เมื่อ “4 กุมาร” อำลาเก้าอี้ เตรียม “งบฯ64” กี่บาทให้ รมต.คนใหม่

16 ก.ค. 2563 | 17:45 น.
อัปเดตล่าสุด :17 ก.ค. 2563 | 12:10 น.

รายงานพิเศษ : เมื่อ “4 กุมาร” อำลาเก้าอี้ เตรียม “งบฯ64” กี่บาทให้รมต.คนใหม่

อีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ทางการเมือง เมื่อวันที่ 16 ก.ค. ที่ผ่านมา  กลุ่ม “4 กุมาร” ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี ถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ผ่าน นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อเปิดทางให้มีการปรับครม. 

 

โดย 4 กุมาร ประกอบด้วย นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง 

กลุ่ม 4 กุมาร

จะสังเกตได้ว่า 3 ใน 4 กุมาร นั้นเป็นถึงระดับรัฐมนตรีใน 3 กระทรวง ซึ่งกูรูการเมืองมองว่า เป็นการลาออกหลังจาก "ร่างพระราชบัญญุัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี 2564" หรือ พ.ร.บ.งบ 64 เข้าสภาฯแล้ว และผ่านการพิจารณวาระ 1 ของสภาผู้แทนราษฎร กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (กมธ. งบปี 2564) เพื่อปรับแก้ตัวเลข แปรญัติ เพื่อกลับเข้าพิจารณาในสภาวาระ 2-3 เพื่อออกเป็นพระราชบัญญัติฯ บังคับใช้ต่อไป

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯรับปรับครม. ต้องทำให้เร็ว ไม่เกินส.ค.นี้

สมคิด-4 กุมาร ยื่นลาออก (ประมวลภาพ+คลิป)

“นฤมล” มั่นใจ “ปรับครม.” นายกฯเลือกคนมีความรู้ความสามารถ

นายกฯ ดึง "ปรีดี ดาวฉาย" นั่ง รมว.คลัง “ไพรินทร์” คุมพลังงาน

 

นั่นคือสิ่งที่เบาใจได้ระดับหนึ่งว่างบประมาณจะไม่สะดุด แต่ก็น่าสนใจด้วยว่า 3 กระทรวง ที่รัฐมนตรี 3 คน ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งครั้งนี้ มีเม็ดเงินที่จะได้รับการจัดสรรงบประมาณตามที่ระบุใน ร่างพ.ร.บ.งบ 64 กี่บาท ก่อนมีการปรับแก้ตัวเลขของกมธ. และก่อนที่รัฐมนตรีคนต่อไปจะมารับไม้ต่อในการทำหน้าที่ 

นายอุตตม สาวนายน ลาออกจาก รมว.คลัง

เริ่มจาก “กระทรวงการคลัง” ที่นายอุตตม สาวนายน ลาออกจากรมว.คลัง มีงบประมาณระบุใน ร่างพ.ร.บ.งบฯ 64 ทั้งสิ้น 268,718.6 ล้านบาท แบ่งเป็น หน่วยงานต่างๆภายใต้กระทรวงการคลัง ดังนี้ 

- สำนักงานปลัดกระทรวง 1,591.5 ล้านบาท

- กรมธนารักษ์ 3,744.5 ล้านบาท

- กรมบัญชีกลาง 1,621.1 ล้านบาท

- กรมศุลกากร 3,978.3 ล้านบาท 

- กรมสรรพสามิต 2,562 ล้านบาท

- กรมสรรพากร 10,130.8 ล้านบาท 

- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ 175.9 ล้านบาท

- สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ 243,299.4 ล้านบาท

- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 1,015 ล้านบาท

- สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อบ้าน(องค์การมหาชน) 600.1 ล้านบาท 

 

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์  ลาออกจาก รมว.อุดมศึกษา ฯ

 

ต่อมา “กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” ที่นายสุวิทย์ เมษินทรีย์  ลาออกจาก รมว.อุดมศึกษา ฯ มีงบประมาณปี 2564 ทั้งสิ้น 129,415 ล้านบาท แบ่งเป็น

- สำนักงานปลัดกระทรวง 8,545.4 ล้านบาท 

- กรมวิทยาศาสตร์บริการ 413.8 ล้านบาท

- สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 804.9 ล้านบาท

- สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ 455.5 ล้านบาท

- สถาบันวิทยาลัยชุมชน 651.7 ล้านบาท

- สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ 502.3 ล้านบาท 

- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 230.8 ล้านบาท

- สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งขาติ 5,209.8 ล้านบาท 

- สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 221.7 ล้านบาท

- ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน) 119.3 ล้านบาท

- สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) 418.7 ล้านบาท

- สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) 518.2 ล้านบาท

- สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) 401.9 ล้านบาท 

- สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) 256.8 ล้านบาท

- สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) 319.4 ล้านบาท

- สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) 2,371.7 ล้านบาท  

- และกระจายอยู่ตามมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ 

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ลาออกจาก รมว.พลังงาน

และสุดท้าย “กระทรวงพลังงาน” ที่นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ลาออกจากรมว.พลังงาน มีงบประมาณระบุใน ร่างพ.ร.บ.งบฯ 64 ทั้งสิ้น 2,390.7 ล้านบาท แบ่งเป็น

- สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน 610.2 ล้านบาท

- กรมเชื่อเพลิงธรรมชาติ 205 ล้านบาท

- กรมธุรกิจพลังงาน 260 ล้านบาท

- กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน 1,185.3 ล้านบาท

- สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน 130.2 ล้านบาท
 

แต่ทั้งนี้ในส่วนของกระทรวงพลังงาน จะพิจารณาเพียงงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร อาจจะไม่เห็นภาพ เพราะอย่าลืมว่า “อำนาจในการจัดสรรพิจารณาโครงการ” ที่รมว.พลังงานได้กำกับบมจ.และรัฐวิสาหกิจใหญ่สองแห่งพร้อมกับบริษัทในเครือ คือ ปตท.และ กฟผ. ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญของทุกรัฐบาลในการดำเนินนโยบายด้านพลังงาน ซึ่งหมายถึงการบริหารปากท้องประขาชนอีกทาง

เมื่อ “4 กุมาร” อำลาเก้าอี้ เตรียม “งบฯ64” กี่บาทให้ รมต.คนใหม่

รวมทั้งการจัดสรรโรงไฟฟ้าใหม่ แผนพีดีพี หรือแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า เพราะรมว.พลังงาน นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานคณะกรรมการเกี่ยวกับธุรกิจพลังงานอีกหลายคณะ ที่มีเม็ดเงินมหาศาลอยู่ในแต่ละโครงการ