เป็นที่ทราบดีว่าในวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2564 มี "ครม.สัญจร" นอกสถานที่ครั้งที่1/64 จากเดิม 8-9 พ.ย. 64 แต่เนื่องจากมีการประชุมร่วมรัฐสภา จะมีการตรวจราชการในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันและประชุม "ครม." วันที่16 พ.ย. 64 ที่จังหวัดกระบี่ ในส่วนผู้บริหารกระทรวง กรมต่างๆ จะถือโอกาสติดตามงาน ประเมินผลเชิงรุก พร้อมสร้างขวัญให้กับข้าราชการในพื้นที่ด้วย
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยภายหลัง เป็นประธานการประชุมโครงการขับเคลื่อนงานตามนโยบายสำคัญของกรมปศุสัตว์ ในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกระบี่ พร้อมด้วยนายสุรเดช สมิเปรม นายปัญญา แววดี ปศุสัตว์จังหวัดกระบี่และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ได้มอบนโยบายในการขับเคลื่อนงานของกรมปศุสัตว์ ประกอบด้วย 4 ด้านหลัก ดังนี้
1. ด้านผลิตและส่งเสริม เน้นการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และการผลิตสินค้าปศุสัตว์ตามศักยภาพในพื้นที่ การผลิตพันธุ์สัตว์ การผลิตอาหารสัตว์ และการช่วยเหลือภัยพิบัติให้เตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือให้ทันถ่วงที
2. ด้านสุขภาพและสวัสดิภาพสัตว์ เช่น การควบคุมและป้องกันโรค เข้มงวดในการกักสัตว์และเคลื่อนย้าย เช่น โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) โรคไข้หวัดนก (AI)การควบคุมโรคสัตว์เคี้ยวเอื้องอาทิเช่นโรคลัมปีสกิน โรคปากและเท้าเปื่อย/โรคเฮโมรายิกเซฟติซี้มีย เป็นต้นโดยทุกโรคเน้นเชิงรุก สอบสวนโรค คุมสถานการณ์และการระบาดให้รวดเร็ว ตามหลัก "รู้เร็ว สงบเร็ว" และการสร้างเครือข่ายปฏิบัติงานในพื้นที่
3. ด้านคุณภาพมาตรฐานสินค้า (food safety) ให้รักษาคุณภาพมาตรฐานมากกว่าปริมาณ ตรวจสอบเพื่อรักษามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
4. ด้านการบริหาร การใช้จ่ายงบประมาณอย่างคุ้มค่า การบริหารบุคลากร การบรรจุแต่งตั้งอย่างเป็นธรรม การปรับปรุงอาคาร สิ่งปลูกสร้าง และยานพาหนะ
อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า ด้านการปฏิบัติงาน เน้นเชิงรุก ยึดสุจริตและโปร่งใสเป็นธรรม ตามหลักธรรมาภิบาล ด้านงบประมาณ ให้ใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด และด้านบุคลากร ให้พัฒนาองค์ความรู้เพิ่มศักยภาพของตนเองเพื่อใช้ประโยชน์ทั้งต่อองค์กรและประเทศชาติต่อไป และที่สำคัญที่สุดขอให้ทุกคนรู้รักสามัคคี
พร้อมอธิบดีกรมปศุสัตว์ ร่วมรับฟังปัญหา/อุปสรรค ของการดำเนินงานในพื้นที่ เพื่อนำปัญหาดังกล่าวไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงชี้แนะหลักการในการดำเนินงานของกรมปศุสัตว์ ให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยเหลือเกษตรกรและสำเร็จตามเป้าหมายการดำเนินงานต่อไป
นอกจากนี้อธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นประธานเปิดสถานพยาบาลสัตว์ประจำอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เพื่อให้บริการด้านสุขภาพสัตว์ของประชาชนในส่วนภูมิภาค เป็นการรองรับพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงงานบริการด้านสุขภาพสัตว์ของหน่วยงานภาครัฐได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
อีกทั้ง ยังเป็นการเฝ้าระวังการเกิดโรคระบาดทั้งในสัตว์ และโรคสัตว์สู่คนได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์เพื่อลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้มากยิ่งขึ้นได้มุ่งเน้นการให้บริการแก่สัตว์ที่ถูกทารุณกรรม สัตว์ที่ถูกทอดทิ้งในกลุ่มเสี่ยง 5 กลุ่ม ได้แก่ สัตว์ป่วย สัตว์พิการ สัตว์ตั้งท้องหรือลูกอ่อน ลูกสัตว์ สัตว์ที่เป็นโรคผิวหนัง (โรคเรื้อน) และสัตว์ที่อยู่ในการดูแลขององค์กรจัดสวัสดิภาพสัตว์หรือสถานสงเคราะห์สัตว์ รวมทั้งสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของที่อยู่ตามสถานที่สาธารณะ เช่น วัด โรงเรียน เป็นต้น
ก่อนหน้านั้น ได้ไปมอบนโยบายในการขับเคลื่อนงานของกรมปศุสัตว์ ประกอบด้วย 4 ด้านหลัก ดังนี้
1. ด้านผลิตและส่งเสริม เน้นการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และการผลิตสินค้าปศุสัตว์ตามศักยภาพในพื้นที่ การผลิตพันธุ์สัตว์ การผลิตอาหารสัตว์ และการช่วยเหลือภัยพิบัติให้เตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือให้ทันถ่วงที
2. ด้านสุขภาพและสวัสดิภาพสัตว์ เช่น การควบคุมและป้องกันโรค เข้มงวดในการกักสัตว์และเคลื่อนย้าย เช่น โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) โรคไข้หวัดนก (AI)การควบคุมโรคสัตว์เคี้ยวเอื้องอาทิเช่นโรคลัมปีสกิน โรคปากและเท้าเปื่อย/โรคเฮโมรายิกเซฟติซี้มีย เป็นต้นโดยทุกโรคเน้นเชิงรุก สอบสวนโรค คุมสถานการณ์และการระบาดให้รวดเร็ว ตามหลัก "รู้เร็ว สงบเร็ว" และการสร้างเครือข่ายปฏิบัติงานในพื้นที่
3. ด้านคุณภาพมาตรฐานสินค้า (food safety) ให้รักษาคุณภาพมาตรฐานมากกว่าปริมาณ ตรวจสอบเพื่อรักษามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
4. ด้านการบริหาร การใช้จ่ายงบประมาณอย่างคุ้มค่า การบริหารบุคลากร การบรรจุแต่งตั้งอย่างเป็นธรรม การปรับปรุงอาคาร สิ่งปลูกสร้าง และยานพาหนะ
อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า ด้านการปฏิบัติงาน เน้นเชิงรุก ยึดสุจริตและโปร่งใสเป็นธรรม ตามหลักธรรมาภิบาล ด้านงบประมาณ ให้ใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด และด้านบุคลากร ให้พัฒนาองค์ความรู้เพิ่มศักยภาพของตนเองเพื่อใช้ประโยชน์ทั้งต่อองค์กรและประเทศชาติต่อไป
ที่สำคัญที่สุดขอให้ทุกคนรู้รักสามัคคี พร้อมอธิบดีกรมปศุสัตว์ ร่วมรับฟังปัญหา/อุปสรรค ของการดำเนินงานในพื้นที่ เพื่อนำปัญหาดังกล่าวไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงชี้แนะหลักการในการดำเนินงานของกรมปศุสัตว์ ให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยเหลือเกษตรกรและสำเร็จตามเป้าหมายการดำเนินงานต่อไป
นอกจากนี้อธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นประธานเปิดสถานพยาบาลสัตว์ประจำอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เพื่อให้บริการด้านสุขภาพสัตว์ของประชาชนในส่วนภูมิภาค เป็นการรองรับพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงงานบริการด้านสุขภาพสัตว์ของหน่วยงานภาครัฐได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
อีกทั้งยังเป็นการเฝ้าระวังการเกิดโรคระบาดทั้งในสัตว์ และโรคสัตว์สู่คนได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์เพื่อลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้มากยิ่งขึ้นได้มุ่งเน้นการให้บริการแก่สัตว์ที่ถูกทารุณกรรม สัตว์ที่ถูกทอดทิ้งในกลุ่มเสี่ยง 5 กลุ่ม ได้แก่ สัตว์ป่วย สัตว์พิการ สัตว์ตั้งท้องหรือลูกอ่อน ลูกสัตว์ สัตว์ที่เป็นโรคผิวหนัง (โรคเรื้อน) และสัตว์ที่อยู่ในการดูแลขององค์กรจัดสวัสดิภาพสัตว์หรือสถานสงเคราะห์สัตว์ รวมทั้งสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของที่อยู่ตามสถานที่สาธารณะ เช่น วัด โรงเรียน เป็นต้น
เช่นเดียวกับการปฎิบัติภาระกิจที่จังหวัดพังงา นายสัตวแพทย์สรวิศ เผยว่า นายพรภิรมย์ ฟุ้งตระกูลปศุสัตว์จังหวัดพังงา ได้นำเสนอผลการดำเนินงานในพื้นที่พื้นที่จังหวัดพังงาน ที่สำคัญๆดังนี้
1.โครงการปศุสัตว์ ok (เขียงok,ไข่ok)
2.โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ประกอบด้วย
3.โครงการ 1ตำบล 1กลุ่มเกษตรทฤษฏีใหม่ ปีงบประมาณ 2564
4.สถานการณ์ การควบคุมและป้องกันโรค ลัมปี สกิน จังหวัดพังงา (ปัจจุบันไม่พบการเกิดโรคลุมปีสกิน ในพื้นที่ตังหวัดพังงา)
5.โครงการ rabie free zone (ปัจจุบันสุนัข-แมวได้รับวัคซีนจากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพังงา 400โด๊ส คิดเป็น87.25เปอร์เซนต์
6.โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาปศุสัตว์
7.โครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่ งบฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
8.โครงการพังงาอาหารปลอดภัย งบฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ทั้งนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมด้านการปฏิบัติงาน เน้นเชิงรุก ยึดสุจริตและโปร่งใสเป็นธรรม ตามหลักธรรมาภิบาล ด้านงบประมาณ ให้ใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด และด้านบุคลากร ให้พัฒนาองค์ความรู้เพิ่มศักยภาพของตนเองเพื่อใช้ประโยชน์ทั้งต่อองค์กรและประเทศชาติต่อไป และที่สำคัญที่สุดขอให้ทุกคนรู้รักสามัคคี
นอกจากนี้ยังร่วมรับฟังปัญหา/อุปสรรค และการนำเสนอผลงานและโครงการต่างๆ ของพื้นที่ เพื่อหาวิธีช่วยแก้ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของกรมปศุสัตว์ ให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยเหลือเกษตรกรและสำเร็จตามเป้าหมายการดำเนินงานต่อไป