นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึง โรค ASF หรือ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งในเรื่องกรเคลื่อนย้ายสัตว์ที่มีชีวิต เป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน “สุกร” เราจะต้องควบคุมโรค จนกว่าสงบ และจนกว่าจะคืนสถานภาพได้ ตรงนี้จะเป็นข้อมูลที่ชัดเจนดำเนินให้รู้ว่ามีการตรวจสอบย้อนกลับตั้งแต่ต้นทาง ปลายทาง และจากปลายทาง ย้อนมาที่ต้นทางได้ แล้วจะทำให้ทราบว่าเกิดโรคที่ไหน จะเป็นหลักฐานในการควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อีกทั้งสามารถใช้ตรงนี้เป็นหลักฐานในการขอคืนสถานภาพได้ด้วย รวมทั้งใครทำผิดกฎหมายสามารถตรวจสอบได้ ตรวจสอบแบบเรียลไทม์ ต่อไปศูนย์สารสนเทศ จะเชื่อมโยงระบบแบบบิ๊กดาต้าที่มีความจำเป็นจะต้องใช้ตลอด จะนำร่องสุกร เป็นลำดับแรก ที่จะต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าวแนะนำ 6 ขั้นตอนการทำความสะอาดคอกหมูและอุปกรณ์การเลี้ยงหมู ในสภาวะที่เผชิญโรคระบาด จะทำอย่างไร ฆ่าเชื้อแบบไหน มี 6 วิธี
1.นำมูลสัตว์ ออกจากคอกกองรวมกัน ตากแดดไว้ให้แห้ง กำจัดทิ้งโดยการเผาหรือฝังให้ห่างจากพื้นที่การเลี้ยงสัตว์
2.อุปกรณ์ ภายในโรงเรือน เช่น ซองคลอด ซองยืน รางอาหาร ให้ล้างทำความสะอาด ทิ้งไว้ให้แห้ง รอพ่นยาฆ่าเชื้อ
3. พ่นยาฆ่าเชื้อ หรือสารอื่นที่หาได้ง่าย เช่น ไฮเตอร์ (ผลิตภัณฑ์ซักผ้าขาว) โดยผสม 2 ฝา ต่อน้ำ 1 ลิตร ราดหรือพ่นฆ่าเชื้ออุปกรณ์ให้ทั่ว
4. ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดมูลสัตว์ที่ติดกับพื้นคอกออกให้หมด แล้วใช้ “โซดาไฟ” ราดพรมให้ทั่ว ทิ้งไว้ 30 นาที แล้วล้างออก
6. แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่เก็บตัวอย่าง Surface swab ภายในฟาร์มหากไม่พบเชื้อไวรัสปนเปื้อน
อธิบดีกรมปศุสัตว์ แนะวิธีเลี้ยงหมู ให้ปลอดภัย ห่างไกลจากโรคระบาด AFS