ข้อกำหนดพรก.ฉุกเฉิน ผ่อนคลาย “ล็อกดาวน์”ธุรกิจ-กิจกรรม

01 พ.ค. 2563 | 11:30 น.

1 พฤษภาคม 2563 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา  9 แห่งพระราชกำหนดกำรบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 6) ซึ่งลงนามโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ใจความว่า

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป จนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น

ด้วยเป็นการสมควรผ่อนคลายการบังคับใช้บางมาตรการในการป้องกันและการแพร่ระบาด ของโรคโควิด 19 ตามลําดับขั้นตอนการควบคุมโอกาสเสี่ยงของบุคคล สถานที่ และประเภทกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงตามหลักเกณฑ์ ขององค์การอนามัยโลกและตามผลการประเมินสถานการณ์ของฝ่ายสาธารณสุข

โดยรับฟังความคิดเห็น จากฝ่ายเศรษฐกิจ ฝ่ายผู้ประกอบการ และฝ่ายผู้บริโภค แต่ยังคงให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค และคําแนะนําของทางราชการ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘  และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกําหนดเป็นการทั่วไปและข้อปฏิบัติแก่ ส่วนราชการทั้งหลาย ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ การผ่อนคลายให้ดําเนินการหรือทํากิจกรรมบางอย่างได้ เพื่อเป็นการอํานวย ความสะดวกแก่ประชาชนในการทํากิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดําเนินชีวิต ตลอดจนด้าน การออกกําลังกายหรือการดูแลรักษาสุขภาพอันเป็นการช่วยป้องกันโรคได้ทางหนึ่ง ภายใต้บังคับข้อกําหนด ว่าด้วยการห้ามออกนอกเคหสถาน และภายใต้มาตรการป้องกันโรคและคําแนะนําของทางราชการ

ให้สถานที่ สถานประกอบการหรือกิจกรรมซึ่งรัฐอนุญาตให้เปิดบริการหรือมีนโยบายสนับสนุน ให้เปิดดําเนินการได้อยู่ก่อนแล้วตามข้อ ๑๒ แห่งข้อกําหนด (ฉบับที่ ๑) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ เช่น ธนาคาร โรงงาน สถานีบริการเชื้อเพลิง บริการส่งสินค้าและอาหารตามสั่ง ยังคงเปิดดําเนินการต่อไปได้เช่นเดิม

ส่วนสถานที่ สถานประกอบการหรือกิจกรรมใดซึ่งเคยมีข้อกําหนด ประกาศ หรือคําสั่งให้ปิดหรือจํากัดการดําเนินการชั่วคราวหรือเคยผ่อนผันโดยมีเงื่อนไขไว้ ในระยะแรกนี้ ให้เปิดดําเนินการได้ทั่วราชอาณาจักรตามความสมัครใจและความพร้อม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

(๑) กิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดําเนินชีวิต

ก. การจําหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ในโรงแรม ท่าอากาศยาน สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง โรงพยาบาล ร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ รถเข็น หาบเร่ แผงลอย ซึ่งไม่รวมถึงสถานบริการ ผับ บาร์ ให้เปิดได้โดยอาจให้นํากลับไปบริโภคที่อื่น แต่หากเปิดให้ใช้บริการในสถานที่นั้น ก็สามารถทําได้โดยต้องจัดระเบียบการเข้าใช้บริการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคและคําแนะนําของ ทางราชการ

สําหรับร้านอาหารหรือเครื่องดื่มซึ่งจําหน่ายสุรา ให้เปิดได้แต่ห้ามการบริโภคสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน

ข. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดได้เฉพาะซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา สินค้าเบ็ดเตล็ดที่จําเป็นต่อการใช้ชีวิต และร้านขายปลีกธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ธนาคาร ที่ทําการหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจเท่านั้น ส่วนแผนกร้านอาหารให้เปิดได้เฉพาะการนํากลับไป บริโภคที่อื่น

ค. ร้านค้าปลีก/ค้าส่งขนาดย่อม ร้านค้าปลีก/ค้าส่งชุมชน ตลาด ตลาดน้ํา และ ตลาดนัด ให้เปิดได้โดยต้องควบคุมทางเข้าออก จัดให้มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายผู้ให้ และ ผู้ใช้บริการ การเว้นระยะห่างในการเลือกสินค้าและการชําระราคา

ง. ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผมสําหรับบุรุษหรือสตรีให้เปิดได้เฉพาะกิจกรรม สระ ตัด ซอยผม แต่งผม และต้องไม่มีผู้นั่งรอในร้าน

(๒) กิจกรรมด้านการออกกําลังกายหรือการดูแลสุขภาพ

ก. โรงพยาบาล คลินิก สถานทันตกรรมหรือสถานพยาบาลทุกประเภท ที่จัดตั้ง โดยชอบด้วยกฎหมาย

ข. สนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟให้เปิดได้แต่ต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือ เป็นการแข่งขัน ในกรณีของสโมสร คลับเฮาส์ หรือร้านอาหารในบริเวณดังกล่าวให้ปฏิบัติตาม (๑) ก.

ค. สนามกีฬาเฉพาะกีฬาประเภทกลางแจ้งและตามกติกาสากล ผู้เล่นต้องมีระยะห่าง ทางสังคมและไม่คลุกคลีกันอยู่แล้ว เช่น เทนนิส ขี่ม้า ยิงปืน ยิงธนู และต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือ เป็นการแข่งขัน ในกรณีของสโมสร คลับเฮาส์ หรือร้านอาหารในบริเวณดังกล่าวให้ปฏิบัติตาม (๑) ก.

ง. สวนสาธารณะ ลาน - พื้นที่กิจกรรมสาธารณะ สถานที่ออกกําลังกาย สนามกีฬา ลานกีฬา ให้เปิดได้เฉพาะพื้นที่โล่งแจ้งเพื่อการเดิน วิ่ง ขี่หรือปั่นจักรยาน หรือการออกกําลังกาย ด้วยวิธีอื่นเป็นส่วนบุคคล โดยไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการแข่งขัน การละเล่น การแสดง

จ. สถานที่ให้บริการดูแลรักษาสัตว์ สปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์

ข้อ ๒ ให้เจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ตามข้อ ๑ (๑) หรือ (๒) ทุกประเภทมีหน้าที่ รับผิดชอบการดูแลรักษาความสะอาดของสถานที่ ภาชนะและอุปกรณ์ที่ใช้ และจัดให้มีมาตรการป้องกัน โรคตามที่ทางราชการกําหนด เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคม การสวมหน้ากากอนามัย การตรวจวัด อุณหภูมิร่างกายผู้เกี่ยวข้อง

ตลอดจนจัดระบบอื่น ๆ ให้เป็นไปตามคําแนะนํา เงื่อนไข และเงื่อนเวลา ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือทางราชการกําหนด เช่น การให้เข้าใช้บริการโดยนัดหรือแจ้งล่วงหน้า

การไม่ให้ผู้ใช้บริการหลายคนรออยู่ในสถานที่เดียวกัน การจํากัดจํานวน ผู้ใช้บริการในแต่ละคราว และเวลาการเข้าใช้บริการ ทั้งนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเข้าตรวจและ ให้คําแนะนํา หรือตักเตือนห้ามปรามได้ตลอดเวลา หากพบว่ามีการฝ่าฝืนหรือเป็นอันตรายต่อการป้องกัน การแพร่ของโรค ให้เสนอผู้มีอํานาจตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อสั่งปิดสถานที่นั้นเฉพาะราย

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นายกรัฐมนตรี

ข้อกำหนดพรก.ฉุกเฉิน ผ่อนคลาย “ล็อกดาวน์”ธุรกิจ-กิจกรรม

ข้อกำหนดพรก.ฉุกเฉิน ผ่อนคลาย “ล็อกดาวน์”ธุรกิจ-กิจกรรม

ข้อกำหนดพรก.ฉุกเฉิน ผ่อนคลาย “ล็อกดาวน์”ธุรกิจ-กิจกรรม