หลังจากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด (ศบค.) รายงานความคืบหน้าสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยที่พบว่า ณ วันที่ 2 พ.ค. 2564 มียอดผู้ติดเชื้อใหม่ 1,940 คน แบ่งเป็นการติดเชื้อในประเทศ 1,930 ราย เกิดจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯ 1,788 ราย เกิดจากการค้นหาเชิงรุกและพบการติดเชื้อในชุมชน 142 ราย
และอีก 10 รายเดินทางกลับมาจากต่างประเทศรวมผู้ป่วยสะสม 69,984 ราย หายป่วยเพิ่ม 1,183 ราย อยู่ระหว่างรักษาตัวในโรงพยาบาล 29,481 ราย โดยในจำนวนนี้มีอาการหนัก 954 ราย และใส่ท่อช่วยหายใจ 270 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 21 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 245 ราย
โดยกรุงเทพมหานครยังเป็นจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อสูงต่อเนื่อง ขณะที่ปัญหาการติดเชื้อของผู้ป่วยในชุมชนคลองเตย ที่อาจจะเป็นปัญหาสำคัญที่สุดในการระบาดรอบใหม่ครั้งนี้ เนื่องจากมีประชาชนในชุมชนประมาณ 80,000-90,000 ราย ที่ทำงานกระจายกันอยู่ทั่วกทม. ซึ่งน่าจะมีผู้ป่วยในชุมชนเป็นจำนวนมาก
จากการทำการตรวจเชิงรุก พบว่า มีอัตราการติดเชื้อประมาณ 5-10% ที่โรงพยาบาลจุฬา พบผู้ป่วยปอดอักเสบจากชุมชนคลองเตยที่มารักษาตัวมากขึ้นในระยะนี้
ดังนั้นจะต้องมีการร่วมกันทำงานทุกฝ่ายเพื่อควบคุมการติดเชื้อเพื่อไม่ให้กระจายวงกว้างออกไปและนำผู้ป่วยในชุมชนออกมารับการรักษา แต่จะเป็นปัญหาที่ท้าทายมากๆ ทั้งจำนวนประชาชนจำนวนมาก พื้นที่ที่กว้างขวาง และประชากรกลุ่มเสี่ยง ทั้งผู้สูงอายุ และเด็กจำนวนมากในชุมนุม ซึ่งในการประชุม ศบค จะมีการหารือพูดคุยกันถึงเรื่องนี้
ทั้งนี้พบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด เขตคลองเตย ในการระบาดระลอกเดือน เม.ย.2564 มีทั้งสิ้น 304 ราย แบ่งเป็นผู้อาศัยในแหล่งชุมชนแออัด 193 ราย ส่วนอีก 111 ราย อาศัยอยู่ในแหล่งอื่นๆ เช่น คอนโด หอพัก เป็นต้น โดยผู้ติดเชื้อ 12 ชุมชนในเขตคลองเตย ประกอบด้วย
อย่างไรก็ดีกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ชุมชนคลองเตยมีความเป็นอยู่แออัด แยกกักตัวได้ยาก และส่วนใหญ่ทำงานอยู่ทั่วกรุงเทพมหานคร และมีอาชีพที่ไม่สามารถ Work Form Home ได้ หากควบคุมการระบาดของคลัสเตอร์ดังกล่าวไม่ได้ อาจทำให้สถานการณ์ระบาดแย่ลง
ดังนั้นรัฐจึงควรเร่งจัดให้มีการกักตัวหรือสังเกตอาการในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อลดการติดเชื้อทั้งหมดเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชนแออัดคลองเตย ที่ถือเป็นอีกหนึ่งคลัสเตอร์ที่ต้องเร่งควบคุมการระบาดในเวลานี้
ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้จัดตั้งศูนย์พักคอยสำหรับผู้ติดโควิดที่วัดสะพาน ระหว่างรอนำส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนาม ซึ่งเป็นการแยกผู้ติดเชื้อ และดูแลในเบื้องต้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :