วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) จะมีการประชุม ครั้งที่ 1/2565 จะมีวาระเรื่องการพิจารณาการทบทวนมาตรการนำผ่านสินค้าน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ พิกัดอัตราศุลกากร 1511.90 ตามคำขอของรัฐบาล สปป.ลาว นั้น
จากกรณีหากย้อนไป นายพันธ์ศักดิ์ จิตรรัตน์ ประธานคณะกรรมการด้านปาล์มนํ้ามันและพืชพลังงาน สภาเกษตรกรแห่งชาติ และกรรมการใน กนป. เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เคยได้ยื่นหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี (15 พ.ย.64) ขอคัดค้านการนำผ่านน้ำมันปาล์มจากมาเลเซียไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยการผ่านด่านศุลกากรสะเดา และสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 พร้อมแ จงเหตุผลคัดค้านไม่เห็นด้วยง พร้อมกับข้อเสนอแล้ว ดังนี้
1.การนำเข้าผ่านแดนโดยการขนส่งทางบก ซึ่งยากต่อการควบคุม ติดตาม กำกับดูแล ให้เกิดความเรียบร้อยเป็นไปตามจ้อตกลง เป็นเหตุให้เกิดการสวมสิทธิ์ สวมรอย ลักลอบน้ำเข้ามาโดยไม่ถูกต้องผิดประเภท และไม่ได้ส่งออกไปจริง ทำให้มีปัญหากับตลาดและปริมาณน้ำมันปาล์มภายในประเทศ
2.ประเทศไทยไม่ได้กีดกันการนำเข้าผ่านแดนน้ำมันปาล์มจากประเทศมาเลเซียไปยังประเทศเพื่อนบ้านแต่อย่างใด เพียงแต่มีการปรับเงื่อนไขการนำเข้าให้ใช้ในการขนส่งทางเรือ ให้ใช้ท่าเรือคลองเตย ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือมาบตาพุดและใช้ในการขนส่งทางบกต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าตามด่านที่กำหนด
เพื่อเป็นการง่ายต่อการควบคุมกำกับดูแล และคล่องตัวในการขนส่ง มีระยะทางขนส่งที่ใกล้กว่า ใช้ในการขนส่งทางบกเพียง 625 กิโลเมตร ใช้เวลาเพียง 8 ชั่วโมง มีผลต่อการลดระยะทางและต้นทุนการขนส่งอย่างเห็นได้ชัด
3.การกำหนดเงื่อนไขการขนส่งสินค้าเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่ออาชีพเกษตรกรในประเทศ เป็นวิธีปฎิบัติที่ทุกประเทศนำมาใช้กันอย่างปกติอยู่แล้ว เช่น ประเทศไทยต้องการส่งขายข้าวสังข์หยด จากภาคใต้ไปยังประเทศมาเลเซีย ต้องส่งจากท่าเรือมาบตาพุด ระยอง ไม่สามารถขนส่งผ่านทางบกไปยังประเทศมาเลเซียโดยตรงได้
ประเทศอินโดนีเซีย มีการกำหนดจุดนำเข้าสินค้าผักและผลไม้ ให้นำเข้าได้เพียง 4 แห่ง คือ สนามบินกรุงจาการ์ตา ท่าเรือเมดาน ท่าเรือเมืองสุรามายา และท่าเรือเมืองมากัสซาร์ ซึ่งทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายค่าขนส่งเพิ่มขึ้นในการนำสินค้าจากจุดนำเข้านั้นๆ มายังจาการ์ตา ซึ่งเป็นจุดจำหน่ายและกระจายสินค้าที่สำคัญของอินโดนีเซีย
ทั้งนี้รัฐบาลไทยควรเจรจาการคำกับ สปป.ลาว เพื่อเสนอขายน้ำมันปาล์มของประเทศไทย ซึ่งในขณะนี้น้ำมันปาล์มของประเทศไทย ผลิตได้เกินความต้องการใช้ในประเทศ มีราคาใกล้เคียงกับน้ำมันปาล์มในตลาดสากล และสินค้าไทยมีคุณภาพ มีแบรนด์ มีภาพลักษณ์ทางการค้าที่ได้รับการยอมรับจากประเทศเพื่อนบ้าน
อีกด้านหนึ่งจะส่งผลกระทบทางรายได้ต่อพี่น้องชาวสวนปาล์มทั้งประเทศ เกษตรกรผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาด โดยเฉลี่ยวันละ 5 หมื่นตัน ถ้ามีการทำให้เกิดผลกระทบต่อราคาปาล์มทะลายเพียง กิโลกรัมละ 1 บาท ก็จะเกิดผลกระทบต่อรายได้เกษตรกร วันละ 50 ล้านบาท เดือนละ 1,500 ล้านบาท คำถามที่ชาวสวน จะนำเข้ามาเพื่ออะไร ??? นำเข้าเท่ากับทำร้ายชาวสวนปาล์มน้ำมัน หรือ
นายพันธ์ศักดิ กล่าวว่า อย่างมองว่า "เกษตรกร" อะไรก็ได้ ชาวสวนปาล์มและกลุ่มแกนนำได้ติดตามเรื่องปาล์มมาตลอดและมีข้อมูลอย่างเห็นได้ชัดว่า การเปิดด่านที่สะเดาให้ สปป. ลาว ผ่านนั้นคือก็เปิดช่องให้กลุ่มน้ำมันปาล์มเถื่อน สวมรอย สวมสิทธิ์ แอบอ้าง เหมือนกับเปิดรูรั่วให้น้ำชั่วแทรงซึม หากเปิดจริงถือได้การสมรู้ร่วมคิดทำลายสินค้าเกษตรปาล์มน้ำมัน
ทั้งๆเมื่อก่อนก็เคยคุยกันมาแล้ว การเปิดด่านครั้งนี้เชื่อได้ว่ารัฐควบคุมไม่ได้ ดังที่เห็นผ่านมาและตัวอย่างมี เช่น กนป.อนุมัติให้ชดเชยส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ หรือ ซีพีโอ กิโลกรัมละ 2 บาท และกลับแอบ ส่งออกน้ำมันเม็ดในบวกค่าส่งให้ด้วยทั้งที่ กนป.ไม่ได้พิจารณาเรื่องนี้เลย
เมื่อเปรียบเทียบ ประเทศเพื่อบ้านปกป้องเกษตรช่วยเหลือเกษตรกร แต่ประเทศเราช่วยเหลือนายทุนเป็นตัวตั้ง ใช้ระบบ "ตบจูบ" กล่าวคือ ตบคือให้พอค้ากดขี่เอาเปรียบสารพัดมองดูเฉยๆ แล้วมาโอบจูบโดยชดเชยประกันรายได้เกษตรกรอย่างต่ำๆโดยเอาเงินของรัฐมาใช้ทั้งที่สามารถทำได้โดยไม่มีความจำเป็น ต้องเอาเงินมาใช้
“ เราชาวสวนปาล์ม จึงมองว่าการเปิดด่านที่สะเดาคือการทำลายชาวสวนปาล์มที่คน พวกเราจึงหวังว่า "พล อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” ชายชาติทหารที่แกร่งกล้า ท่านได้ปฏิญาณตนต่อองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ จะดูแลทุกข์สุขความเดือนร้อนตามความต้องการของพี่น้องประชาชน ตามคำปฎิญาณ ท่าน คงไม่ตกกระไดพลอยโจน เพราะท่านรับปากแล้วจะดูแลพี่น้องชาวสวนปาล์ม ซึ่งชาวสวนปาล์มก็จะดูแลท่านในการเลือกตั้งครั้งหน้า เฉกเช่นเดียวกัน"