เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนำ 2019 (โควิด-19)ที่ 2/2563 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 สำหรับหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน และพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรค ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค.63 เป็นต้นไป ดังนี้
1.กิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต
ก.การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มในโรงแรม ท่าอากาศยาน สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง โรงพยาบาล ร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ รถเข็น หาบเร่ แผงลอย ซึ่งไม่รวมถึงสถานบริการ ผับ บาร์
มาตรการควบคุมหลัก
- ทำความสะอาดพื้น พื้นผิวสัมผัสบ่อยๆ ทั้งก่อนและหลังการให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
- ให้ผู้ประกอบการ พนักงานบริการ ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า
- ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
- ให้เว้นระยะห่างระหว่างโต๊ะ และระหว่างที่นั่ง รวมถึงระยะห่างระหว่างการเดินอย่างน้อย 1 เมตร
- ให้ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการ มิให้แออัด
มาตรการเสริม
- มีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ พนักงานบริการ และผู้ใช้บริการ ตามขีดความสามารถ
- ลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในสถานที่จำหน่ายอาหาร
- จัดให้มีพื้นที่รอคิวที่มีที่นั่งหรือยืน ห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
- อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ได้ตามความเหมาะสม หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ได้
ข.ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดได้เฉพาะซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา สินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นต่อใช้ชีวิต และร้านขายปลีก ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ธนาคาร ที่ทำการหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจเท่านั้น ส่วนแผนกร้านอาหารให้เปิดเฉพาะการนำกลับไปบริโภคที่อื่น
มาตรการควบคุมหลัก
- ทำความสะอาดพื้น พื้นผิวสัมผัสบ่อยๆ ทั้งก่อนและหลังการให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
- ให้พนักงานและผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเสมอ
- ให้มีการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
- ให้เว้นระยะนั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
- ให้ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการมิให้แออัด หรือพิจารณากำหนดมาตรการลดเวลาในการใช้บริการให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
มาตรการเสริม
- มีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ พนักงานบริการ และผู้ใช้บริการ ตามขีดความสามารถ
- จัดให้มีพื้นที่รอคิวที่มีที่นั่งหรือยืน ห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
- อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ก็ได้
ค.ร้านค้าปลีก/ค้าส่งขนาดย่อม ร้านค้าปลีก/ค้าส่งชุมชน ตลาด ตลาดน้ำ และตลาดนัด
มาตรการควบคุมหลัก
- ทำความสะอาดพื้น พื้นผิวสัมผัสบ่อยๆ ทั้งก่อนและหลังการให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
- ให้ผู้ประกอบการ ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเสมอ
- ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
- ให้เว้นระยะห่างของแผง หรือระยะนั่งหรือยืน หรือระยะห่างในการเลือกสินค้าและการชำระราคาห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
- ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมมิให้แออัด หรือลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการ
ติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
มาตรการเสริม
- ให้มีการควบคุมทางเข้าออก และมีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ และผู้ใช้บริการ ตามขีดความสามารถ
- ไม่อนุญาตการให้บริการเครื่องเล่นสำหรับเด็ก
- อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ก็ได้
ง.ร้านเสริมสวย แต่งผม หรือตัดผม สำหรับบุรุษหรือสตรี (เฉพาะสระ ตัด ซอยผม แต่งผม)
มาตรการควบคุมหลัก
- ให้ทำความสะอาดโดยการเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของร้าน อุปกรณ์ก่อนและหลังการให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
- ให้ช่างตัดผมและผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเสมอ
- ให้มีการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
- ให้เว้นระยะห่างระหว่างเก้าอี้ตัดผม อย่างน้อย 1.5 เมตร
- ให้พิจารณาควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการมิให้แออัด ด้วยการลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น และงดรอรับบริการภายในร้าน โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
มาตรการเสริม
- มีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด ทั้งช่างตัดผม ผู้ช่วย และผู้ใช้บริการ ตามขีดความสามารถ
- ให้ช่างตัดผมและผู้ช่วย (ถ้ามี) สวม Face Shield และเสื้อคลุมแขนยาวทุกครั้งที่ให้บริการ
- ให้มีการเปลี่ยนผ้าคลุมตัดผมทุกครั้งที่ให้บริการ
- จัดการให้มีการระบายอากาศภายในร้านที่ดี
- อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ก็ได้
2. กิจกรรมด้านการออกกำลังกายหรือการดูแลสุขภาพ
ก.สนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
มาตรการควบคุมหลัก
- ให้ทำความสะอาดโดยการเช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์ พื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนและหลังการจัดกิจกรรม และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
- ให้เจ้าหน้าที่ ผู้ร่วมกิจกรรม ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า
- ให้ล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคอยู่เสมอ
- ให้เว้นระยะการทำกิจกรรมอย่างน้อย 1 เมตร
- ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมมิให้แออัด หรือลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
มาตรการเสริม
- มีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับพนักงาน และผู้ใช้บริการ ก่อนเข้าสถานที่
- ต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการแข่งขัน
- ร้านอาหารในสโมสร คลับเฮาส์ สนามฝึกซ้อมกอล์ฟ ให้ปฏิบัติตามมาตรการเสริมในข้อ 1. ก
- อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ก็ได้
ข.สนามกีฬาเฉพาะกีฬาประเภทกลางแจ้ง และตามกติกาสากล ได้แก่ เทนนิส ขี่ม้า ยิงปืน ยิงธนู
มาตรการควบคุมหลัก
- ให้ทำความสะอาดโดยการเช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องเล่นออกกำลังกาย พื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนและหลังการจัดกิจกรรม และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
- ให้เจ้าหน้าที่ ผู้ร่วมกิจกรรม ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า
- ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
- ให้เว้นระยะการทำกิจกรรมอย่างน้อย 1 เมตร
- ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมมิให้แออัด หรือลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
มาตรการเสริม
- มีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับพนักงาน และผู้ใช้บริการ ก่อนเข้าสถานที่
- ต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการแข่งขัน
- ร้านอาหารในสโมสร คลับเฮาส์ ให้ปฏิบัติตามมาตรการเสริมในข้อ 1. ก
- อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ก็ได้
ค.สวนสาธารณะ ลาน-พื้นที่กิจกรรมสาธารณะ สถานที่ออกกำลังกาย สนามกีฬา ลานกีฬา (เฉพาะพื้นที่โล่งแจ้ง เพื่อการเดิน วิ่ง ขี่หรือปั่นจักรยาน หรือการออกกำลังกายด้วยวิธีอื่นเป็นส่วนบุคคล)
มาตรการควบคุมหลัก
- ให้ทำความสะอาดโดยการเช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องเล่นออกกำลังกาย พื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนและหลังการจัดกิจกรรม และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
- ให้เจ้าหน้าที่ ผู้ร่วมกิจกรรม ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า
- ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
- ให้เว้นระยะการทำกิจกรรมอย่างน้อย 2 เมตร
- ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมมิให้แออัด หรือลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
มาตรการเสริม
- มีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ใช้บริการก่อนเข้าสถานที่ ตามขีดความสามารถ
- งดจำหน่ายสินค้า งดรับประทานอาหารในสวนสาธารณะและสนามกีฬา
- ต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการแข่งขัน การละเล่น การแสดง
- อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ก็ได้
3.อื่นๆ
ง.สถานที่ให้บริการดูแลรักษาสัตว์ สปา อาบน้ ตัดขน รับเลี้ยง หรือรับฝากสัตว์
มาตรการควบคุมหลัก
- ให้ทำความสะอาดโดยการเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของร้าน อุปกรณ์ก่อนและหลังการให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
- ให้ช่างตัดขนและผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเสมอ
- ให้มีการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
- ให้พิจารณาควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการมิให้แออัด ด้วยการลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น และงดรอรับบริการภายในร้าน โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
มาตรการเสริม
- คัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด และงดให้บริการเจ้าของสัตว์หรือสัตว์ที่มีอาการป่วยทางเดินหายใจ
- ให้ช่างตัดขนสัตว์และผู้ช่วย (ถ้ามี) สวม Face Shield ถุงมือ และเสื้อคลุมแขนยาวทุกครั้งที่ให้บริการ
- อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ก็ได้