ้า กำหนด ให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ต้องสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าทุกครั้ง ตลอดเวลาที่ออกนอกบ้าน เคหะสาน หือสถานที่พักของตน และมีกิจกรรมที่ต้องสัมผัส หรือเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ เป็นความผิดตามมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท โดยมีผลบังตับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 เม.ย.2564 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ยังมีประกาศลงวันที่ 23 เม.ย.2564 เรื่องห้ามข้าราชการและบุคลากรภาครัฐออกนอกพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ด้วยเหตุผลว่า เนื่องจากในขณะนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิค19 ในประเทศไทยมีการแพร่ระบาดรุนแรงขึ้นมีนัยสำคัญ เพื่อให้การปฏิบัติราชการของจังหวัดอุดรธานี เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงประกาศห้ามข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานของรัฐ พนักงานท้องถิ่น บุคลากรในสีงกัด เดินทางิกนอกพื้นที่จังหวัดอุดรธานี กรณีมีเหตุจำเป็น ให้ขออนุญาตจากหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานท้องถิ่น ให้แจ้งเหตุแห่งความจำเป็น
ส่วนหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานประจำจังหวัด นายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้แจ้งเหตุผลความจำเป็นและขออนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีโดยตรง กรณีที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางออกนอกพื้นที่จังหวัดอุดรธานีแล้ว เมื่อเดินทางกลับเข้าในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ให้ผู้บังคับบัญชา หัวหน้าหน่วยงาน พิจารณาอนุญาตให้บุคคลดังกล่าว ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งส่วนราชการ หรือปฏิบัติงานจากบ้าน หรือ Work from home โดยให้ถือปฏิบัติตามประกาศของจังหวัด เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิค19 ที่ได้ประกาศไปแล้วเมื่อวันที่ 15 เม.ย.2564 โดยเคร่งครัด หากไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าเป็นความบกพร่องร้ายแรง และให้อำเภอทุกพื้นที่ได้แจ้งความในประกาศดังกล่าวให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งทราบและให้ถือปฏิบัติด้วย
ในส่วนของการเตรียมความพร้อมการจัดหาพื้นที่การทำโงพยาบาลสนามไว้รองรับบุคลากรการแพทย์ที่ต้องปฏิบัติงานตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ให้เป็นที่สถานที่พักผ่อน และเพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อที่มีอาการไม่รุนแรง และเพื่อรองรับสถานการณ์ในอนาคตนั้น ขณะนี้จังหวัดอุดรธานี ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งรัฐ เอกชน และวัด อนุญาตให้เข้าใช้พื้นที่ใช้เป็นที่ตั้งโรงพยบาลสนามแล้วกว่า 1000 เตียง ได้แก่อาคารหอพักนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานีสามพร้าว อาคารคลังสินค้าของนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ที่ตำบลโนนสูง อ.เมืองอุดรธานี อาคารโรงแรมวีธารา เพื่อให้บุคลากรแพทย์พักโดยเฉพาะ 60 เตียง และที่วัดป่าศรีเวียงเพ็ญ อ.เพ็ญ รวมแล้วณะนี้อุดรธานีมีเตียงในโรงพยาบาลวนามแล้วกว่า 1000 เตียง สามารถรองรับผู้ติดเชื้อได้ ซึ่งได้มีการโยกย้ายผู้ป่วยติดเชื้อที่มีอาการไม่หนักจำนวนหนึ่งเข้าพักกักตัวที่อาคารพักนักศึกษาของ ม.ราชภะฎอุดรธานีแล้ว
ส่วนการช่วยเหลือขณะนี้ทางจังหวัดได้รับความร่วมมือจากพ่อค้า ประชาชน ห้างสรรพสินค้า ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จจังหวัดอุดรธานีแสดงความห่วงใยในความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิค19 บุคลากรทางการแพทย์ เป็นจำนวนมาก มั้งเครื่องอุปโภค บริโภค เครื่องใช้สิ่งของทางการแพทย์ หน้ากากอนามัย น้ำดื่ม อาหารแห้ง อาหารปรุงสำเร็จพร้อมรับประทาน สิ่งของเครื่องใช้ประจำตัวสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน