ส่งสัญญาณมาตั้งแต่ปี2564 ถึงแนวโน้มราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เริ่มราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและเห็นชัดในปี2565 ในขณะที่รายได้ของเรายังคงเท่าเดิมซึ่งสวนทางกับราคาสินค้าในชีวิตประจำวันที่พุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นอาหารสำเร็จรูปที่ปรับเพิ่มตามต้นทุนที่สูง ราคาน้ำมันที่ปีใหม่นี้มีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผักสด เช่น มะเขือ กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว เพิ่มสูงขึ้นตามความต้องการที่สูงขึ้น ไข่และผลิตภัณฑ์นม เพิ่มขึ้นตามต้นทุนการเลี้ยง อาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน เพิ่มขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ น้ำมันปาล์ม ราคาขึ้นตามวัตถุดิบ สบู่ แชมพู ครีมนวดผม สูงขึ้นหลังสิ้นสุดโปรโมชัน บุหรี่ สูงขึ้นจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต
กระทรวงพาณิชย์ได้มีการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค หรือเงินเฟ้อทั่วไปเพื่อวัดอุณภูมิทางเศรษฐกิจโดยรวม เพราะยิ่งค่าเงินเฟ้อ สูงก็แสดงว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีมาก หมายความว่ารายได้อีกฟากนึงของกระเป๋าเงินก็เข้ามาได้มากและแน่นอนก็จ่ายมากตามไปด้วย
โดยเดือนธ.ค. เงินเฟ้อ เพิ่มขึ้น 2.17% หมายความว่า มีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น หลังจากที่ประชาชนมีความระมัดระวังเกี่ยวกับค่าใช่จ่ายในช่วงเดือนที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ได้ประเมินค่าใช้จ่ายครัวเรือนเดือนธ.ค.64 ไว้ว่า มีรายจ่ายรายเดือนที่ 17,127 บาท แบ่งเป็น
โดยสัดส่วนการบริโภคต่อครัวเรือน พบว่าสินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องที่มีแอลกฮอล์59.44% ซึ่งค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัพท์ สูงถึง23.23% รองลงมา เป็นค่าเช่าบ้าน วัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ก๊าวหุงต้ม เครื่องใช้ในบ้าน 22.66% และ ค่าแพทย์ ค่ายาและค่าบริการส่วนบุคคล 5.61% เป็นต้น
ในขณะสินค้าที่เป็นอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่แอลกอฮอล์ 40.56% โดยค่าเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ สูงสุด9.17% รองลงมาเป็น อาหารบริโภคในบ้าน 8.64% เป็นต้น
กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์เงินเฟ้อปี 2565 ตั้งเป้าเท่าเดิม 0.8-2.4% ค่ากลาง 1.5% แม้โอมิครอนระบาดอย่างรุนแรงก็ตาม