จากกรณีที่เมื่อวันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา นายอาคม เอ่งฉ้วน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอดีต ส.ส.กระบี่ 9 สมัย จากพรรคประชาธิปัตย์ เสียชีวิตลงด้วยวัย 69 ปี เนื่องจากมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร ซึ่งจะมีพิธีรดน้ำศพ ที่วัดแก้วโกรวาราม พระอารามหลวง อ.เมือง จ.กระบี่ ในวันนี้(2 ก.ค.63)
สำหรับเส้นทางการเมืองของ นายอาคม เอ่งฉ้วน ถือเป็นนักการเมืองที่ได้รับการยอมรับในจังหวัดกระบี่ โดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) จังหวัดกระบี่ สมัยแรกในปี พ.ศ. 2526 จากนั้นก็เป็นส.ส.กระบี่เรื่อยมา รวม 9 สมัย
ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบพบข้อมูลผลงานการทำหน้าที่ส.ส.กระบี่ ของนายอาคม ในสภาผู้แทนราษฎร ที่ถูกบันทึกไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๖๑ ก หน้า ๖ ราชกิจจานุเบกษา ๒๓ กันยายน ๒๕๔๗ ระบุว่า เป็นกระทู้ถามที่ ๑๒๔๖ ร. สภาผู้แทนราษฎร ๒๑ สิงหาคม ๒๕๔๖ เรื่อง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหมู่เกาะพีพี อําเภอเมือง จังหวัดกระบี่ อย่างยั่งยืน
นายอาคม เอ่งฉ้วน ได้ตั้งกระทู้ถามระบุว่า กราบเรียน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ข้าพเจ้าขอตั้งกระทู้ถาม ถามนายกรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
หมู่เกาะพีพี อําเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญของจังหวัดกระบี่และ ประเทศไทย มีประชาชนอาศัยอยู่ประมาณ 5,000 - 7,000 คน มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและ ต่างประเทศเดินทางไปท่องเที่ยวปีละ 1 ล้านคน ขณะนี้โครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญคือไฟฟ้า น้ําประปา ระบบน้ําเสีย ขยะ ไม่สามารถตอบสนองต่อการจัดการที่จะอํานวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวได้ จึงขอเรียนถามว่า
1. รัฐบาลที่ผ่านมาได้จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานเรื่องระบบเคเบิลไฟฟ้า ระบบน้ําเสีย ระบบ น้ําประปา ระบบการกําจัดขยะ แต่ปัจจุบันโครงการดังกล่าวมีความล่าช้าในการดําเนินงานที่จะใช้งาน บางโครงการยังไม่มีความคืบหน้า จึงขอทราบว่ารัฐบาลนี้จะจัดการกับปัญหาโครงสร้างพื้นฐานบนเกาะพีพี อย่างไร จะแล้วเสร็จเมื่อใดและใช้งบประมาณจํานวนเท่าใด จากแหล่งเงินทุนใด
2. ในสภาวะที่นักท่องเที่ยวจํานวนมากเดินทางไปท่องเที่ยวหมู่เกาะพีพี ทําให้เกิดการทําลาย สิ่งแวดล้อมต่างๆ ของหมู่เกาะพีพี รัฐบาลมีนโยบายและมาตรการอย่างยั่งยืนที่จะรักษาสภาพแวดล้อม ของหมู่เกาะพีพีอย่างไร
3. เพื่อให้หมู่เกาะพีพีเป็นสัญลักษณ์ประทับใจของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตลอดไป และเป็นแรงจูงใจที่จะทําให้นักท่องเที่ยวเก่าและนักท่องเที่ยวใหม่กลับมาเที่ยวหมู่เกาะพีพี่อีก ให้รัฐบาลลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนเกาะพีพี เพื่อสร้างความรักและอัธยาศัยอันดีงาม เพียบพร้อม ด้วยวัฒนธรรมของไทย เป็นโครงการนําร่องสําหรับการพัฒนาศักยภาพทั้งทรัพยากรมนุษย์ และแหล่ง ท่องเที่ยวนั้นรัฐบาลจะมอบหมายให้หน่วยงานใดดําเนินการและใช้งบประมาณจํานวนเท่าใด และจะขอให้ จัดทําเป็นนโยบายหลักในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ต่อไปด้วยจะได้หรือไม่ ขอทราบรายละเอียด
ขอให้ตอบในราชกิจจานุเบกษา
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
อาคม เอ่งฉ้วน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดกระบี่
ข่าวที่เกี่ยวข้องอาลัย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าต่อจากนั้น เป็นคําตอบกระทู้โดย นายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายสนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้รับมอบหมายจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ให้เป็นผู้ชี้แจงตอบกระทู้ถาม เรื่อง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหมู่เกาะพีพี อําเภอเมือง จังหวัดกระบี่ อย่างยั่งยืน ข้าพเจ้าขอตอบ กระทู้ถามของท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ ดังนี้
คําตอบข้อ 1 ขอเรียนว่า รัฐบาลได้จัดเตรียมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบนหมู่เกาะพีพี อําเภอ เมือง จังงหวัดกระบี่ ดังนี้
1. การดําเนินการเพื่อให้บริการไฟฟ้าของรัฐบนเกาะพีพีดอน
เกาะพีพีดอนยังไม่มีโรงไฟฟ้าหรือบริการด้านไฟฟ้าของรัฐ การประกอบธุรกิจด้านการท่องเที่ยว บนเกาะพีพีดอนต้องอาศัยการใช้กระแสไฟฟ้า โดยการผลิตจากเครื่องกําเนิดไฟฟ้าส่วนตัวของแต่ละ สถานประกอบการส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูง โดยมีราคาค่าผลิตกระแสไฟฟ้าประมาณหน่วยละ 15-17 บาท รวมทั้งสร้างมลภาวะทั้งด้านเสียงและควัน เมื่อปี พ.ศ. 2540 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีโครงการขยายเขตติดตั้งระบบไฟฟ้าให้กับเกาะพีพีดอนโดยวิธีตั้งโรงจักรไฟฟ้าดีเซล แต่ไม่ได้รับอนุมัติ ให้ดําเนินการตามโครงการ เนื่องจากขัดต่อประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เรื่อง การกําหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณหมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2535 และประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายเวลาการใช้บังคับ ประกาศกําหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณหมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2539 ซึ่งได้กําหนดห้ามก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรที่มีกําลังรวมตั้งแต่ห้าแรงม้าหรือเทียบเท่าขึ้นไป และโรงจักรผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีขนาดเข้าข่ายห้ามก่อสร้างตามข้อกําหนดดังกล่าว
ปัจจุบันการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้เสนอโครงการขยายเขตติดตั้งระบบไฟฟ้าให้เกาะพีพีดอน ด้วยสายเคเบิลใต้น้ําแทน โดยรับไฟจากสถานีไฟฟ้ากระบี่ขยายเขตผ่านเกาะศรีบอยาและเกาะปูไปยัง เกาะพีพีดอน รวมระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร พร้อมทั้งก่อสร้างขยายเขตระบบจําหน่ายไฟฟ้าแรงสูง 33,000 โวลท์ รวมระยะทางประมาณ 31 วงจร-กิโลเมตร และแรงต่ำ 400/230 โวลท์ รวมระยะทางประมาณ 26.2 วงจร-กิโลเมตร ใช้งบประมาณลงทุนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคประมาณ 619.71 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะสมและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ต่อสิ่งแวดล้อมของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ หากยังไม่มีความพร้อมที่จะให้การสนับสนุนงบประมาณในการดําเนินการดังกล่าว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะได้พิจารณาติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Home System) เพื่อจ่ายไฟฟ้าเฉพาะบ้านเรือนราษฎรบนเกาะทั้งสามที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ก่อน เพื่อให้ราษฎรมีไฟฟ้าใช้ครบ ทุกครัวเรือนภายในปี 2549 ตามนโยบายของรัฐบาลต่อไป
2.การจัดการน้ำเสียบนเกาะพีพีดอน
ในด้านการจัดการน้ําเสียจากสถานประกอบการและบ้านพักอาศัยของราษฎรบนเกาะพีพีดอน จังหวัดได้ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษสํารวจสภาพปัญหาและได้จัดทําแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษ เมื่อปี พ.ศ. 2537 โดยขอสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ก่อสร้างระบบรวบรวมและบําบัดน้ำเกาะพีพีดอน ซึ่งได้ดําเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2541 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 38,900,000 บาท หลังจากนั้นจังหวัดได้มอบให้องค์การบริหารส่วนตําบลอ่าวนาง (อบต.อ่าวนาง) รับผิดชอบดูแล แต่เนื่องจาก อบต.อ่าวนางขาดงบประมาณและบุคลากรในการบริหารจัดการ จึงไม่สามารถเปิดใช้ระบบรวบรวมและบําบัดน้ําเสียดังกล่าวได้ จังหวัดจึงได้ประสานกรมควบคุมมลพิษ เพื่อหาวิธีการแก้ไขและช่วยเหลือการดําเนินงานของ อบต.อ่าวนาง และได้ขอสนับสนุนงบประมาณ เพื่อเดินระบบและสํารวจซ่อมแซมเครื่องจักร อุปกรณ์ จากสํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม เมื่อปี พ.ศ. 2545 แต่ไม่ได้รับการอนุมัติ จังหวัดและ อบต.อ่าวนาง จึงได้ขอสนับสนุนงบประมาณ จํานวน 12 ล้านบาทเศษ จากสํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมอีกครั้ง รวมทั้งของบประมาณจากงบประมาณ ค่าใช้จ่ายสํารองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยอีกทางหนึ่ง ซึ่งหากได้รับงบประมาณ จํานวนดังกล่าวก็จะสามารถเปิดดําเนินการระบบบําบัดน้ําเสียได้ และ อบต.อ่าวนาง จะกําหนดแนวทาง จัดเก็บค่าบริการในการบําบัดน้ําเสียจากผู้ประกอบการ เพื่อหารายได้มาใช้จ่ายในการบริหารจัดการต่อไป
3. ระบบน้ําประปา
บนเกาะพีพีดอนไม่มีระบบประปาของรัฐ เนื่องจากขาดแหล่งน้ําจืดที่จะนํามาเป็นวัตถุดิบ ในการจัดทําระบบประปา ทําให้โรงแรม บังกะโล ร้านอาหาร สถานประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว และประชาชนที่อาศัยอยู่บนเกาะพีพีดอนต้องใช้น้ําจากบ่อน้ําตื้นซึ่งมีเพียง 50 บ่อ และในหน้าแล้ง น้ําในบ่อจะเป็นน้ํากร่อย ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวจึงต้องซื้อน้ําจืดจากจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดกระบี่ ขนส่งทางเรือเพื่อใช้สําหรับการอุปโภคและบริโภค ในอัตราลูกบาศก์เมตรละ 120-300 บาท
สําหรับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จังหวัดได้ขอให้กรมชลประทานก่อสร้างอ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก ที่เกาะพีพีดอน เมื่อปี พ.ศ. 2535 ขนาดความจุของอ่าง 30,000 ลูกบาศก์เมตร วงเงินงบประมาณ 14,577,000บาท แต่ไม่สามารถเก็บกักน้ําได้ เนื่องจากมีการรั่วซึมสูง จังหวัดจึงได้ของบประมาณ โครงการปรับปรุงอ่างเก็บน้ําเกาะพีพีดอนในปี พ.ศ.2539 วงเงินงบประมาณ 15,072,303 บาท ดําเนินการแล้วเสร็จเมื่อเดือนกันยายน 2540 สามารถเก็บกักน้ําได้เต็มอ่าง และนําไปใช้ในการอุปโภค และบริโภคได้ ต่อมาในระหว่างปี พ.ศ. 2543 - 2544 อ่างเก็บน้ําได้มีการรั่วซึม จังหวัดจึงได้ขอให้ กรมชลประทานดําเนินการซ่อมแซมปรับปรุงใช้เงินงบประมาณ 4,446,087 บาท ซึ่งได้ดําเนินการแล้วเสร็จ เมื่อเดือนมิถุนายน 2546
ทั้งนี้ อ่างเก็บน้ําเกาะพีพีดอนมีความจุอ่างเพียง 30,000 ลูกบาศก์เมตร แต่ความต้องการน้ำจืด สําหรับอุปโภคบริโภคในฤดูท่องเที่ยวมีประมาณ 60,000 ลูกบาศก์เมตร จึงจะต้องจัดหาน้ําเพิ่มเติมอีก 30,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถดําเนินการได้โดยการปรับปรุงอ่างเก็บน้ําเพื่อเพิ่มความจุให้ได้ถึง 60,000 ลูกบาศก์เมตร ตามสภาพพื้นที่อ่างเก็บน้ําที่มีอยู่อย่างจํากัด โดยกรมชลประทานได้รับที่จะ ดําเนินการต่อไปแล้ว สําหรับการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ํา องค์การบริหารส่วนตําบลอ่าวนางได้ร่วมกับ ตัวแทนราษฎรและผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเกาะพีพี ดําเนินการบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว
4.การดําเนินงานแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยบนเกาะพีพีดอน
ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดจากการอุปโภคบริโภคของนักท่องเที่ยวและชาวบ้านบนเกาะพีพีดอน มีประมาณวันละ 8-10 ตัน จังหวัดได้ประสานงานขอความร่วมมือจากกรมควบคุมมลพิษในการสํารวจ สภาพปัญหา เมื่อปี พ.ศ. 2537 และได้จัดทําแผนปฏิบัติการเพื่อลดปัญหาขยะ ขอสนับสนุนงบประมาณ จากสํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม เพื่อก่อสร้างอาคารและติดตั้งเตาเผาขยะขนาด 5 ตัน/วัน จํานวน 2 เตา เป็นเงิน 17,550,000 บาท ซึ่งได้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2541 หลังจากนั้น จังหวัดได้ส่งมอบให้ อบต.อ่าวนาง รับไปบริหารจัดการ แต่เนื่องจาก อบต.อ่าวนางไม่มีงบประมาณ ในการจัดซื้อน้ํามันเชื้อเพลิงสําหรับเตาเผาขยะและขาดบุคลากรในการดําเนินการ จึงไม่ได้เปิดใช้ระบบ เตาเผาขยะ ทําให้เตาเผาขยะอยู่ในสภาพชํารุดไม่สามารถใช้การได้
สําหรับการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยบนเกาะพีพีดอนในปัจจุบัน อบต.อ่าวนาง ได้จ้างเอกชน ทําการเก็บขนขยะจากเกาะพีพีดอนนําไปกําจัดรวมกับขยะในเขตเทศบาลเมืองกระบี่ โดยใช้งบประมาณปีละ 2,285,000 บาท ซึ่ง อบต.อ่าวนาง เรียกเก็บค่าบริการขนขยะจากผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหาร บังกะโล และโรงแรมบนเกาะพีพีดอน ในอัตรากิโลกรัมละ 1 บาท ส่วนบ้านพักอาศัยและร้านบริการอื่นๆ ในอัตรา 300- 500 บาท/เดือน มีรายได้ปีละประมาณ 1,200,000 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายที่เกิดจากเตาเผาขยะบนเกาะพีพีดอนซึ่งจากผลการศึกษากําหนดไว้ในอัตรากิโลกรัมละ 2.30 บาท จะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่ามาก ดังนั้น อบต.อ่าวนาง จึงยืนยันจะใช้วิธีการขนขยะไปกําจัดรวมกับขยะ ในเขตเทศบาลเมืองกระบี่ ต่อไป
คําตอบข้อ 2 ขอเรียนว่า หมู่เกาะพีพี่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก ทําให้มี นักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวเป็นจํานวนมาก ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของหมู่เกาะพีพีให้คงความสวยงามไว้อย่างยั่งยืน รัฐบาลได้มีมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ดังนี้
1. กําหนดให้พื้นที่หมู่เกาะพีพีเป็นเขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพีตาม พระราชกฤษฎีกากําหนดบริเวณที่ดินสุสานหอย หาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพีและเกาะใกล้เคียงในท้องที่ ตําบลหนองทะเล ตําบลอ่าวนาง ตําบลไสไทย และตําบลปากน้ํา อําเภอเมืองกระบี่ เป็นเขตอุทยาน แห่งชาติ พ.ศ. 2536
2. ออกประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณจังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2540 ให้หมู่เกาะพีพี่อยู่ในพื้นที่ คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามประกาศดังกล่าว
3.ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 3(พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 กําหนดให้บริเวณพื้นที่บริเวณเกาะยูง เกาะไผ่ เกาะพีพีดอน เกาะพีพีเล และเกาะปิต๊ะ จังหวัดกระบี่ และบริเวณน่านน้ําโดยรอบเกาะดังกล่าววัดจาก แนวน้ําลงต่ําสุดออกไปในทะเลเป็นระยะสามกิโลเมตร ที่มิได้อยู่ในแนวเขตตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณหมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยมีมาตรการคุ้มครอง ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง
4. ออกประกาศจังหวัดกระบี่ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2541 เรื่อง ห้ามทํากิจกรรมทางน้ํา ที่เป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2540ซึ่งรวมถึง บริเวณพื้นที่หมู่เกาะพีพีทั้งหมดด้วย
6 รัฐบาลได้มอบหมายให้จังหวัดกระบี่ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทําแผนแม่บทในการฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกาะพีพีโดยมี เป้าหมายที่จะพัฒนาเกาะพีพีให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมี ประสิทธิภาพและยั่งยืน ประกอบด้วยแนวทางการดําเนินการ การปฏิบัติกรอบระยะเวลาดําเนินการและหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงาน ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการยกร่างแผนแม่บทดังกล่าว รวมทั้งมอบหมายให้กรมโยธาธิการและผังเมือง กําหนดการจัดทําผังเมืองเฉพาะ เพื่อให้การพัฒนา หมู่เกาะพีพี่เป็นไปอย่างมีทิศทางที่ชัดเจน มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และคงความสวยงามอย่างยั่งยืน
คําตอบข้อ 3 ขอเรียนว่า การสร้างสัญลักษณ์และความประทับใจให้นักท่องเที่ยวนั้น จังหวัดกระบี่ได้ให้ความสําคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวให้มี ความสวยงามและคงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ รวมทั้งจัดให้มีบริการพื้นฐานที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับ การรักษาไว้ซึ่งความมีเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น ความมีน้ําใจไมตรีของผู้คน มีความน่าอยู่น่าเที่ยว อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนเกาะพีพี จังหวัดได้เน้นการพัฒนาศักยภาพ ความรู้และทักษะในการทํางานที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว โดยให้ส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ของจังหวัดจัดทําโครงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ เจ้าของธุรกิจการท่องเที่ยวและพนักงาน รวมทั้งประชาชน ในพื้นที่เพื่อพัฒนาทักษะการทํางานและการบริการเพื่อสร้างความพึงพอใจและความประทับใจแก่นักท่องเที่ยว รวมทั้งการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจิตสํานึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
สําหรับมาตรการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดกระบี่ ได้จัดทําแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา จังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2547 - 24960 โดยกําหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาจังหวัดกระบี่ไว้ว่าเป็น “ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และประวัติศาสตร์ เป็นแหล่งเกษตร อุตสาหกรรมที่ยั่งยืน” โดยในด้านการท่องเที่ยวมีเป้าประสงค์ที่จะทําให้จังหวัดกระบี่มีรายได้จากการท่องเที่ยวในระยะ 4 ปี รวม 91,252 ล้านบาท และได้กําหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการท่องเที่ยวไว้ 5 ด้าน คือ
1. การพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว 2. การอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 3 การรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยว 4. การจัดทําผังเมืองเฉพาะ 5. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น จังหวัดมีโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ในการฝึกอบรมพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานด้านบริการ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวซึ่งจะดําเนินการ ในพื้นที่ แหล่งท่องเที่ยวเกาะพีพีและแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ในจังหวัดด้วย โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานด้านการให้บริการของผู้ประกอบอาชีพด้านการท่องเที่ยว และบุคลากรเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในปี พ.ศ.2547 จํานวน 1,496 คน เพื่อสร้างความประทับใจแก่ นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเที่ยวในจังหวัดกระบี่ โดยมีสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษากระบี่ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดกระบี่ เทศบาลเมืองกระบี่ และตํารวจภูธรจังหวัดกระบี่ เป็นหน่วยดําเนินการ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 3,000,000 บาท และจะพิจารณาโครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดําเนินการ ทั้งนี้ อยู่ในระหว่างการจัดทํา ยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดต่างๆ ซึ่งถือเป็นนโยบายหลักของรัฐบาล
ที่มา ราชกิจจานุเบกษา