รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า ได้รวบรวมผลงานรอบ 1 ปี ของปีงบประมาณ 2564 ภายใต้การบริหารงานของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เดินหน้า ขับเคลื่อนภาคเกษตร ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ 15 แนวทาง จนเกิดเป็น ผลงานสำเร็จเป็นที่ประจักษ์สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ดังนี้
-แก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ตามนโยบาย “ป้อง ปราม ปราบ” โดย FAO และ EU ได้เชิญ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งถือเป็นรัฐมนตรี 1 เดียวของทวีปเอเชีย ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์บนเวทีนานาชาติ ถึงความสำเร็จในการเป็นต้นแบบการแก้ไขปัญหา IUU ของไทย
- พร้อมแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ต่ออายุหนังสือคนประจำเรือ หรือ Seabook ให้กับคนต่างด้าวที่ได้รับหนังสือคนประจำเรือ
- เดินหน้าสร้างมูลค่าจากสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น สร้าง แฟลตฟอร์มตลาด Online และ Offline
- บริหารจัดการสินค้าเกษตรตาม Agri-Map
- ส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่
-ยกระดับคุณภาพของสินค้าเกษตรไทย สร้างความเชื่อมั่น ด้านความปลอดภัย ให้เป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งในและต่างประเทศ
เร่
-เร่งแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะโครงการประกันรายได้ยางพารา
-ร่วมกับกระทรวงกลาโหม รับซื้อผลผลิตทางการเกษตร สนับสนุนพื้นที่จำหน่าย นำร่องหน้าค่ายทหาร-หน่วยงานในสังกัด 42 แห่ง 25 จังหวัด เป็นตลาดซื้อ-ขายสินค้าเกษตร
- ผลักดันสินค้าเกษตรชีวภาพ ขับเคลื่อนพัฒนาพืชสมุนไพร ไทย จัดตั้งเกษตรแปลงใหญ่สมุนไพร 34 แปลง เชื่อมโยงตลอดห่วงโซ่อุปทาน ยึดหลัก “ตลาดนำการผลิต”
-กำหนดนโยบายให้ไทยเป็นฮับแมลงโลก เปิดตลาดส่งออก ผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดไทยไปยังเม็กซิโกได้สำเร็จและยังมีกลุ่มบริษัทใหญ่ของญี่ปุ่นให้ความสนใจ
-จัดทำโครงการนำร่องพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม 2 ล้านไร่ ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรม 7 บริษัท 5 สินค้า ได้แก่ ยางพารา ปาล์ม น้ำมัน อ้อยโรงงาน ข้าวโพดหวาน และมะเขือเทศ
-การควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคลัมปี สกิน ในโคกระบือ จัดซื้อวัคซีน 5 ล้านโดส และชดเชยเยียวยาเกษตรกร
- เดินหน้ากลยุทธ์การส่งออกทุเรียน ด้วยระบบ Pre order platform เจาะตลาดจีน 1,400 ล้านคน ทุบสถิติส่งออกทุเรียนไทยไป จีน จำนวน 25 ตัน ในเวลาเพียง 45 นาที ซึ่งจีนได้ชื่นชมระบบ บริหารจัดการส่งออกผลไม้ของไทยว่ามีประสิทธิภาพ ปลอดภัย นอกจากนี้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน ยังจัดการแบบเฉียบขาด ด้วยการ ทลายขบวนการนำเข้าทุเรียนเวียดนามสวมสิทธิทุเรียนไทยส่งออกจีน
-ผลักดันนโยบายพืชแห่งอนาคต (Future Food Future Crop) พัฒนาพืชเศรษฐกิจ “กัญชา-กัญชง-กระท่อม โดยศูนย์ AIC 77 จังหวัดร่วมขับเคลื่อน
- พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรอาหารฮาลาลของไทยสู่ เป้าหมายฮับฮาลาลโลก เจาะกลุ่มประเทศมุสลิม 2 พันล้านคน
-พัฒนาระบบการขนส่งทางอากาศ Agriculture and Food Air Cargo Terminal : AFCT สำหรับการส่งออกสินค้าเกษตรและ อาหาร โดยจัดตั้ง”ศูนย์ตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตร-อาหาร” นำร่องที่ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง และท่าอากาศยานนานาชาติ สุวรรณภูมิ สู่เป้าหมายฮับอาเซียน
-ผลักดันนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก นำผลผลิตทางการ เกษตร เช่น ทุเรียนและลำไย สู่การดัดแปลงเมนูอาหารที่น่าสนใจ แปลกใหม่ เพื่อช่วยกระจายผลผลิต สร้างทางเลือกให้ผู้บริโภค และ ส่งเสริมอาหารไทยยอดนิยม ไปสู่สายตาชาวโลกให้กว้างยิ่งขึ้น
-ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดเผยแพร่ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริแก่เกษตรกร
-ช่วยเหลือด้านหนี้สิน ด้วยการชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อ ลดภาระดอกเบี้ยและต้นทุนในการประกอบอาชีพการเกษตร ให้แก่ สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 362,933 ราย
-ส่งเสริมความรู้เทคโนโลยี นวัตกรรมด้านการเกษตรและ พัฒนาอาชีพผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อ ยกระดับศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจให้เป็น Smart Farmer
- จัดการมลพิษที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสนับสนุน การลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในภาคเกษตร การปลูกต้นไม้ยืนต้นโตเร็ว ส่งเสริมการไถกลบเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร
- เพิ่มผลิตภาพของน้ำทั้งระบบ ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง การขาดแคลนนำ และเพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำ ป้องกันและบรรเทา อุทกภัยพื้นที่ชุมชน และพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ
- ปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยแล้ง เติมน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ มีพื้นที่เป้าหมายที่ได้รับประโยชน์ 200 ล้านไร่
- พัฒนาการบริการประชาชน และเพิ่มประสิทธิภาพการ บริหารภาครัฐ ภายใต้แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล โดยพัฒนาระบบฐานข้อมูลสู่ศูนย์กลางข้อมูลขนาดใหญ่ด้านการเกษตร
- ขับเคลื่อน เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด สร้าง Big Data โดยจัดทำ dashboard เชื่อมโยงการผลิตและการตลาดตลอดห่วงโซ่คุณค่า นำร่อง 6 สินค้าเกษตรสำคัญ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ปาล์ม น้ำมัน ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และทุเรียน การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
- และในช่วงที่ทุกฝ่ายต้องเผชิญกับความยากลำบากจาก วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดคาราวาน รถสินค้า เกษตรคุณภาพ ส่งต่อไปยังโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม และ สนับสนุนเรือนจำทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อเป็นขวัญ และกำลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วน ตลอดจนประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากโควิด–19
-เดินหน้าเกษตรไทยสู้ภัยโควิด-19 แบ่งปันและส่งมอบ สินค้าเกษตรให้กับบุคลากรทางการแพทย์และประชาชน 41 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบ
-จับมือกระทรวงสาธารณสุขและสภาแพทย์แผนไทยระดม 6,000 คลินิก เปิดฮอตไลน์สายด่วนใช้สมุนไพรและตำรับยาไทยร่วม
ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมอยู่เคียงข้างเกษตรกรไทย เพื่อก้าวผ่านวิกฤติต่าง ๆ ในทุกสถานการณ์ไปด้วยกัน นำพาเกษตรกร และภาคเกษตรของไทย สู่ความเป็นหนึ่งในสายตาโลกอย่างเข้มแข็ง ทันสมัย และมั่นคง
ชมคลิปผลงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปี 2564
ติดตามรับชมได้ที่ลิงค์ 🔻🔻
https://youtu.be/AFV7PnUODFk