RCEP มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 65 สินค้าไทยได้ภาษี 0% ทันทีกว่า 2.9 หมื่นรายการ

08 พ.ย. 2564 | 09:54 น.
อัปเดตล่าสุด :09 พ.ย. 2564 | 09:08 น.

ข่าวดี RCEP มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 65 แน่นอน หลังมีจำนวนประเทศสมาชิกให้สัตยาบันครบตามกติกา ส่งผลให้สินค้าไทยได้ลดภาษีเหลือ 0% ทันทีกว่า 2.9 หมื่นรายการ ด้าน “พาณิชย์ ดัย”ศูนย์ RCEP Center

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า หลังจากที่ไทยได้ให้สัตยาบันความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา และล่าสุดประเทศสมาชิก RCEP ได้ให้สัตยาบันครบแล้วตามที่ความตกลงกำหนดไว้ ประกอบด้วย อาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา สปป.ลาว สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม และนอกอาเซียน 4 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์ ทำให้ความตกลง RCEP จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มกราคม 2565

RCEP มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 65  สินค้าไทยได้ภาษี 0% ทันทีกว่า 2.9 หมื่นรายการ

 

 

ความตกลง RCEP เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด คือ สมาชิกอาเซียนจำนวนอย่างน้อย 6 ประเทศ และนอกอาเซียนอย่างน้อย 3 ประเทศ ให้สัตยาบันแล้วความตกลงจะมีผลใช้บังคับ นอกจากนี้ ประเทศที่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันคาดว่าอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการและจะให้สัตยาบันได้ในเร็วๆ นี้

RCEP มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 65  สินค้าไทยได้ภาษี 0% ทันทีกว่า 2.9 หมื่นรายการ

RCEP มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 65  สินค้าไทยได้ภาษี 0% ทันทีกว่า 2.9 หมื่นรายการ

ทั้งนี้กรมฯ เตรียมการรองรับการบังคับใช้ความตกลง RCEP อย่างเต็มที่ เพื่อให้ไทยได้รับประโยชน์สูงสุดจากความตกลงฯ โดยได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยงข้อง ดังนี้

  • การประสานงานกับกรมศุลกากร เรื่องการออกประกาศอัตราภาษีศุลกากรที่ไทยจะเก็บกับสินค้านำเข้าจากสมาชิก RCEP เพื่อพร้อมใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2565
  • การประสานงานกับกรมการค้าต่างประเทศ เรื่องการออกใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าให้กับผู้ส่งออกไทยใช้ประกอบการส่งสินค้าไปประเทศสมาชิก RCEP เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้ความตกลงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565
  • การจัดตั้งศูนย์ RCEP Center เพื่อให้ข้อมูลความตกลง RCEP อาทิ อัตราภาษีศุลกากรระหว่างไทยและสมาชิก RCEP

ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ www.dtn.go.th

RCEP มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 65  สินค้าไทยได้ภาษี 0% ทันทีกว่า 2.9 หมื่นรายการ

นอกจากนี้ มีการเตรียมระบบติดตามการค้าระหว่างประเทศ หรือ Trade Monitoring System (TMS) เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเตรียมแผนรับมือหรือใช้มาตรการปกป้องทางการค้าได้ทันท่วงที การจัดสัมมนาทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จาก RCEP และจัดทำ E-Book ความตกลง RCEP ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ www.dtn.go.th

RCEP มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 65  สินค้าไทยได้ภาษี 0% ทันทีกว่า 2.9 หมื่นรายการ

ทั้งนี้ ความตกลง RCEP จะเป็นความตกลงการค้าเสรี (FTA) ฉบับที่ใหญ่ที่สุดในโลก และถือเป็น FTA ฉบับที่ 14 ของไทย โดยมีสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 10 ประเทศ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มีประชากรรวมกัน 2,300 ล้านคน (30.2% ของประชากรโลก) GDP รวมมูลค่า 28.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (33.6% ของ GDP โลก) และมูลค่าการค้ารวม 10.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (30.3% ของมูลค่าการค้าของโลก)

สำหรับประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากความตกลง RCEP อาทิ สมาชิก RCEP ยกเลิกภาษีนำเข้าที่เก็บกับสินค้าไทย จำนวน 39,366 รายการ โดยลดภาษีเหลือ 0% ทันที จำนวน 29,891 รายการ

ในส่วนของจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จะลดและยกเลิกภาษีศุลกากรกับสินค้าที่ส่งออกจากไทย เพิ่มเติมจาก FTA ที่มีอยู่ในสินค้า เช่น ผลไม้สดและแปรรูป สินค้าประมง น้ำผลไม้ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง รถยนต์และส่วนประกอบ พลาสติก เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เป็นต้น

นอกจากนี้ ความตกลง RCEP จะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าแก่สมาชิก อาทิ สินค้าที่เน่าเสียง่ายจะได้รับการตรวจปล่อยพิธีการศุลกากรภายใน 6 ชั่วโมง และสินค้าปกติภายใน 48 ชั่วโมง และการขยายโอกาสในธุรกิจบริการของไทยสู่ประเทศสมาชิก RCEP เช่น ก่อสร้าง ค้าปลีก สุขภาพ ภาพยนตร์และบันเทิง เป็นต้น

“ความตกลงฉบับนี้จะเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยและสมาชิก RCEP จากวิกฤติโควิด-19  ซึ่งก่อนที่ความตกลง RCEP จะมีผลบังคับใช้ในปีหน้านี้ ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs ควรเร่งเตรียมความพร้อมทำความเข้าใจกฎเกณฑ์ทางการค้าต่างๆ  ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดประเทศสมาชิก RCEP เพื่อเตรียมวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ และพัฒนาสินค้าให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาด RCEP อย่างเต็มที่”