อีไอซีแนะไทยถอดบทเรียนพัฒนาคลีนเทคต่างประเทศ หนุนแผนEnergy Transition

20 ธ.ค. 2564 | 07:57 น.
อัปเดตล่าสุด :20 ธ.ค. 2564 | 15:56 น.

EIC แนะไทยศึกษาพัฒนาคลีนเทค ถอดบทเรียน “กรีนไฮโดรเจน”ต่างประเทศ รองรับโอกาสธุรกิจ-เพิ่มความสามารถในการแข่งขันระยะยาว

กรีนไฮโดรเจน (Green Hydrogen) กุญแจสำคัญของหนทางสู่ Net Zero

Key Summary

ไฮโดรเจนที่ผลิตโดยพลังงานสะอาด หรือ กรีนไฮโดรเจน เป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในการช่วยให้โลกบรรลุเป้าหมาย net zero ได้ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ยาก (hard-to-abate sectors) ปัจจุบันไฮโดรเจนที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมเหล่านี้

อีไอซีแนะไทยถอดบทเรียนพัฒนาคลีนเทคต่างประเทศ หนุนแผนEnergy Transition

หากอุตสาหกรรมสามารถนำไฮโดรเจนที่ผลิตโดยไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ก็จะส่งผลให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรมลดลงอย่างมาก

แรงขับเคลื่อนที่สำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีไฮโดรเจนคือ การลงทุนของประเทศต่าง ๆ ปัจจุบันมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและใช้ไฮโดรเจนมากกว่า 200 โครงการที่ประกาศแล้วทั่วโลก โดยยุโรปเป็นผู้นำในด้านจำนวนโครงการไฮโดรเจนที่ประกาศเปิดตัวและครอบคลุมทั้งห่วงโซ่คุณค่าของไฮโดรเจนรวมทั้งกลางน้ำและปลายน้ำ เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจไฮโดรเจนแบบบูรณาการโดยเน้นการใช้ในสหภาพยุโรปและประเทศใกล้เคียง

 

 

ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้กรีนไฮโดรเจนมีแนวโน้มแข่งขันได้ในตลาดพลังงานคือต้นทุนการผลิตที่ลดลงโดยแนวโน้มราคาพลังงานสะอาดและราคาเทคโนโลยีอิเล็กโทรไลเซอร์ บวกกับ 2 ปัจจัยด้าน capacity factor และต้นทุนทางการเงิน (cost of capital) จะช่วยให้ราคากรีนไฮโดรเจนลดลงจากราว 2.5–5.5 ยูโรต่อกิโลกรัม เป็นราว 0.67–0.84 ยูโรต่อกิโลกรัมภายในปี 2050

 

อย่างไรก็ตาม กรีนไฮโดรเจน ยังคงเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญด้านต้นทุนการผลิตที่ยังสูง การพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการกักเก็บและการขนส่ง และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จะเข้ามารองรับการเติบโตของการใช้ไฮโดรเจน ซึ่งรวมถึงความต้องการใช้พลังงานสะอาดที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ผลิตกรีนไฮโดรเจนด้วย

 

เนื่องจากประเทศไทยมีข้อจำกัดในด้านทรัพยากร โครงสร้าง พื้นฐาน และการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานสำหรับ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ขนส่ง กักเก็บและใช้ ไฮโดรเจน โดยโครงสร้างพื้นฐานราคาของพลังงานสะอาด ในประเทศไทยยังคงสูง อีกทั้ง ปริมาณไฟฟ้าจากพลังงาน สะอาดในประเทศยังไม่เพียงพอให้ต้นทุนการผลิตกรีน ไฮโดรเจนสามารถแข่งขันกับเชื้อเพลิงชนิดอื่นได้

 

นอกจากนี้ ไทยยังไม่มีกลไกราคาคาร์บอนที่จะเอื้อให้เกิดการลงทุนใน คลีนเทคที่ยังต้องการภาษีคาร์บอนหรือตลาดซื้อขาย คาร์บอนเพื่อให้แข่งขันได้ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ไฮโดรเจนของประเทศเป็นสิ่งที่ ควรทำในระยะสั้น โดยบทบาทของไฮโดรเจนในการเปลี่ยนผ่านระบบพลังงาน (energy transition) ต้องมีการบูรณาการทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐาน  การใช้พลังงาน และบริบทของอุตสาหกรรมในประเทศ ทั้งนี้คำถามเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญในการพิจารณาการใช้ไฮโดรเจนของประเทศ ในระยะแรกคือจะพัฒนาการใช้ไฮโดรเจนในรูปแบบ ของพลังงาน หรือ ในรูปแบบในการเป็นวัตถุดิบทางเคมี (chemical feedstock)

 

ประเทศไทยควรให้ความสำคัญในแง่ของการศึกษาและพัฒนาอุตสาหกรรมไฮโดรเจน ถึงแม้ว่าปัจจุบันการเร่งลงทุนในอุตสาหกรรมไฮโดรเจนยังไม่เหมาะสมกับบริบทและความพร้อมของประเทศ แต่เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทำเพื่อสนับสนุนการจัดทำแผน Energy Transition ให้เป็นไปอย่างบูรณาการและเพื่อถอดบทเรียนของการพัฒนาคลีนเทคในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบาย ด้านเทคโนโลยี เพื่อเป็นการสร้างโอกาศทางธุรกิจและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

 

อ่านฉบับเต็ม : กรีนไฮโดรเจน (Green Hydrogen)กุญแจสำคัญของหนทางสู่ Net Zero