ม.อุบลราชธานีแจกชุดองค์ความรู้"มะเขือเทศเชอรี"ปั้นพืชเศรษฐกิจใหม่

09 ก.พ. 2565 | 05:00 น.
อัปเดตล่าสุด :09 ก.พ. 2565 | 12:15 น.

ม.อุบลฯโชว์ผลงานวิจัย“มะเขือเทศเชอรี” ปั้นเป็นผลไม้เศรษฐกิจใหม่สู่เกษตรกร เปิดกิจกรรม Field Day ถ่ายทอดชุดองค์ความรู้พร้อมใช้ครบวงจร ตั้งแต่เทคโนโลยีการผลิตอินทรีย์โรงเรือนคุณภาพสูง เป็นผลิตภัณฑ์ป้อนตลาดพรีเมียมในจังหวัดอุบลราชธานี

ม.อุบลฯจัดกิจกรรม Field Day มะเขือเทศเชอรี เพื่อถ่ายทอดแพ็กเกจองค์ความรู้พร้อมใช้ เทคโนโลยีการผลิต มะเขือเทศเชอรีอินทรีย์ในโรงเรือนที่มีคุณภาพสูง สำหรับตลาดพรีเมี่ยมในจังหวัดอุบลราชธานี ณ ฟาร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมี นายสมเพชร สร้อยสระคู รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน 

 

รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อเป็นถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างอาชีพใหม่ ในการเพิ่มมูลค่าผลิตผล และคุณภาพการผลิตมะเขือเทศเชอรี ให้แก่เกษตรกรเครือข่าย และเพื่อเป็นการยกระดับการผลิตและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ผลิตมะเขือเทศเชอรี่ในจังหวัดอุบลราชธานี

ม.อุบลราชธานีแจกชุดองค์ความรู้\"มะเขือเทศเชอรี\"ปั้นพืชเศรษฐกิจใหม่

ม.อุบลราชธานีแจกชุดองค์ความรู้\"มะเขือเทศเชอรี\"ปั้นพืชเศรษฐกิจใหม่

ซึ่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้พัฒนาองค์ความรู้ด้านสายพันธุ์ กระบวนการผลิต และการแปรรูปมะเขือเทศเชอรี จนสามารถสร้างเป็นชุดองค์ความรู้พร้อมใช้สำหรับเกษตรกร ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยี องค์ความรู้ และฝึกอบรมจนสามารถสร้างอาชีพ และสร้างรายได้แก่เกษตรกรได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

สำหรับกิจกรรมภายในงานกำหนดให้มีการแข่งขันผลผลิตมะเขือเทศเชอรีจากเกษตรกร การจัดแสดงผลงานนักวิจัยและผลิตภัณฑ์ของเกษตรกร ชมโรงเรือนและการตัดมะเขือเทศเชอรีในโรงเรือนฟาร์มมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พร้อมทั้งชิมมะเขือเทศเชอรีสด ๆ จากโรงเรือน ชมผลิตภัณฑ์ต้นแบบแปรรูปมะเขือเทศ และชมผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรในโครงการ

ม.อุบลราชธานีแจกชุดองค์ความรู้\"มะเขือเทศเชอรี\"ปั้นพืชเศรษฐกิจใหม่

ม.อุบลราชธานีแจกชุดองค์ความรู้\"มะเขือเทศเชอรี\"ปั้นพืชเศรษฐกิจใหม่

จากนั้นเป็นการเสวนา หัวข้อ “ตัวแบบเชิงธุรกิจมะเขือเทศเชอรีเกรดพรีเมี่ยมอุบลราชธานี” โดย ดร.ทวีศักดิ์ วิยะชัย นักวิชาการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญการปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศเชอรี นายสามัคคี นิคมรักษ์ นวัตกรชาวบ้าน/ผู้ประกอบการ และเป็นผู้ชนะเลิศการประกวดผลผลิตมะเขือเทศเชอรีในการจัดกิจกรรมครั้งนี้

 

นางกาญจนา ดำพะธิก และ นายนพฤทธิ์ มีดี ตัวแทนเกษตรกร ให้เกียรติร่วมวงเสวนาครั้งนี้ เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการเพาะปลูก และการเพิ่มผลผลิตมะเขือเทศเชอรีเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการประกอบอาชีพ และสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรต่อไป

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทินน์ พรหมโชติ อาจารย์ประจำภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และหัวหน้าโครงการการวิจัยฯ กล่าวว่า สำหรับโครงการวิจัย “การปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตมะเขือเทศเชอรีอินทรีย์ในโรงเรือนที่มีคุณภาพสูง สำหรับตลาดพรีเมี่ยมในจังหวัดอุบลราชธานี” ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ และทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)    ภายใต้แผนการดำเนินงาน 1 ปี ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 และจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 สิงหาคม 2565
ม.อุบลราชธานีแจกชุดองค์ความรู้\"มะเขือเทศเชอรี\"ปั้นพืชเศรษฐกิจใหม่     

โดยเริ่มจากการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ เกี่ยวกับการผลิตมะเขือเทศเชอรีคุณภาพให้แก่เกษตรกรที่สนใจ จำนวน 70 คน ระหว่างวันที่ 16 - 17 ตุลาคม 2564 โดยจัดอบรมในรูปแบบ on site และ on line และได้วางแผนการอบรมการเพิ่มมูลค่ามะเขือเทศเชอรี (แปรรูป) ให้แก่เกษตรเครือข่ายและผู้ที่สนใจ ในช่วงระหว่างวันที่ 12 - 13 กุมภาพันธ์ 2565 ที่จะถึงนี้ เพื่อเป็นการสร้างเครือข่าย

 

ซึ่งมีเกษตรกรที่สนใจแจ้งความประสงค์เข้าร่วมเป็นเครือข่าย 16 ราย จากอำเภอเมืองอุบลราชธานี 6 ราย อำเภอวารินชำราบ 4 ราย อำเภอเขื่องใน 1 ราย อำเภอม่วงสามสิบ 1 ราย อำเภอเดชอุดม จำนวน 1 ราย อำเภอตระการพืชผล 1 ราย อำเภอสว่างวีระวงศ์ 1 ราย และอำเภอสิรินธร 1 ราย

 

พร้อมทั้งกำกับติดตามให้คำแนะนำ ด้านการดูแลรักษามะเขือเทศเชอรีให้แก่เกษตรกรในโครงการฯ เพื่อเป็นพี่เลี้ยงในการปลูกมะเขือเทศให้ได้คุณภาพตามต้องการ ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ เป็นการนำผลงานการดำเนินงานบางส่วนมาจัดแสดงและเผยแพร่เพื่อสร้างการรับรู้ และส่งเสริมให้การปลูกมะเขือเทศเชอรีเป็นที่แพร่หลายและเป็นอาชีพใหม่แก่เกษตรกรให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

 

ทางด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชุตินันท์ ประสิทธิ์ภูริปรีชา อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่า งาน “Field day มะเขือเทศเชอรี - ผลไม้เพื่อเศรษฐกิจใหม่จังหวัดอุบลราชธานี” ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย ที่มุ่งมั่นเป็น“มหาวิทยาลัยชั้นนำในอาเซียนที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและนวัตกรรม”

 

โดยมุ่งนำเอาองค์ความรู้ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย ถ่ายทอดไปสู่การใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน จากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก (World Ranking) ของ Time Higher Education ว่าเป็น มหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของไทย อันดับ 2 ของเอเชีย และอันดับที่ 34 ของโลก ด้านการพัฒนาเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDG)

 

ในการนี้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ยังคงมุ่งมั่นที่จะทำหน้าที่ในการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างผลงาน สร้างนวัตกรรม อันจะนำไปสู่การยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ต่อไป