18 พฤศจิกายน 2563 ท่ามกลางอุณหภูมิทางการเมืองกำลังร้อนแรงทั้งในและนอกสภาอยู่ในขณะนี้ การประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อพิจารณาญัตติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม รวม 6 ฉบับ ซึ่งเสนอโดย ส.ส. และอีก 1 ฉบับที่เพิ่มมาของภาคประชาชน โดยไอลอว์ มีขึ้นในวันนี้เป็นวันที่สองกำลังรอลุ้นผลการลงมติของสมาชิกรัฐสภานั้น
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง มติวิปรัฐบาลในการลงมติญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ฉบับว่า เมื่อวิปรัฐบาลมีมติให้สมาชิกพรรคร่วมรัฐบาลทุกคน ได้ลงมติในแนวทางเดียวกัน เพื่อความเป็นเอกภาพของพรรคร่วมรัฐบาล โดยกำหนดให้มีการลงมติใน 3 กลุ่ม ดังนี้
1.มีมติรับหลักการใน 2 ญัตติของพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคร่วมฝ่ายค้าน ที่มีเนื้อหาและหลักการเดียวกัน คือญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 และการจัดตั้ง ส.ส.ร. ซึ่งเป็นแนวจากผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ศึกษาปัญหาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แห่งราชณาจักรไทยปี 2560
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รู้จัก "ไอลอว์" รู้จัก "จอน อึ๊งภากรณ์"
ตำรวจ เตรียมพร้อมขั้นสูงสุด รับมือ ม็อบราษฎร
รับมือ "ม็อบราษฎร" จัดกำลัง 14 กองร้อยคุมเข้ม สตช.
ปิดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ขรก.เลิกงานก่อนเวลา หลังม็อบประกาศใช้พื้นที่
2.มีมติงดออกเสียงใน4ญัตติของพรรคร่วมฝ่ายค้าน ทั้งๆที่เป็นประเด็นย่อยในรัฐธรรมนูญ เป็นการแก้ไขในรายมาตรา เช่น วิธีการเลือกตั้ง เปลี่ยนเป็นการใช้บัตรเลือกตั้ง2ใบ และการแก้ไขมาตรา159 มาตรา279 และมาตรา 272 ยกเลิกการให้สิทธิ์สมาชิกวุฒิสภาโหวตเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นการแก้ไขรายมาตรา ที่มีสมาชิกวุฒิสภาหลายคนอภิปรายสนับสนุนด้วยแต่น่าแปลกใจที่พรรคร่วมรัฐบาลกลับไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขในประเด็นเหล่านี้ ทั้งที่เป็นหลักประกันว่า ถ้ามีการยุบสภาระหว่างมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็สามารถใช้รัฐธรรมนูญปี 2560 ที่ได้รับการแก้ไขแล้วบังคับใช้ได้อย่างเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
3.ญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนของกลุ่มไอลอว์ ที่วิปรัฐบาลยังไม่มีมติที่ชัดเจน ต้องรอฟังการอภิปรายและคำชี้แจงของผู้เสนอก่อนนั้น น่าจะเป็นการมีมติในลักษณะแก้เกี้ยวมากกว่า เพราะวิปรัฐบาลน่ามีธงคำตอบอยู่ในใจ ไม่รับหลักการร่างรัฐธรรมนูนฉบับประชาชน แต่เพื่อไม่ต้องการหักดิบจนเกิดแรงปะทะมากจนเกินไป จึงอ้างเหตุผลข้อฟังเหตุผลก่อน แต่จากการอภิปรายของสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาล และสมาชิกวุฒิสภา มีสัญญาณชัดเจนว่าจะไม่รับหลักการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนอย่างแน่นอน ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายที่รัฐสภา ละเลย ไม่ให้ความสำคัญกับการเมืองภาคประชาชน และเป็นการปิดโอกาสประชาชนไม่ให้มีส่วนร่วมกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้
ส่วนตัวเห็นว่าเพื่อเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยให้ทุกคนมีส่วนร่วม และเป็นการแก้ปัญหาวิกฤตทางการเมืองในขณะนี้ สมาชิกรัฐสภาควรจะ ลงมติรับหลักการทั้ง7ฉบับไว้ก่อน เพื่อนำมาแปรญัตติในวาระ2 แต่ก็เป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน สิ่งที่เป็นไปได้มากที่สุด ก็คือการลงมติรับหลักการได้เพียง2ฉบับ คือญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา256เท่านั้น