ม็อบควรรู้ วิธีป้องกันตัวเองเมื่อโดน "แก๊สน้ำตา"

17 พ.ย. 2563 | 11:26 น.
อัปเดตล่าสุด :18 พ.ย. 2563 | 04:54 น.

สิ่งที่ม็อบควรรู้ วิธีปฏิบัติตัวเองเมื่อโดน “แก๊สน้ำตา” ต้องทำอย่างไร เช็กรายละเอียดได้ที่นี่

วันนี้ 17 พ.ย. จากกรณีที่มีการนัดหมายการชุมนุม ของเครือข่าย "กลุ่มคณะราษฎร 2563” ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มมวลชนกลุ่มต่างๆ อาทิ แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ประชาชนปลดแอก เยาวชนปลดแอก กลุ่มนักเรียนเลวฯ  นัดชุมนุมใหญ่คณะราษฎรล้อมสภา ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ เกาะติดแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เกาะติด สถานการณ์การชุมนุม ม็อบคณะราษฎร 17 พ.ย.63

ม็อบคณะราษฎร ปะทะ มวลชนปกป้องสถาบันฯ เหตุการณ์คลี่คลาย

ประมวลภาพ วินาทีฉีดน้ำใส่ "ม็อบคณะราษฎร" หลังพยายามรื้อแนวกั้นหน้ารัฐสภา

ตร.แจง ฉีดน้ำผสมแก๊สน้ำตาใส่ม็อบคณะราษฎร ยันไม่ใช่สลายการชุมนุม

 

หลังจาก “กลุ่มคณะราษฏร 2563” รวมตัวกันตามนัดหมาย และ ได้เคลื่อนขบวนไปยังรัฐสภาฯ ช่วงเวลาประมาณบ่ายสามโมงครึ่ง เกิดเหตุการณ์ชุลมุน โดยพ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ชี้แจงสถานการณ์ที่หน้ารัฐสภาถึงขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ว่า ถ้าเจ้าหน้าที่เตือนผู้ชุมนุมแล้ว 3-4 ครั้ง เพราะมีความพยายามจะรื้อแนวกั้น เมื่อเตือนแล้วไม่ฟังครั้งแรกจึงฉีดน้ำจากน้ำเปล่าไม่มีการผสมแก๊สน้ำตา แต่ผู้ชุมนุมยังไม่หยุด  จากนั้นจึงฉีดน้ำตามยุทธวิธี ที่มีการผสมแก๊สน้ำตา ยืนยันว่าว่าการปฏิบัติว่าไม่ใช่การสลายการชุมนุม แต่เป็นการบังคับใช้กฎหมายตามปกติ

ทำความรู้จัก “แก๊สน้ำตา”

 

"แก๊สน้ำตา" หรือ tear gas จริงๆ แล้วไม่ใช่ แก๊ส แต่เป็นของแข็งหรือของเหลว (โปรโมอะซีโตน หรือ ไซลิลโบรไมด์) ที่ถูกให้เป็นอนุภาคขนาดเล็กมากไปทำปฏิกิริยากับเยื่อบุตาและแก้วตาดำ กระตุ้นต่อมประสาทสัมผัสด้านความเจ็บปวด ไม่เพียงแต่จะทำให้เราเเสบตา น้ำตาไหล แล้วนั้น แก๊สน้ำตา ยังทำให้เราหายใจลำบาก แสบจมูก คลื่นไส้ อาเจียน และเป็นอันตรายมากสำหรับคนที่เป็นโรคหอบหืด หรือ คนที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง ถ้าสัมผัสถูกผิวหนังก็จะรู้สึกระคายเคือง บวมอักเสบ หากสูดดมไปนานๆเราจะรู้สึกเหมือนผิวหนังถูกไฟไหม้ ตาบอด หูหนวก ถึงแก่ชีวิตได้ โดยส่วนใหญ่เราจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าจุดประสงค์การใช้แก๊สน้ำตาเพื่อการสลายกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงจำนวนมาก ซึ่งแก๊สน้ำตานี้เริ่มใช้ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา

 

ต้องรีบใช้น้ำเย็นล้างหน้า ล้างตา ล้างจมูก ไอ บ้วนน้ำลาย ขับเสมหะ เพื่อขับเอาแก๊สน้ำตาที่อาจจะเล็ดลอดเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจออกมาและไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

 

การออกฤทธิ์ของแก๊สน้ำตา

การออกฤทธิ์ของแก๊สน้ำตาไม่ได้ออกฤทธิ์เฉพาะที่ดวงตา/ต่อมน้ำตาเท่านั้น อวัยวะอื่น ๆ สามารถ ได้รับความเสียหาย/ได้รับบาดเจ็บได้เช่นกัน


 

อาการ/การออกฤทธิ์ของแก๊สน้ำตา หากสัมผัสกับแก๊สน้ำตาที่สามารถสังเกตได้ทันทีเมื่อได้รับแก๊สน้ำตาโดยตรงจะส่งผลให้

  • กรณีบริเวณดวงตา จะเกิดอาการแสบตา ตาแดง น้ำตาไหล มองเห็นภาพไม่ชัด
  • กรณีระบบทางเดินหายใจ เกิดอาการแสบร้อนจมูก หรือบางรายเกิดอาการบวม
  • กรณีบริเวณปากระบบย่อยอาหาร เกิดอาการแสบปาก แสบคอ กลืนลำบาก บางรายอาจเกิดอาการน้ำลายยืด แก๊สน้ำตาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการอาเจียน
  • บริเวณผิวหนัง อาจจะเกิดผื่น อาการแดงได้

กรณีที่ได้รับแก๊สน้ำตาเป็นเวลานานหรือเยอะเกินไป (Long-lasting exposure or exposure to a large dose)

  • สามารถเกิดอาการตาบอดได้ หรือหากได้รับบ่อย ๆ เป็นเวลานานอาจเกิดต้อหินได้ ซึ่งนำไปสู่การตา บอดถาวร
  • บางรายสามารถตายทันทีได้ เนื่องจากรับสารเคมีเข้าไปหลายชนิด ทำให้ทางเดินหายใจ/ปอด ให้ได้รับความเสียหายจากการกัดกร่อนจากสารเคมี และสุดท้ายทางเดินหายใจล้มเหลว

การได้รับแก๊สน้ำตามีความเสี่ยงทำให้เกิดผลกระทบระยะยาวได้โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับโดยตรง หรืออยู่ในพื้นที่ปิดขณะที่มีการใช้แก๊สน้ำตา เช่น เกิดแผลเป็น เป็นต้อหิน ต้อกระจก จนไปถึงปัญหาเกี่ยวกับ การหายใจ

 

วิธีการป้องกันตัวเอง /สิ่งที่ต้องทำหากตัวเองได้รับแก๊สน้ำตา

  • ทันทีที่ทราบว่าตนเองโดนแก๊สน้ำตาให้ตั้งสติและออกจากพื้นที่ดังกล่าวให้ไวที่สุด
  • หาพื้นที่ที่มีอากาศโล่ง และอากาศบริสุทธิ์
  • กรณีที่แก๊สน้ำตาถูกปล่อยที่กลางแจ้ง ให้ออกจากพื้นที่นั้นทันทีและพยายามย้ายไปพื้นที่ต้นลม
  • พยายามขึ้นที่สูงเอาไว้เนื่องจาก แก๊สน้ำตาหนังกว่าอากาศมันจะลอยต่ำ ๆ
  • กรณีที่แก๊สน้ำตาถูกปล่อยในอาคาร/พื้นที่ปิด ให้รีบออกจากอาคารหรือพื้นที่นั้นทันที
  • หากมีความจำเป็นต้องชุมนุมต่อให้หาพื้นที่พัก / จุดนัดพบใหม่ที่ห่างออกไปเพื่อหลีกเลี่ยงการรับแก๊สน้ำตาอีกครั้ง
  • หากคุณมั่นใจว่าคุณได้สัมผัสกับแก๊สน้ำตามาให้คุณเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที อาบน้ำล้างทั้งร่างกายก่อน แล้วไปพบแพทย์ทันที่เพื่อตรวจเช็คร่างกายว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่
  • การถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนกับแก๊สน้ำตานั้น เพื่อลดอาการระคายเคืองจากแก๊สน้ำตาซ้ำ กรณีเสื้อผ้าที่ต้องดึงผ่านศีรษะ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) แนะนำว่าให้ตัดทิ้งดีกว่าเลือกที่จะถอดผ่านศีรษะ เพื่อลดการสัมผัสกับอนุภาคของแก๊สน้ำตา
  • หากจำเป็นต้องช่วยคนอื่นถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อน ทำให้แน่ใจว่าคุณจะได้สัมผัสกับเสื้อผ้าเหล่านั้นโดยตรงเนื่องจากคุณอาจจะได้รับบาดเจ็บไปด้วย
  • การชำระล้างร่างกาย ควรล้างร่างกายทันที่ ด้วยน้ำสะอาดและควรใช้สบู่ล้าง เพื่อให้สบู่ไปจับตัวกับสารเคมีที่ระคายเคืองต่อผิวแล้วหลุดไปเร็วขึ้น
  • หากบริเวณดวงตาได้รับแก๊สน้ำตาโดยตรงควรล้างด้วยน้ำเปล่าธรรมดาที่ สะอาด ประมาณ 10 – 15 นาที
  • หากสวมคอนเทคเลนส์ ให้ถอดทิ้งทันที
  • เครื่องประดับ อื่น ๆ เช่น นาฬิกา แว่นตา สร้อย ฯลฯ หากรับการสัมผัส จากแก๊สน้ำตาเช่นกัน ให้ถอดออกแล้วล้างให้สะอาดก่อนนำกลับมาใส่
  • ทุกอย่างที่ทิ้งให้ทิ้งรวมกับเสื้อผ้าและสิ่งของที่ปนเปื้อน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นสัมผัสต่อ