ส่งออกปศุสัตว์ปีหมูสดใส

28 ธ.ค. 2561 | 10:50 น.
อัปเดตล่าสุด :28 ธ.ค. 2561 | 17:50 น.
จ่อทำนิวไฮ 2.4 แสนล้าน

สัมภาษณ์ โดย อรอุมา ศรีสมัย
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) รายงานการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ของไทยไปตลาดโลก 10 เดือนแรกปี 2561 มีมูลค่า 1.1 ล้านล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ 1.126 ล้านล้านบาท หรือลดลง 2.1% สินค้าที่ส่งออกลดลงได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นํ้าตาลและผลิตภัณฑ์ ยางพารา และผลไม้ ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจโลกและผลกระทบจากสงครามทางการค้า ซึ่งตรงกันข้ามกับสินค้าเกษตรหมวดปศุสัตว์ที่การส่งออกในรอบปี 2561 ยังไปได้ดี ส่วนจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่องในปี 2562 หรือไม่นั้น “ฐานเศรษฐกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ นสพ. สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ถึงสถานการณ์ ทิศทาง แนวโน้ม ในปีหมูที่จะมาถึง

อธิบดี1 มั่นใจปี62พุ่ง2.4แสนล้าน

นสพ. สรวิศ กล่าวถึง ภาพรวมการส่งออกสินค้าเกษตรหมวดปศุสัตว์ของไทยในปี 2561 ว่า ขยายตัวเป็นที่น่าพอใจ คาดจะมีมูลค่ารวมกว่า 2.1 แสนล้านบาท ตัวเลขดังกล่าวนี้ทำให้เห็นถึงความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมทั้งในเรื่องของการควบคุม ป้องกันโรคและมาตรฐานของสินค้าส่งออก เฉพาะอย่างยิ่งมาตรฐานของสากล สารตกค้างและสวัสดิภาพของสัตว์ เฉพาะอย่างยิ่งตลาดสหภาพยุโรป (อียู) ที่ให้ความสำคัญในเรื่องเหล่านี้มาก ซึ่งจากแนวโน้มที่ยังดีต่อเนื่อง ทำให้คาดการณ์ส่งออกสินค้าปศุสัตว์ไทยในปี 2562 มีทิศทางแนวโน้มที่สดใส คาดส่งออกได้มูลค่าไม่ตํ่ากว่า 2.4 แสนล้านบาทไก่เนื้อลุ้นออร์เดอร์เพิ่ม S__18972675 สำหรับสินค้า “ไก่เนื้อ” ยังเป็นพระเอกมาอย่างต่อเนื่อง ภาพรวมจะมีการส่งออกประมาณกว่าแสนล้านบาท โดยปลายเดือนมกราคม 2562 ทางเจ้าหน้าที่อียู จะมาตรวจโรงงานไก่เนื้อของไทย ทางกรมปศุสัตว์ได้เตรียมการในเรื่องของการเข้มงวดปรับปรุงมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) และ HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point) อย่างเข้มงวด เชื่อว่าหากได้การรับรองโรงงานเพิ่มสินค้าก็มีโอกาสจะส่งออกได้เพิ่มขึ้น celebration-315079_1280 ส่วนตลาดจีน เวลานี้ส่งออกได้แล้ว 6 บริษัท จากที่มาตรวจรับรอง 19 บริษัท ยังเหลือ 13 บริษัท ทางกรมไม่ได้นิ่งนอนใจจะเร่งดำเนินการไปทวงถามในเรื่องผลการตรวจโรงงาน หากได้ครบทุกโรงงานก็จะส่งออกได้เพิ่ม เพราะตลาดจีนเป็นตลาดที่ใหญ่ มีกำลังการบริโภคมาก ปัจจุบันในจีนกำลังเผชิญปัญหาโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF) ระบาดถึง 96 จุดแล้วนับตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2561 เป็นต้นมา จึงทำให้ชาวจีนหันมาบริโภคเนื้อไก่เพิ่มขึ้น จึงเป็นอานิสงส์ของไทยจะได้ส่งออกเพิ่มขึ้น
อาหารสัตว์เลี้ยงโตไร้ลิมิต

dog-1861839_1920

ถัดจาก ไก่เนื้อ รองลงมา เป็นอาหารสัตว์เลี้ยง ปัจจุบันไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับต้นๆ ของโลก เห็นได้จากบริษัทยักษ์ใหญ่แบรนด์ข้ามชาติมาใช้ไทยเป็นฐานผลิต รวมถึงบริษัทของไทยเองก็ได้หันมาผลิตและส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงกันเพิ่มขึ้น จากย้อนไปกว่า 20 ปี ยอดการส่งออกแค่หลักพันล้าน แต่ปัจจุบันไม่ตํ่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท ถือเป็นเทรนด์โลกที่มาแรงมาก จากปัจจุบันสังคมเปลี่ยนไป การเลี้ยงสัตว์เปลี่ยนไปกลายเป็นเพื่อนมนุษย์ ดังนั้นการดูแลและการเอาใจใส่ก็มากยิ่งขึ้น นวัตกรรมอาหารที่จะเสริมเข้าไปทำให้ไทยได้เปรียบ มองว่าอาหารสัตว์จะเติบโตได้มากเพราะสามารถขายได้ทั่วโลก S__18972674 หมู-ไข่ไก่เน้นบริโภคภายใน egg-1510449_1920 น.สพ.สรวิศ กล่าวว่า ในส่วนของสุกร จะเน้นบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก ราคาในประเทศเริ่มดีขึ้น อุตสาหกรรมคาดว่าจะมีการพัฒนามาก ปัจจัยเสี่ยงก็คือต้นทุนส่วนใหญ่จะไปอยู่กับอาหารสัตว์ โดยรัฐบาล กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการสนับสนุนปลูกข้าวโพดประชารัฐจะทำให้เงินตราอยู่ในประเทศ เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรด้วย pigs-520896_1920 “ขณะนี้กรมได้กำชับด่านกักกันสัตว์ทุกด่านเข้มงวด มีการร่วมมือกันทุกภาคส่วนโดยเฉพาะสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติให้กรมปศุสัตว์ปรับปรุงด่าน รวมทั้งมีการปรับเข้าสู่มาตรฐานฟาร์มจะทำให้ผู้เลี้ยงควบคุมป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกรได้ หากสามารถป้องกันโรคได้ถึงกลางปี 2562 ถือว่าประสิทธิภาพยอดเยี่ยมแล้ว”

meat-1030729_1920

ส่วนในเรื่องของสุกรนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา กำลังศึกษาเรื่องสารตกค้างใช้เวลา 8 เดือน ขณะนี้มีรายงานผลมาบ้างแล้วว่าจะมีความเสี่ยงอย่างไร ระดับไหน ดังนั้นหากมีความเสี่ยงกับผู้บริโภคในประเทศคงจะต้องมีการพิจารณาในเรื่องนี้ egg-yolk-3193918_1920 เช่นเดียวกับ “ไข่ไก่” มาตรการต่างๆ ที่ออกมา 3 มาตรการ เพื่อแก้ไขปัญหาราคาตกตํ่า ทั้งการปรับลดปริมาณการผลิตไข่ไก่ ได้แก่ ปลดแม่ไก่ไข่ยืนกรง 1 ล้านตัว ส่งออกไข่ไก่ 61 ล้านฟองและปลดพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (พีเอส) อายุ 25-60 สัปดาห์ 1 แสนตัว พร้อมทบทวนแผนนำเข้าปู่ย่าพันธุ์ไก่ไข่ (จีพี) ให้ลดเหลือจำนวน 3,800 ตัว จากปีก่อนหน้านี้ขอนำเข้า 6,000 ตัวและพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (พีเอส) จำนวน 4.6 แสนตัว จาก 15 บริษัท จากปีที่แล้วขอนำเข้า 6 แสนตัว หากมาตรการต่างๆ ที่กล่าวมายังไม่สามารถดันราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มได้ที่ 2.50 บาทต่อฟอง หลังปีใหม่จะดันส่งออกไข่ไก่-ปลดแม่ไก่เพิ่ม S__18972679

ดันโคเนื้อ-โคนม-แพะ

barbecue-1239434_1920

“นอกจากสินค้าปศุสัตว์หลักๆ แล้ว ยังมีสินค้าที่กรมกำลังผลักดันให้เป็นดาวรุ่งตัวใหม่เสริมทัพการส่งออกให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ได้แก่ โคเนื้อ โดยเร่งปรับมาตรฐานจีเอ็มพี มองว่าตลาดนี้ไปได้ไกล จากปัจจุบันในประเทศก็ไม่เพียงพอต่อการบริโภค แม้ว่าจะมีโครงการรัฐบาลเข้ามาเติมเต็มคือ โครงการสร้างอาชีพระยะที่ 1-2 และโครงการโคบาลบูรพา ล่าสุดเริ่มที่จะเลี้ยงโคเนื้อที่ต่างประเทศเลี้ยงได้ เช่น โควากิว เป็นต้น เช่นเดียวกับโคนมไทยอยู่ในระดับชั้นนำของอาเซียนที่สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์นมไปได้ในหลายประเทศ อาทิ จีน และประเทศในกลุ่มอาเซียน ล่าสุดมาเลเซียก็สนใจจากคุณภาพนมโคไทยดี รวมทั้งแพะและแกะ ก็มีอนาคต สรุปแล้วภาพรวมสินค้าปศุสัตว์ไทยในปี 2562 สดใสเติบโตอย่างต่อเนื่อง” 595959859

หน้า 9 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,430 วันที่ 27-29 ธันวาคม 2561