นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. แถลงว่า หลังจากมีการประกาศต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ออกไปถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 ที่ประชุมศบค.วันนี้(30 เมษายน) มีมติกำหนดมาตรการผ่อนคลายกิจการ กิจกรรมต่างๆ หรือผ่อนคลาย"ล็อกดาวน์"ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ติดเชื้อโควิด-19 โดยทางศบค.กำหนดให้มีมาตรกลางของแต่และกิจการ กิจกรรม และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนดรายละเอียดต่อไป ทั้งนี้แต่ละจังหวัดสามารถกำหนดให้เข้มข้นขึ้นได้ แต่จะน้อยกว่ามาตรการกลางไม่ได้
สำหรับกิจการที่จะมีการผ่อนคลาย"ล็อกดาวน์"มี 6 กิจกรรม คือ 1.ตลาด 2.ร้านจำหน่ายอาหาร ไม่เกิน 2 คูหา แต่ร้านอาหารในห้างยังไม่อนุญาตให้เปิด 3. กิจการค้าปลีกส่ง 4. กีฬา สันทนาการ 5.ร้านตัดผม เสริมสวย 6. อื่นๆเช่น ร้านตัดขนสัตว์ ร้านรับฝากเลี้ยงสัตว์
แนวทางการดำเนินการผ่อนปรนต้องคำนึงถึงด้านสาธารณสุขเป็นหลัก ด้านสังคมและเศรษฐกิจตามมา พร้อมยึดถือข้อกำหนดตามมาตร 9 แห่งพรก.ฉุกเฉิน ฉบับที่ 1 ข้อ 11
มท.สั่งผู้ว่าฯทุกจังหวัด รอคำสั่งศบค. คลายล็อกดาน์
การผ่อนคลายดังกล่าวจะมีผลในวันที่ 3 พ.ค.นี้และจะมีการประเมินอีกครั้งใน 14 วัน ถ้ามีตัวเลขคงที่ของการติดเชื้อแสดงถึงการร่วมมือ รู้วิธีการจัดการตัวเองและกิจกรรมของตัวเอง อาจจะเลื่อนลำดับในกิจกรรมที่ผ่อนคลายได้มากขึ้น แต่ถ้า 14 วัน เพิ่มเป็น 2 หลัก 3 หลักอาจจะต้องถอยหลังกลับมาตรึงและตึงในกิจกรรมและกิจการใหม่ทั้งหมด
"เราจะพยายามเดินไปด้วยกัน ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างทุกคนมีส่วนร่วมเหมือนกันทั้งหมด ต้องร่วมมือกัน 90% ขึ้นไป"
ส่วนมาตรการที่ยังคงไว้เหมือนเดิม คือ เคอร์ฟิวยังคงไว้เหมือเดิม การเดินควบคุมการเดินทางอากาศเข้าประเทศ จำกัดการบินเข้าออกของสายการบินระหว่างประเทศ และงดหรือชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด คงการทำงานที่บ้านอย่างน้อย 50% และห้ามคนหมู่มากเข้าไปในสถานที่ทีเสี่ยงต่อการระบาด
การประชุมศบค.วันนี้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เน้นย้ำว่าการดำเนินการครั้งนี้เป็นความรับผิดชอบของคนไทยทั้งประเทศในการร่วมมือแก้ไขปัญหาการระบาดของไวรัสโควิดไปด้วยกัน หากสามารถควบคุมระยะนี้ได้ก้จะมีมาตรการผ่อนปรนระยะต่อไปรวมทั้งให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายช่วยเหลือประชนอย่างเต็มที่
สภาพัฒน์ แย้ม ห้าง-ร้านค้า เตรียมเปิดในระยะต่อไป
ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงว่า การผ่อนปรนสถานการณ์คลาย "ล็อกดาวน์" มีการวิเคราะห์สถานการณ์เป็น 4 ระยะ ของกิจการและกิจกรรม แต่ถ้าเป็นกิจกรรม/กิจการที่มีความเสี่ยงมาก คนแอดอัด มีโอกาสสัมผัสคน จะเก็บไว้ในระยะที่ 4 อาทิ คอนเสิร์ต สนามมวย แข่งกีฬา
ดังนั้นระยะที่สองและสามจะเกิดขึ้นตามมา แต่เมื่อไหรจะมีตัวแปรสองตัว คือ ถ้าเปิดออกมาแล้ว ผู้ติดเชื้อเพิ่มอย่างไม่มีนัยสำคัญหรือน้อยก็มั่นใจได้ในระยะที่สองและสาม แต่จะต้องเข้มข้นขึ้น
ส่วนห้างสรรพสินค้า ร้านค้า ต้องเตรียมการ จัดร้านจะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยยื่นขออนุญาตเข้ามาที่ส่วนราชการท่องถิ่นก็จะอนุมัติให้ จากนั้นจะได้ QR code ติดหน้าร้าน คนใช้บริการจะต้องสแกนข้อมูล เพื่อดูแลรายละเอียดชัดเจน ใช้ดิจิทัลเข้ามาช่วย
"คำตอบของระยะต่อไปอยู่ที่ระยะที่หนึ่ง จะไประยะที่สองได้หรือ ต้องมีความพร้อม บอกโจทย์เลยว่าทุกห้างร้าน จัดเตรียมตัวเองไว้ เมื่อมีความพร้อมก็จะเข้าระยะที่สองและสามต่อไป"