นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้บรรยาย เรื่อง “ประเทศไทยกับการฟื้นตัวหลังโควิด – 19” ในงาน สัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 39 Connect the Dots DESIGN THE FUTURE รวมพลัง สร้างสรรค์ อนาคต เผยว่า เศรษฐกิจไทยในช่วง 9 เดือนแรก ปี 2564 GDP ขยับขึ้นแล้ว 1.3% ประเมินว่า หลังการเปิดประเทศ การท่องเที่ยวเริ่มคึกคักขึ้น จะดัน GDP เป็นบวกราว 1.2-1.3% และคาดว่าปี 2565 จะมีการจับจ่ายที่เพิ่มมากขึ้น ดับให้ GDP ขยับบวกได้ถึง 3.5-4.5%
"จากการเปิดประเทศ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา น่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้าไทยไม่เกิน 6 ล้านคน แต่ปีหน้ามองว่า ทุกอย่างจะดีขึ้นอีก ทั้งจากการท่องเที่ยว การเดินทางของคนในประเทศ และแรงขับเคลื่อนจากภาครัฐและเอกชน" นายอาคมกล่าว
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2564 จะทยอยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยได ในขณะที่เศรษฐกิจปี 2565 จะขยายตัวได้จากการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง รวมถึงการท่องเที่ยวที่กลับมาฟื้นตัว รวมถึงการขับเคลื่อนมาตรการทางการเงิน ที่กระทรวงการคลังจะพยายามผลักดัน ได้แก่
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อรองรับความท้าทายในอนาคต ซึ่งตอบโจทย์ความท้าทาย 7 ข้อ ในการพัฒนาประเทศให้เดินหน้าต่อ ได้แก่
1. กับดักรายได้ปานกลาง รัฐบาลมีแนวทางสนับสนุนอุตสหกรรมและบริการทางการแพทย์ มุ่งสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ เน้นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ และยกระดับเกษตรมูลค่าสูง มีการฟื้นฟูเกษตรแปลงใหญ่ การทำโคกหนองนาโมเดล จากทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง
2. ขีดความสามารถในการแข่งขัน แนวทางของรัฐคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบภาครัฐ โดยในปี 2565 ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ แต่ในปี 2566-2567 มีเรื่อง Basic Elocation Profit Sharing Agreement ของธุรกิจอิเลคทรอนิคทั่วโลก ข้อตกลง คือ บริษัทที่เป็นมัลติเนชั่นนอลให้บริการทั่วโลก อาทิ กูเกิล เฟสบุ๊ค ที่ทำงานผ่านการควบคุมด้วยระบบดิจิทัล ไม่จำเป็นต้องมีบริษัทในประเทศต่างๆ ถ้าเขามีกำไรเกิน 20% ส่วนของ 10% แรกบริษัทจะเก็บไว้ อีก 10% ต้องเสียภาษีที่ประเทศที่เขาไปหากิน และอีกข้อหนึ่งคือ กำหนดอัตราภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำทั่วโลก (Global Minimum Tax) หรือ การจัดเก็บภาษีเพิ่มให้อยู่ในอัตราขั้นต่ำที่ 15% ในกรณีที่มีการจัดโครงสร้างกลุ่มธุรกิจให้บริษัทในเครือเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า 15% (Effective Tax Rate) ก็จะถูกจัดเก็บเพิ่มให้อยู่ในอัตรา 15% หรือพูดง่าย ๆ ว่า ต่อไปนี้ การตั้งบริษัทลูกในประเทศที่มีภาระภาษีต่ำเพื่อประโยชน์ในทางภาษีทำได้ยากขึ้น เพราะอยู่ที่ไหนในโลกก็มีอัตราขั้นต่ำเดียวกัน ดังนั้น นี่คือการสร้าง Global rule หรือมาตรฐานขั้นต่ำสากลทางภาษีให้กับทุกประเทศ ซึ่งเดิมที เป็นเรื่องที่ทำได้ยากในระบบภาษีระหว่างประเทศ เนื่องจากแต่ละรัฐย่อมมีอธิปไตยและมีหลักการในการจัดเก็บภาษีที่แตกต่างกัน
3. การเติบโตที่ไม่สมดุล แนวทางของรัฐ คือ การส่งเสริมการจ้างงาน ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเอสเอ็มอี และกระความเจริฐไปยังเมืองรอง
4. ความยากจนเรื้อรัง/ความเหลือมล้ำ จะมีการเสริมสร้างความแข็งแกร่งพื้นฐานในครัวเรือน
5. สังคมผู้สูงอายุ จะมีการ Reskill-upskill ทักษะแรงงาน ขยายและพัฒนาความคุ้มครองทางสังคม และส่งเสริมความมั่นคงทางสุขภาพ รวมทั้งสร้างวินัยการออม
6.การแปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รัฐจะรถยนต์พลังงานไฟฟ้าการใช้พลังงานทดแทน การส่งเสริม BCG Model และเป้าหมายการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม
7. ภาระทางการคลัง มีแนวทางร่างแผนการจัดเก็บรายได้รัฐบาล และงบประมาณสมดุล