แผน 5 ปีการท่องเที่ยวเชิง"กีฬา-สปา"ติดปีกไทยฮับสุขภาพมาตรฐานโลก  

01 ต.ค. 2564 | 09:50 น.
อัปเดตล่าสุด :01 ต.ค. 2564 | 17:08 น.

เขียนเสร็จแล้วแผนปฎิบัติการ 5 ปี ยกระดับกีฬาและสปาไทยด้วยนวัตกรรม ติดปีกไทยสู่จุดหมายปลายทางการท่องเที่่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพระดับโลก มาถูกจังหวะเชื่อจะเป็นหัวเชื้อเร่งการพลิกฟื้นประเทศหลังโควิด-19 คลี่คลาย  

ผศ. สุภาวดี โพธิยะราช ประธานคณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ ผศ.ดร.เกศรา สุขเพชร ผู้ประสานงานโครงการการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เปิดเผยว่า โครงการวิจัยด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้านกีฬาและสปา เป็นส่วนหนึ่งภายใต้แผนงานวิจัย โครงการการบริหารจัดการ แผนงานการเตรียมความพร้อมประเทศไทยเชิงรุก ให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพ 

แผน 5 ปีการท่องเที่ยวเชิง\"กีฬา-สปา\"ติดปีกไทยฮับสุขภาพมาตรฐานโลก  

จากที่รัฐบาลกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของโลก เพราะแนวโน้มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก และมีทิศทางเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ประเทศไทยมีปัจจัยหลักที่ได้รับการยอมรับ ได้แก่ ราคาเหมาะสม บริการมีคุณภาพ มาตรฐานสากล บุคลากรเชี่ยวชาญ เทคโนโลยีทันสมัย อัธยาศัยไมตรีดี และมีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงาม สามารถดึงดูดรองรับนักท่องเที่ยวได้อย่างดีเยี่ยม

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) จึงได้สนับสนุนทุนวิจัย โดยมีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นหน่วยบริหารจัดการและส่งมอบผลลัพธ์ ภายใต้หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) มีหน้าที่ในการจัดทำแผนใหญ่วิจัยนวัตกรรมของประเทศ ขณะนี้ดำเนินการจัดทำแผนปี 2566-2570 เสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ในช่วงเปิดประชาพิจารณ์ 

ผลงานวิจัยเพื่อเป็นแผนปฎิบัติการให้ผู้เกี่ยวข้องนำไปเป็นกรอบแนวทางยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ

ส่วนหนึ่งของแผนใหญ่นี้จะมีเรื่องของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นจุดหลักของกลุ่มการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยจะอิงกับกรอบแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG หรือเรื่องของเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นกระแสของโลก และเป็นโอกาสในการดึงความเชื่อมั่นของประเทศไทยกลับคืนมา

แผน 5 ปีการท่องเที่ยวเชิง\"กีฬา-สปา\"ติดปีกไทยฮับสุขภาพมาตรฐานโลก  

คณะวิจัยการบริหารจัดการแผนงานการเตรียมความพร้อมประเทศไทยเชิงรุก ให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพ มีศาสตราจารย์ ดร. วิภาดา  คุณาวิกติกุล เป็นผู้อำนวยการฯ โดยผนึกกำลังกับคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย 5 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง และมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ร่วมดำเนินการภายใต้การดูแล กำกับ และให้คำปรึกษาจากคณะกรรมการบริหารแผนงานและผู้ทรงคุณวุฒิ 

วัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฎิบัติการด้านกีฬาและสปา (พ.ศ. 2565 – พ.ศ. 2569) ในการพัฒนาประเทศไทย สู่การเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวเชิงกีฬาและสปา วิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน กำหนดแนวทางการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงกีฬาศักยภาพสูง กลุ่มกอล์ฟ การท่องเที่ยวเชิงกีฬาวิ่ง จักรยาน และศิลปะมวยไทย

รวมทั้งเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ รูปแบบการให้บริการสปาล้านนาและสปาใต้ ที่มีมาตรฐานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยสร้างนวัตกรรมที่หลากหลายจากการดำเนินการศึกษาวิจัย เพื่อขับเคลื่อนให้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศ สู่การเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ 

แผน 5 ปีการท่องเที่ยวเชิง\"กีฬา-สปา\"ติดปีกไทยฮับสุขภาพมาตรฐานโลก  

แผน 5 ปีการท่องเที่ยวเชิง\"กีฬา-สปา\"ติดปีกไทยฮับสุขภาพมาตรฐานโลก  

ระหว่างวิจัยเกิดการระบาดเชื้อโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ซึ่งได้วางแผนจะต่อยอดขยายผล เพื่อให้การพลิกฟื้นเศรษฐกิจ ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการของไทย ได้กลับมาได้เร็วยิ่งขึ้น เช่น การเปิดภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ การทำสมุยพลัส แผนพัทยามูฟออน หรือเรื่องการทำซีลด์รูทในอีก 10 จังหวัด ซึ่งเชียงใหม่ก็เป็นหนึ่งในนั้น  ตรงกับที่สกสว. และ บพข.พยายาม ที่จะนำงานวิจัยเข้ามาเป็นแกนกลาง เพื่อให้หน่วยงานนโยบายหรือภาคปฏิบัติต่าง ๆ นำไปใช้ ทำให้นักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นมากขึ้น

ศาสตราจารย์ ดร. วิภาดา กล่าวว่า โครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564  และในปีที่ 2 ได้มีดำเนินการโครงการต่อเนื่อง ในการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและสปาเพื่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทย ในการมุ่งสู่การเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพชัดเจนยิ่งขึ้น 

ศาสตราจารย์ ดร. วิภาดา  คุณาวิกติกุล ผู้อำนวยการคณะวิจัย

อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ตั้งแต่ต้นปี 2563 ในไทยและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทำให้สถานการณ์การท่องเที่ยวมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย การเดินทางภายในประเทศและนอกประเทศหยุดชะงัก นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติลดลงเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ต่อรายได้ของประเทศ

การวิจัยที่ทำมา 2 ปี ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และส่งมอบผลงานที่ได้จากงานวิจัยทั้งหมดให้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาวดี โพธิยะราช ในฐานะคณะกรรมการบริหารแผนงานและเป็นหน่วยบริหารจัดการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และคณะผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพทุกท่าน ทั้งนี้ผลงานทั้งหมด จะนำไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งต่อองค์กรในภาครัฐและภาคเอกชนต่อไป

นอกจากนั้นการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและสปาด้วยนวัตกรรม สู่จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพนั้น มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้นักท่องเที่ยวต่างตัดสินใจชะลอการเดินทาง โดยมีการคาดการณ์ว่าต้องใช้เวลาฟื้นตัวบ้าง 

แผน 5 ปีการท่องเที่ยวเชิง\"กีฬา-สปา\"ติดปีกไทยฮับสุขภาพมาตรฐานโลก  

นับเป็นโอกาสของประเทศไทยในการฟื้นฟูและสร้างความเชื่อมั่น ให้กับภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการของประเทศ  ทำให้ผู้ประกอบการ ผู้ให้บริการ ชุมชน และสังคม สามารถพัฒนาขีดความสามารถที่มีอยู่ได้ต่อเนื่อง พร้อมที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพให้กลับมายังประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ ก่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและสปาด้วยนวัตกรรม ตลอดจนการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สู่การเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง