เอชอาร์สร้างผลกระทบเชิงบวกองค์กร

21 ก.พ. 2564 | 02:15 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ก.พ. 2564 | 02:16 น.

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในหลายๆ องค์กร หลังจากได้รับผลกระทบจากกาแรพร่ระบาดของโควิด -19 ทำให้รูปแบบการทำงานต้องปรับเปลี่ยน เอชอาร์ หรือ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ต้องทำหน้าที่หนักขึ้น และเป็นเพื่อคู่คิดกับซีอีโอมากยิ่งขึ้น "พรทิพย์ อัยยิมาพันธ์" ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ แพคริม กรุ๊ป ได้เปิดเผยในงาน สัมนาออนไลน์ “How HR can make a greater impact in the 2nd wave” ว่า HR สามารถสร้างผลกระทบที่มากขึ้นในคลื่นระลอกสองโควิด ซึ่งสามารถสรุปได้ 4 ด้าน คือ 1. กล้าท้าทายกรอบความคิดเดิมๆ 2. สร้างองค์กรที่แข็งแกร่งและยั่งยืน 3. มุ่งเน้นที่ผลกระทบและผลลัพธ์ และ 4. สร้างระบบนิเวศน์ที่ช่วยเพิ่มพลังให้ผู้นำหน่วยธุรกิจ

พรทิพย์ อัยยิมาพันธ์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ แพคริม กรุ๊ป

1.  กล้าท้าทายกรอบความคิดเดิมๆ  (challenge our paradigm) HR ต้อง think big และกล้าท้าทายกรอบความคิดเดิมๆ โดยการ เปลี่ยนจากการมุ่งเน้นการพัฒนาที่ความสามารถ (competency) สู่การโฟกัสที่ ผลกระทบและผลลัพธ์ (impacts & results) นอกจากนี้ ต้องขยับจากการควบคุม (control) ไปสู่การเพิ่มพลัง (empower) เพราะหน้าที่ของผู้นำ ไม่ใช่แค่การเป็นผู้กำหนดนโยบาย หรือคนคอยคุมกฎ หน้าที่ของของผู้นำ คือ การ empower ทีม

รวมถึงยังต้องขยับจาก coi  สู่ “go beyond coi”  ขยาย coi (center of influence) หรือ พื้นที่ๆ เรามีความเชี่ยวชาญ หรือมีอิทธิพลของเราให้ได้มากที่สุด HR จะไม่มองแค่บัดเจ็ท ว่ามีอยู่เท่าไหร่ บทบาท ข้อจำกัดฉันอยู่ตรงไหน แต่ต้องกล้าที่จะก้าวออกไปจากกรอบเดิมจริงๆ แล้วไปคุยกับลูกค้า ลูกค้าอาจจะให้ทรัพยากร ให้การสนับสนุนมากขึ้นก็ได้ อีกสิ่งสำคัญคือ Quantity & Quality วันนี้ไม่ใช่ยิ่งเยอะจะยิ่งดี วันนี้คนต้องการอะไรที่โดน ที่มันป็นอิมแพค แล้วไม่ใช่เป็น event แต่เป็น  process เพราะการพัฒนาสิ่งมีชีวิตไม่ใช่เป็นแค่กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง แต่ทุกอย่างมันเชื่อมไปด้วยกัน ต้องมองแบบองค์รวมและเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ สุดท้าย คือ Survival & Sustainability เรื่องคนเราไม่ได้มองระยะสั้น เราไม่ได้มองแค่เพื่ออยู่รอดในปีนี้ แต่เราจะต้องมองว่า แล้วเราจะทำให้องค์กรยั่งยืนไปอีก 5-10 ปีต่อยังไง

2. สร้างองค์กรที่แข็งแกร่งและยั่งยืน (build a great & enduring organization) 4  ด้านหลักที่ HR  สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมาก คือ ทรานส์ฟอร์มวัฒนธรรมองค์กร (culture transformation), ร่วมผลักดันกลยุทธ์สำคัญขององค์กรให้สำเร็จ (execute must-win strategies), สร้างผู้นำในทุกระดับ ต้องสร้างลีดเดอร์ให้แข็งแรงมากขึ้น และไม่ใช่แค่ลีดเดอร์ไม่กี่คน แต่ต้องทุกระดับ และ ต้องสร้าง power skills ซึ่งเป็นพื้นฐานของความยั่งยืน นอกจากเทคนิคัลสกิล

3. มุ่งเน้นที่ผลกระทบและผลลัพธ์ (Focus on impact & results) การเรียนรู้เพียงลำพังยังไม่พอ การเรียนรู้ต้องนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้วย และต้องมีผลกระทบต่อ RoI (ผลตอบแทน/กำไร), business impacts, performance HR จะคงความสำคัญได้ก็ต่อเมื่อ สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจได้

4. สร้างระบบนิเวศน์ที่ช่วยเพิ่มพลังให้ผู้นำหน่วยธุรกิจ (build ecosystem to empower BU leader) สุขภาพองค์กร ก็คล้ายกับสุขภาพคน และถ้าต้องการสเกล ก็ต้องมีเครื่องมือมาช่วยเสริม นั่นคือ ต้องใช้เทคโนโลยี ซึ่งเอามาใช้ไม่ใช่แค่เพื่อทำให้กระบวนการต่างๆ มันดีขึ้น แต่ยังช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ดีขึ้น

นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40  หน้า 23 ฉบับที่ 3,654 วันที่ 18 - 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564