นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ให้ทูตพาณิชย์หาช่องทางการทำตลาดให้กับสินค้าในกลุ่มสินค้าเกษตรและอาหารของไทย เพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งออก โดยล่าสุดได้รับรายงานจากผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ถึงโอกาสในการทำตลาดสินค้าที่มีศักยภาพในตลาดญี่ปุ่น และกลยุทธ์ในการเจาะตลาดญี่ปุ่น
สำหรับที่มีโอกาสในการทำตลาดในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ได้แก่ ผลไม้ไทย เช่น มะม่วงดิบ มะม่วงสุก มะพร้าวสด มังคุด ทุเรียน (ทั้งลูก) ทุเรียนแกะ เนื้อ (แช่เย็น) มะขามสด เป็นต้น สินค้าจำพวกอาหารพร้อมทาน เช่น แกงเขียวหวาน ผัดกะเพรา แกงแดง มัสมั่น แกงไทยต่าง ๆ รวมถึงขนมขบเคี้ยว เช่น ข้าวเกรียบกุ้ง ขนมอบกรอบผสมถั่ว หิมพานต์รสต้มยำกุ้ง ตลอดจนเครื่องปรุง อาหารไทยกึ่งสำเร็จรูป เช่น เครื่องปรุงทำต้มยำ ชุดทำอาหารไทยที่เป็นที่นิยมในญี่ปุ่น เช่น ผัดไทย ต้มยำ ยำวุ้นเส้น เป็นต้น
ส่วนช่องทางการจำหน่าย มีหลายช่องทาง ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ต เช่น AEON, Beisia, Seijo Ishi , Yaoko เป็นต้น ร้านปลีกขนาดใหญ่ เช่น ดองกี้โฮเต้ ร้านขายยาและสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น Sundrug , Matsumotokiyoshi เป็นต้น ร้านอาหารไทย ร้านจำหน่ายสินค้านำเข้าเฉพาะทาง เช่น Kaldi และช่องทางออนไลน์ เช่น Amazon , Rakuten , Yahoo Shopping เป็นต้น โดยส่วนมากสินค้าจะผ่านบริษัทนำเข้า บริษัทค้าส่ง หรือบริษัทจัดหาสินค้าและบริการซึ่งมากระจายสินค้าต่อไปตามช่องทางค้าปลีกข้างต้นอีกทอดหนึ่ง
ทางด้านข้อควรทราบในการทำตลาด 1.รสชาติและลักษณะอาหารที่เป็นที่นิยม เช่น ผลไม้แห้ง ไม่ใส่น้ำตาลเพิ่ม เน้นความหวานตามธรรมชาติ อาหารแปรรูป เช่น แกง หรือต้มยำ ปรุงรสให้กลมกล่อม ไม่เผ็ด
จืด หรือเปรี้ยวเกินไป เครื่องดื่มผสมเนื้อผลไม้ได้บ้าง แต่อย่าหวานเกินไป เน้นรสชาติธรรมชาติ ขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ เช่น ทองม้วน คุกกี้ ระวังกลิ่นที่ใช้ปรุงแต่ง เช่น อย่าให้กลิ่นอบเชย หรือกลิ่นมะลิแรงไป 2.สินค้าแต่ละประเภทที่จะวางจำหน่าย จะต้องมีการวางแผนการจำหน่ายที่ชัดเจน ตั้งแต่ซื้อจำนวนน้อยจนถึงมาก
3.การตรวจสอบเอกสารของสำนักงานกักกัน จะมุ่งเน้นการตรวจสอบตามกฎหมายและมาตรฐาน
4.ฉลากสินค้าในการวางจำหน่ายในญี่ปุ่น ต้องมีการกำกับเป็นฉลากภาษาญี่ปุ่น 5.การใช้คำว่า Organic จะต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานตรวจรับรองก่อน 6.ปริมาณต่อในแต่ละบรรจุภัณฑ์ ต้องเหมาะสมกับแต่ละช่องทางการจำหน่าย และ 7.ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์ต้องดึงดูด และมีรายละเอียดกำกับชัดเจน
ด้านนายกิตติวัฒน์ ปัจฉิมนันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว กล่าวว่า สำนักงานฯ มีแผนที่จะจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรและอาหารไทยร่วมกับห้างสรรพสินค้า ชูเปอร์มาร์เก็ต ตลอดจนร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ทั้งในเมืองหลักและเมืองรองในประเทศญี่ปุ่น เช่น งานเทศกาลสินค้าไทย ซึ่งจะเป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าไทย
เช่น ผลไม้ อาหารกระป๋อง อาหารแปรรูป อาหารแช่เย็น/แช่แข็งต่าง ๆ ซึ่งก็จะได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคญี่ปุ่นอยู่เสมอ ในขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างโอกาสให้ผู้บริโภคญี่ปุ่นที่ไม่เคยลองสินค้าไทย ได้ทดลองซื้อ และทำความรู้จักสินค้าไทยเพิ่มมากขึ้น และยังมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าไทยในรายการ TV Shopping ด้วย
นอกจากนี้ มีแผนที่จะนำผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเกี่ยวกับอาหารในญี่ปุ่น เช่น Supermarket Trade Show จัดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี และงานแสดงสินค้า Foodex Japan จัดช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี รวมทั้งจัดกิจกรรมเจรจาธุรกิจออนไลน์ ระหว่างผู้ส่งออกไทยกับผู้นำเข้าญี่ปุ่น ซึ่งที่ผ่านมา มีการจัดเจรจาสินค้าหลายกลุ่มทั้งผักผลไม้ไทย อาหารแปรรูป อาหารทางเลือก (Future foods) กาแฟไทย ขนมขบเคี้ยว และ สินค้าอาหารและเครื่องดื่มอีกหลายรายการ ได้รับความสนใจจากผู้นำเข้าญี่ปุ่นจำนวนมาก
ส่วนช่องทางการส่งออกสินค้าอาหารเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น จะมีกระบวนการที่ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบหลายขั้นตอน การที่ผู้ประกอบการไทยจะทำทุกกระบวนการด้วยตนเอง ตลอดจนการหาช่องทางในการกระจายสินค้านั้น อาจทำได้ยาก วิธีที่ง่ายและมีความเป็นไปได้มากที่สุด ก็คือ การหาผู้นำเข้าสินค้าและดำเนินเอกสารต่าง ๆ ให้แต่ผู้ส่งออกต้องมีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้นำเข้าและผู้บริโภค เช่น โรงงานที่ผลิตผ่านมาตรฐาน ISO , GMP หรือ HACCP เป็นต้น ส่วนตลาดสินค้า Organic จำเป็นต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน JAS ก่อน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่สูงพอควร ผู้ประกอบการควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนการตัดสินใจยื่นขอ และการหาคู่ค้าสำหรับสินค้าของตนก็เป็น