พล.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน วันที่ 17 ก.พ.2565 เห็นชอบการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) ของ 4 โครงการสำคัญ ประกอบด้วย
ทั้งนี้นอกจากโครงการรถไฟฟ้า และโครงการก่อสร้างรันเวย์ที่ 2 สนามบินนานาชาติอู่ตะเภาแล้ว ที่ประชุมยังเห็นชอบกรอบการประชุมระหว่างประเทศ ที่จะจัดขึ้นใน มี.ค.65 ทั้งการประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติสมัยที่ 5 ณ ประเทศเคนยา และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามตะ ว่าด้วยตลอดสมัยที่ 4 ณ ประเทศอินโดนีเซีย
รวมทั้งให้ความเห็นชอบการกำหนดอัตราค่าบริการในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงและคาดการณ์ต้นทุนในระยะเวลา 20 ปี และ การกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากสถานที่ฝังกลบมูลฝอย อย่างถูกหลักสุขาภิบาล
ขณะเดียวกันที่ประชุมยังรับทราบแนวทางการบริหารจัดการขยะติดเชื้อ ที่มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ประสานกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้องค์กรปกครองท้องถิ่น บริหารจัดการแบบรวมศูนย์ (Cluster) และให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในอนาคต
นอกจากนี้ยังรับทราบรายงาน กรณีการแก้ไขน้ำมันรั่วไหลกลางทะเลจังหวัดระยอง ซึ่งสามารถควบคุมดูแลสถานการณ์และขจัดคราบน้ำมันจนเสร็จสิ้นแล้วเมื่อ 1 ก.พ.65 และมอบหมายให้ ทส.ติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสถานภาพของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งต่อเนื่อง เพื่อประเมินผลกระทบและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นตามกฎหมายจากบริษัทฯ
พล.อ.คงชีพ กล่าวว่า ปัญหาน้ำมันรั่วไหล ที่ประชุมได้ขอขอบคุณกองทัพเรือ ที่เป็นหลักสนับสนุนการดำเนินการอย่างทันท่วงทีและต่อเนื่องที่ผ่านมา และขอให้ ทส.ประสานกับ มท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงสำรวจความเสียหายจากผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งชายฝั่งและใต้ทะเลให้ทั่วถึง
โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง จัดตั้งคณะทำงานติดตามการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และเร่งรัดให้บริษัทสตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) รับผิดให้การช่วยเหลือเยียวยาเป็นการเร่งด่วนให้ทั่วถึงโดยเร็ว
ขณะที่ปัญหา PM 2.5 ที่เกิดขึ้น ขอให้ ทส.ประสานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญ เร่งลงพื้นที่ทำความเข้าใจและขอความร่วมมือกับประชาชน รวมทั้งบังคับกฎหมายในความรับผิดชอบควบคู่กันไป มุ่งลดต้นเหตุของมลพิษที่เกิดขึ้นตามมาตรการที่กำหนด โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร (กทม.) และเมืองใหญ่ ทั้งปัญหาจากยานพาหนะ การก่อสร้าง การเผาพืชผลการเกษตร และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งขอให้พิจารณาเร่งขับเคลื่อนมาตรการการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนไปพร้อมกัน
“พล.อ.ประวิตร ได้กำชับขอให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นำเรื่องที่พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่วมกันแล้ว เสนอ ครม. ต่อไป พร้อมทั้งย้ำให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจในกระบวนการและมาตรการสิ่งแวดล้อมร่วมกันให้มากขึ้น ทั้งนี้ต้องไม่ละเลยในทุกเรื่องที่มีการร้องเรียน โดยต้องให้ข้อมูลและทำความเข้าใจ ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นเป้าหมายหลักของการดำเนินการร่วมกัน”