"กัญชาเสรี" กำลังกลายเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดการถกเถียงระหว่างกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เรื่องการปลูกกัญชาถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่
เพราะตั้งแต่นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ที่ปัจจุบันรั้งตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประกาศลั่นไว้เมื่อครั้งหาเสียง แต่ก็ดูเหมือนว่าจะทำไม่ได้ดังที่ให้คำมั่นสัญญากับประชาชนเอาไว้
อย่างไรก็ดี ก่อหน้านี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้เคยนำเสนอข่าวเกี่ยวการปลูกกัญชาที่บ้านว่าสามารถทำได้หรือไม่ จากกรณีที่ประชาชนถูกจับข้อหาการปลูกกัญชา 2 ต้น และตำรวจจะดำเนินคดี
ทั้งนี้ ล่าสุด ว่าที่ พ.ต.ต.ดร.สันติ ผิวทองคำ ผู้พิพากษาศาลแขวงระยอง ได้มีการเผยแพร่ความเห็นเรื่อง "กัญชา" ยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตาม ป.ยาเสพติด อยู่หรือไม่ โดยมีเนื้อหาระบุว่า
"กัญชา" ยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตาม ป.ยาเสพติด อยู่หรือไม่ by ท่านติ.
1.เดิม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ ได้อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 6 วรรคหนึ่ง 8 (1) (2) ของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ประกาศให้ “กัญชา” (Cannabis) พืชในสกุล Cannabis วัตถุหรือสารที่อยู่ในพืชกัญชา เช่น ยาง น้ำมัน เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ.2563ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2563 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2563 “กัญชา” จึงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา6 วรรคหนึ่ง มาตรา 8 (1) และ (2) ประกอบประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ.2563
2.ต่อมามีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 ซึ่งตาม มาตรา 3 มาตรา 4 (5) พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด บัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เมื่อประมวลกฎหมายยาเสพติดมีผลใช้บังคับ ย่อมหมายความว่า ในวันที่ 9 ธันวาคม 2564 อันเป็นวันที่ ประมวลกฎหมายยาเสพติดมีผลใช้บังคับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง มาตรา 8 (1) และ (2) จึงถูกยกเลิกเพิกถอนไป
3.พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 และ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เป็นกฎหมายที่อยู่ในลำดับพระราชบัญญัติเช่นเดียวกัน จึงมีศักดิ์เท่ากัน
4.สำหรับอนุบัญญัติ เช่น กฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศ ที่ออกตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ นี้ พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 ได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 8 ว่า “บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศ ที่เป็นอนุบัญญัติ ที่ออกตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522… และใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ ป.ยาเสพติด ใช้บังคับ “ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประมวลกฎหมาย
หรือจนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศ ที่ออกตาม ป.ยาเสพติด...มาใช้บังคับ” จากผลของ พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดฯ มาตรา 8 ดังกล่าว จึงส่งผลให้ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ.2563 ซึ่งเป็นอนุบัญญัติที่ออกตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ ไม่ถูกยกเลิก เพิกถอน หรือ ตายไปตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ หากแต่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่เช่นเดิม ภายใต้เงื่อนไข 2 ประการคือ
ส่วนที่ มาตรา 29 (5) ของ ป.ยาเสพติด บัญญัติว่า ยาเสพติดให้โทษประเภท 5 คือยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น พืชฝิ่น ก็เป็นเพียงการยกตัวอย่าง และ มิใช่การบัญญัติว่า กัญชามิใช่ยาเสพติดให้โทษประเภท 5 หรือ ให้ยกเลิกประกาศของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2563 ฉะนั้น ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ.2563 จึง “ไม่ขัดแย้งกับ ป.ยาเสพติด” ประการหนึ่ง
และการเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงชื่อหรือประเภทยาเสพติดให้โทษดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ป.ป.ส. ประกาศ กำหนด ซึ่ง ณ วันที่ ป.ยาเสพติด มีผลใช้บังคับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ป.ป.ส. ยังไม่ได้ออกประกาศ ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภทตาม มาตรา 29 (5) ออกมาบังคับใช้
ฉะนั้นจึงเป็นกรณีที่ ยังไม่มีประกาศระบุชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ที่ออกตาม ป.ยาเสพติด มาใช้บังคับ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ.2563 จึงยังมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีประกาศที่ออกตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 29 วรรคสอง อีกประการหนึ่ง
(5) ด้วยเหตุข้างต้นจึงสรุปได้ว่า “กัญชา” ยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตาม ป.ยาเสพติด ด้วยเหตุ