ก้าวใหม่ "ก.เกษตรฯ" ใส่นวัตกรรม “AIC” ดึงชาวนาพลิกเกมสู้ผลิตข้าวคุณภาพ

27 ส.ค. 2564 | 14:27 น.
อัปเดตล่าสุด :27 ส.ค. 2564 | 21:54 น.

“อลงกรณ์” เปิดเกมรุก ดึงสมาคมชาวนาฯ พลิกเกมสู้ ผลิตข้าวคุณภาพ หลังส่งออกเจอมรสุม ราคาต่ำสุดรอบ 2-4 ปี แต่เจอต้นทุนค่าขนส่งสูง เลยขายข้าวไม่ได้ “ปราโมทย์-สานิตย์” เล็งพัฒนานา เป็นแหล่งรายได้ สร้างตะกร้าใส่เงิน เสริมรายได้หลักมากกว่าการขายข้าว

ปราโมทย์ เจริญศิลป์

นาย ปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย   เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” จากสถานการณ์ราคาข้าวในปีนี้ ชาวนารับทราบเป็นอย่างดีว่าผู้ส่งออกข้าวเผชิญปัญหาข้าว Wข้าวขาว-หอมมะลิ" ราคาถูกต่ำสุด 2-4 ปี แต่ขายไม่ได้ มาเจอต้นทุนค่าขนส่งสูงแต่กลับมีข่าวพ่อค้าอาหารสัตว์ ต้องการ ให้รัฐลดภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ เพื่อนำเข้า ข้าวสาลี ข้าวโพด

 

“ผมในฐานะนายกสมาคม ได้ประกาศกับคณะกรรมการบริหารสมาคม ว่า  "เราจะไม่ทำให้ ท่านนายกรัฐมนตรีผิดหวัง" โดยมอบหมายให้อุปนายก แต่ละพื้นที่ ร่วมสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรสมาชิกผลิตข้าวคุณภาพดี ใช้ต้นทุนต่ำ ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี”

 

นายปราโมทย์ กล่าวว่า ในเบื้องต้นทางสมาคมได้รับ คุณอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีเกษตรแห่งประเทศไทย (AIC) โดย มอบหมายให้คุณสานิตย์ จิตต์นุพงศ์ อุปนายกสมาคม และในฐานะ ประธานยุทธศาสตร์ฯ จัดทำแผน "พัฒนานา" ให้เป็นแหล่งรายได้ผลิตข้าว ฟางอัดก้อน ถั่วเขียว ผักพืชสมุนไพร โดยใช้ภูมิอัตลักษณ์ของ พื้นที่สมาชิกเป็นตัวตั้ง เดินสายเข้าพบระดับนโยบาย

“คุณอลงกรณ์ ได้ให้คำแนะนำให้ สมาชิกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ประชุมผ่านระบบ ZOOM ออนไลน์ พบกับ ผู้บริหารAIC จังหวัด เพื่อประสานงานกับนักวิจัย นำงานวิจัยที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในแปลงนาอย่างระบบ ซึ่ง นาย สานิตย์  จิตต์นุพงศ์ ประธานยุทธศาสตร์ ได้แจ้งท่านอลงกรณ์ ให้ทราบว่า สมาชิกสมาคมฯ จังหวัดกำแพงเพชร ได้เข้าหารือกับ AIC กำแพงเพชร ซึ่งอยู่ภายใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏ กำแพงเพชร”

 

ประชุมผ่าน ZOOM ออนไลน์

 

ล่าสุดเกิดเป็น “โครงการ Zero Waste, Zero BurnW  โดย ผศ ดร. ปรัชญา ชะอุ่มผล เป็นหัวหน้าทีม และ บริษัท สยามคูโบต้า เป็นพันธมิตร ด้านเครื่องจักร และเทคโนโลยี ในกิจกรรม เปลี่ยนฟางเป็นปุ๋ย และแปรรูปฟางสร้างรายได้เสริม (เลิกเผาฟาง)

 

สำหรับการลดต้นทุนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี นั้น จะมีโครงการ IoT เพื่อการเกษตร และ ไบโอเทคโนโลยี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มาเสริมการทำนาในเทคนิคเปียกสลับแห้ง

 

สานิตย์ จิตต์นุพงศ์

ต่อกรณีดังกล่าวนี้ นายสานิตย์ จิตต์นุพงศ์ อุปนายกสมาคม และในฐานะ ประธานยุทธศาสตร์ฯ จัดทำแผน 'พัฒนานา" กล่าวถึงเรื่องยุทธศาสตร์ "พัฒนานา" เป็นแหล่งรายได้ จะเป็น การยกระดับแนวคิดจากเกษตรคุ้นเคย มาสู่ เกษตร  SME เพื่อให้เกษตรกรปรับมุมมอง การสร้างรายได้จากผลผลิตที่ได้รับความต้องการในตลาดโลก เกิดการพัฒนากระบวนการบริหาร เชิงพื้นที่ ทำให้สร้างรายรับให้สูงกว่ารายจ่าย

 

“ประเด็นที่น่าสนใจคือ แนวโน้ม พฤศจิกายนการบริโภค โปรตีนจากพืช ทำให้เกิดอุตสาหกรรมอาหารแบบHybrid products และPlant-based ส่งผลให้เกิดความต้องการผลผลิตมาตรฐานปลอดภัย สูงขึ้น ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ทั้งนี้ สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย มีผู้นำ ที่เชียวชาญเรื่องผักมาตรฐานQ ,คือ ท่านกำนันบัญชา พวงสวัสดิ์ ประธานโครงการพืชขนานนา ของสมาคมฯ ที่มีความชำนาญในตลาดส่งออกผักไปอียู เกือบ20 ปี " นายสานิตย์ กล่าวย้ำตอนท้าย

 

นายปราโมทย์ กล่าวทิ้งสรุปว่า  แผนยุทธศาสตร์ "พัฒนานาข้าว" เรามีบุคคลากรที่มีความชำนาญในอาชีพเกษตรกรรม หลากหลาย เราจะเพิ่มรายได้ ด้วยการเพิ่ม ชนิดผลผลิตเกษตรอื่นๆ เช่น นาปรัง ปรับเป็น ถั่วเขียว ตลอดจน ปรับการผลิตข้าวให้มีคุณภาพสูงขึ้น และต้นทุนต่ำลง เราจะช่วยรัฐบาล ด้วยการออกแบบออกแรง ร่วมกับภาคเอกชนที่สนใจ สร้างคุณค่าร่วมกัน กับ "ชาวนา" สู่เกษตรกรรมยั่งยืน